นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพัฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหลากหลายชนิดได้อย่างเสรี การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน ทั้งด้านคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยจะสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
นายฉลอง ยังกล่าวด้วยว่า ผู้ผลิตอาหารพื้นบ้านสามารถขอรับคำปรึกษาการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารและสามารถขอรับ เลข อย. ได้แก่ อาหรทั่วไปที่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อสัตว์ดิบที่ผ่านการหั่นบด กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง กะปิ ปลาร้า ปลาส้ม งาดำ งาขาว ถั่วดิบ ข้าวสาร แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง ขนมจีน น้ำตาล พริกแห้ง , อาหารพร้อมปรุง ที่เตรียมพร้อมสำหรับให้ผู้บริโภคปรุงเป็นอาหารได้ทันที (ยกเว้นอาหารพร้อมปรุงที่จัดไว้เป็นชุด) เช่น ทอดมันกุ้งดิบ ข้าวเกรียบดิบ หมูบดปรุงรสดิบ , อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เช่น ทองม้วน กาละแม น้ำพริกต่างๆ ถั่วตัด แคบหมู ไข่เค็ม(สุก) ผลไม้อบแห้ง , และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ผู้ผลิตมีความสนใจในการพัฒนามาตรฐานของกระบวนการผลิต และสถานที่ผลิตให้มีความเป็นมาตรฐานได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นผู้ผลิตอาหาร กลุ่มแม่บ้าน หรือชุมชนที่สนใจ จึงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย และนำไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิตอาหารของตนเอง ทั้งนี้สามารถขอคำแนะนำได้ที่ คลินิก Primary GMP ณ กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานธสาธารณสุขอำเภอใกล้บ้าน หรือที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา โทร.054-409015 – 7 ในวันเวลาราชการ
นายฉลอง ยังกล่าวด้วยว่า ผู้ผลิตอาหารพื้นบ้านสามารถขอรับคำปรึกษาการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารและสามารถขอรับ เลข อย. ได้แก่ อาหรทั่วไปที่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อสัตว์ดิบที่ผ่านการหั่นบด กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง กะปิ ปลาร้า ปลาส้ม งาดำ งาขาว ถั่วดิบ ข้าวสาร แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง ขนมจีน น้ำตาล พริกแห้ง , อาหารพร้อมปรุง ที่เตรียมพร้อมสำหรับให้ผู้บริโภคปรุงเป็นอาหารได้ทันที (ยกเว้นอาหารพร้อมปรุงที่จัดไว้เป็นชุด) เช่น ทอดมันกุ้งดิบ ข้าวเกรียบดิบ หมูบดปรุงรสดิบ , อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เช่น ทองม้วน กาละแม น้ำพริกต่างๆ ถั่วตัด แคบหมู ไข่เค็ม(สุก) ผลไม้อบแห้ง , และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ผู้ผลิตมีความสนใจในการพัฒนามาตรฐานของกระบวนการผลิต และสถานที่ผลิตให้มีความเป็นมาตรฐานได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นผู้ผลิตอาหาร กลุ่มแม่บ้าน หรือชุมชนที่สนใจ จึงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย และนำไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิตอาหารของตนเอง ทั้งนี้สามารถขอคำแนะนำได้ที่ คลินิก Primary GMP ณ กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานธสาธารณสุขอำเภอใกล้บ้าน หรือที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา โทร.054-409015 – 7 ในวันเวลาราชการ
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น