สำนักงานรัฐสภาจังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมรัฐสภาอาเซียนสัญจร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ที่หอประชุมโรงรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราฎรจัดโครงการสมัชชารัฐสภาอาเซียนสัญจร เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และต้องการกระจายความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ไปสู่เยาวชน ประชาชน ในพื้นที่ต่างๆได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง
นายอาพล นันทขว้าง หัวหน้าสำนักงานรัฐสภาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า รัฐสภาอาเซียน หรือ AIPA เป็นองค์กรด้านนิติบัญญัติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้มีความใกล้ชิด เช่นเดียวกับฝ่ายบริหารที่มีการรวมตัวกันเป็นอาเซียน และมีหน้าที่ในการร่วมกันทำให้มาตรการ ระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศสมาชิกเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความสอดคล้องทางกฎหมายของประเทศสมาชิกและยกระดับการทำงานร่วมกัน ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
การจัดกิจกรรมรัฐสภาอาเซียนสัญจร ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอันดีเรื่องประชาชนอาเซียน ประโญชน์ที่จะได้รับและการทำงานของรัฐสภาอาเซียน ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้รับทราบข้อมูลๆได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมกิจกรรม กว่า 500 คน
วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
คณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง(นปส.) รู่นที่ 62 เดินทางศึกษาดูงานทีจังหวัดเชียงราย
คณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง(นปส.) รู่นที่ 62 เดินทางศึกษาดูงานที่จังหวัดเชียงราย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นผลงานวิชาการในการขับเคลื่อนการทำงานและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ที่ห้องประชุม จอมกิตติ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายมนัส โสกันธิกา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ให้การต้อนรับคณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง (นปส.) รู่นที่ 62 จำนวน 102 คน ที่เดินทางมาศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสถาบัณพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกันจัดขึ้น พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้บรรยายสรุปภาพรวมของจังหวัดเชียงราย ให้กู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้รับทราบ ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ สภาพประชากร รวมถึงปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาของจังหวัดเชียงราย อย่างเช่น ปัญหาการนำเข้าของยาเสพติดตามแนวชายแดน
นอกจากนี้ คณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง(นปส.) รู่นที่ 62 จะได้เดินทางปศึกษาชุมชนในบพื้นที่โครงการต้นแบบปิดทองหลังพระอ่างเก็บน้ำห้วยสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ศึกษาชุมชนพื้นที่ขยายผลการดำเนินงานพัฒนาตามแนวทางปิดทองหลังพระฯ ใน 5 หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดเชียง ราย และศึกษาสภาพเศรษฐกิจของด่ายชายแดนแม่สาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นผลงานวิชาการในการขับเคลื่อนการทำงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ ต่อไป
ที่ห้องประชุม จอมกิตติ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายมนัส โสกันธิกา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ให้การต้อนรับคณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง (นปส.) รู่นที่ 62 จำนวน 102 คน ที่เดินทางมาศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสถาบัณพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกันจัดขึ้น พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้บรรยายสรุปภาพรวมของจังหวัดเชียงราย ให้กู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้รับทราบ ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ สภาพประชากร รวมถึงปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาของจังหวัดเชียงราย อย่างเช่น ปัญหาการนำเข้าของยาเสพติดตามแนวชายแดน
นอกจากนี้ คณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมนักปกครองระดับสูง(นปส.) รู่นที่ 62 จะได้เดินทางปศึกษาชุมชนในบพื้นที่โครงการต้นแบบปิดทองหลังพระอ่างเก็บน้ำห้วยสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ศึกษาชุมชนพื้นที่ขยายผลการดำเนินงานพัฒนาตามแนวทางปิดทองหลังพระฯ ใน 5 หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดเชียง ราย และศึกษาสภาพเศรษฐกิจของด่ายชายแดนแม่สาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นผลงานวิชาการในการขับเคลื่อนการทำงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ ต่อไป
จังหวัดน่าน จัดแถลงข่าวการจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง
จังหวัดน่าน กำหนดจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 เน้นขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแบบโบราณเมืองน่าน
ที่ลานโพธิ์วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในการจัดแถลงข่าว การจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมการแถลงข่าว ซึ่งการจัดงานประเพณีหกเป็ง ซึ่งปีนี้กำหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ได้กำหนดจัดงาน ในวันขึ้น 9 ค่ำถึง 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ นับเป็นประเพณีที่สืบทอดมายาวนานของชาวเมืองน่าน และเป็นประเพณีที่แสดงถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ ไม่ควรพลาดที่จะมานมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเสริมทานบุญบารมี
การจัดงานประเพณีหกเป็ง เริ่มวันแรกคือวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุฯ พิธีสืบชาตาหลวง ขบวนแห่เครื่องหลวงถวายสักการะ น้ำทิพย์สรงองค์พระธาตุฯ และผ้าทิพย์ห่มองค์พระธาตุฯ แบบโบราณประเพณีเมืองน่าน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง ส่วนในวันที่ 10 ถึง 14 มีนาคม 2557 เริ่มงานเวลา 09.30 น. พิธีสืบชาตาหลวง เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง สำหรับวันที่ 15 มีนาคม 2557 เริ่มเวลา 05.00 น. ตั้งธรรมหลวงมหาชาติเวสสันดรชาดก ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปพิธีทำบุญตักบาตร พิธีสืบชาตาหลวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีคนเกิดปีเถาะ เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ชมขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ พิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง พิธีเวียนเทียน และทุกคืนได้จัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนที่มาท่องเที่ยวงานได้ชมและเลือกซื้อสินค้าอีกด้วย
ที่ลานโพธิ์วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในการจัดแถลงข่าว การจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมการแถลงข่าว ซึ่งการจัดงานประเพณีหกเป็ง ซึ่งปีนี้กำหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ได้กำหนดจัดงาน ในวันขึ้น 9 ค่ำถึง 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ นับเป็นประเพณีที่สืบทอดมายาวนานของชาวเมืองน่าน และเป็นประเพณีที่แสดงถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ ไม่ควรพลาดที่จะมานมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเสริมทานบุญบารมี
การจัดงานประเพณีหกเป็ง เริ่มวันแรกคือวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุฯ พิธีสืบชาตาหลวง ขบวนแห่เครื่องหลวงถวายสักการะ น้ำทิพย์สรงองค์พระธาตุฯ และผ้าทิพย์ห่มองค์พระธาตุฯ แบบโบราณประเพณีเมืองน่าน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง ส่วนในวันที่ 10 ถึง 14 มีนาคม 2557 เริ่มงานเวลา 09.30 น. พิธีสืบชาตาหลวง เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง สำหรับวันที่ 15 มีนาคม 2557 เริ่มเวลา 05.00 น. ตั้งธรรมหลวงมหาชาติเวสสันดรชาดก ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปพิธีทำบุญตักบาตร พิธีสืบชาตาหลวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีคนเกิดปีเถาะ เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ชมขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ พิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง พิธีเวียนเทียน และทุกคืนได้จัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนที่มาท่องเที่ยวงานได้ชมและเลือกซื้อสินค้าอีกด้วย
รดา บุญยะกาญจน์ /ข่าว
สสจ. น่าน เชิญชวนประชาชนสร้างภูมิคุ้มกันให้สุขภาพแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
นายปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ประชาชนป่วยเป็นไข้หวัดได้มากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ หากป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น และถ้าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก ขอให้พบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีไข้ อย่าซื้อยากินเอง การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ขอให้พี่น้องประชาชนหมั่นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งต่อว่า จึงขอเชิญชวนประชาชนในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายด้วยการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ติดมากับมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้พักผ่อนให้มาก ๆ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองและใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงพักทำงาน พักโรงเรียนเพื่อป้องกันเชื้อแพร่ไปติดคนอื่น หากไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วันขอให้พบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแทรกซ้อนได้ โดยสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน และที่สำคัญที่สุดคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ
"กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ”
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งต่อว่า จึงขอเชิญชวนประชาชนในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายด้วยการ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ติดมากับมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้พักผ่อนให้มาก ๆ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองและใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงพักทำงาน พักโรงเรียนเพื่อป้องกันเชื้อแพร่ไปติดคนอื่น หากไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วันขอให้พบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแทรกซ้อนได้ โดยสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน และที่สำคัญที่สุดคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ
"กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ”
พวงพยอม คำมุง
กกต.น่าน ชี้แจงรายละเอียดการเลือกตั้ง ส.ว. วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557
นายจรูญ จันอินทร์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งว่า ด้วยสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2551 จะครบวาระ 6 ปี ในวันที่ 1 มีนาคม 2557 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 118 บัญญัติให้ต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง กกต.จึงมีมติกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557 ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งต่อว่า กกต.น่าน ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
17 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดน่าน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น ที่มาทำงานหรืออาศัยอยู่
4 - 8 มีนาคม 2557 รับสมัครสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดน่าน ณ ห้องภูฟ้า 1 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน
20 มีนาคม 2557 วันสุดท้ายเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและถอนชื่อผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
23 มีนาคม 2557 เป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตและในเขต ซึ่งนอกเขตจังหวัดเลือกตั้งที่โรงยิมนวมินทร์ วิทยาลัยเทคนิคน่าน และในเขต ณ หอประชุมอำเภอที่ท่านมีชื่ออยู่
23 – 29 มีนาคม 2557 แจ้งเหตุไม่อาจไปเลือกตั้ง (ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง)
30 มีนาคม 2557 วันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
31 มีนาคม – 6 เมษายน 2557 แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ภายใน 7 วันนับจากวันเลือกตั้ง)
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งว่า กกต.น่าน มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามวันเวลาดังกล่าวแล้ว ทั้งการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เนื่องจากเพิ่งผ่านการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ความพร้อมยังคงสมบูรณ์ทั้งระบบเพียงพอสำหรับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2557
17 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดน่าน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น ที่มาทำงานหรืออาศัยอยู่
4 - 8 มีนาคม 2557 รับสมัครสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดน่าน ณ ห้องภูฟ้า 1 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน
20 มีนาคม 2557 วันสุดท้ายเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและถอนชื่อผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
23 มีนาคม 2557 เป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตและในเขต ซึ่งนอกเขตจังหวัดเลือกตั้งที่โรงยิมนวมินทร์ วิทยาลัยเทคนิคน่าน และในเขต ณ หอประชุมอำเภอที่ท่านมีชื่ออยู่
23 – 29 มีนาคม 2557 แจ้งเหตุไม่อาจไปเลือกตั้ง (ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง)
30 มีนาคม 2557 วันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
31 มีนาคม – 6 เมษายน 2557 แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ภายใน 7 วันนับจากวันเลือกตั้ง)
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งว่า กกต.น่าน มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามวันเวลาดังกล่าวแล้ว ทั้งการจัดเตรียมบัญชีรายชื่อและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เนื่องจากเพิ่งผ่านการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ความพร้อมยังคงสมบูรณ์ทั้งระบบเพียงพอสำหรับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2557
พวงพยอม คำมุง / ข่าว
จังหวัดน่าน เตรียมจัดเวทีสมัชชาสตรีระดับจังหวัดเนื่องในวันสตรีสากล 8 มี.ค.นี้
วันที่ (25 ก.พ.57) ที่ห้องประชุมสำนักงานคลังจังหวัดน่าน นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดน่าน กล่าวว่า เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงการต่อสู้ของสตรี เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ โดยประเทศไทยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2537 เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักถึงศักยภาพ และสิทธิมนุษย์ชนของสตรี
นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต่อว่า ในปี 2557 จังหวัดน่าน ได้เตรียมพร้อมการจัดประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดในรูปแบบของเวทีเสวนา ในวันที่ 6 มีนาคม 2557 ในเบื้องต้นจะใช้สถานที่ ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน โดยใช้ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพสตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดในปี 2556 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสตรี และเห็นว่าประเด็นนั้นมีความสำคัญและสมควรได้รับการเสนอให้การเกิดผลักดันให้มีนโนบายและยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อเสนอสมัชชาสตรีแห่งชาติในปี 2557 ต่อไป ซึ่งปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงอยากให้ทุกภาคส่วนของสังคมไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานราชการ ได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้หญิงที่ด้อยโอกาส ได้รับรู้เรื่องการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย
"สมัชชาสตรีระดับจังหวัด” หมายถึง สมัชชาสตรีที่เป็นการรวมกลุ่มของสตรี องค์กรสตรี และภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคมในจังหวัด เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ และรวบรวมเป็นข้อเสนอของสมัชชาสตรีระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการส่งเสริมประสานงาน และพัฒนาสถานภาพสตรีระดับจังหวัด
นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต่อว่า ในปี 2557 จังหวัดน่าน ได้เตรียมพร้อมการจัดประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดในรูปแบบของเวทีเสวนา ในวันที่ 6 มีนาคม 2557 ในเบื้องต้นจะใช้สถานที่ ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน โดยใช้ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพสตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัดในปี 2556 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสตรี และเห็นว่าประเด็นนั้นมีความสำคัญและสมควรได้รับการเสนอให้การเกิดผลักดันให้มีนโนบายและยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อเสนอสมัชชาสตรีแห่งชาติในปี 2557 ต่อไป ซึ่งปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงอยากให้ทุกภาคส่วนของสังคมไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานราชการ ได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้หญิงที่ด้อยโอกาส ได้รับรู้เรื่องการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย
"สมัชชาสตรีระดับจังหวัด” หมายถึง สมัชชาสตรีที่เป็นการรวมกลุ่มของสตรี องค์กรสตรี และภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคมในจังหวัด เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ และรวบรวมเป็นข้อเสนอของสมัชชาสตรีระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการส่งเสริมประสานงาน และพัฒนาสถานภาพสตรีระดับจังหวัด
พวงพยอม คำมุง
จังหวัดน่าน กำหนดจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง
จังหวัดน่าน กำหนดจัดงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 เน้นขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแบบโบราณเมืองน่าน
"พระธาตุแช่แห้ง” เป็นปูชนียสถานที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง มีลักษณะของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระนอน และบันไดนาค ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธปรัชญาไว้อย่างกลมกลืน เช่น หลังคาพระวิหาร ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราชและพระมเหสีที่มาสรงน้ำที่เดียวกับพระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง 7 ศอกไว้ด้านบน ซึ่งตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุพระจำปีเกิดของชาวล้านนา เชื่อว่าคนเกิดปีเถาะมีพระธาตุประจำปีเกิด คือ "พระธาตุแช่แห้ง” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ซึ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้งสักครั้ง เพื่อเป็นการเสริมบุญบารมีให้เกิดความเป็นสิริมงคลในชีวิต
กิจกรรมการจัดงานประเพณีหกเป็ง เริ่มวันแรกคือวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุฯ พิธีสืบชาตาหลวง ขบวนแห่เครื่องหลวงถวายสักการะ น้ำทิพย์สรงองค์พระธาตุฯ และผ้าทิพย์ห่มองค์พระธาตุฯ แบบโบราณประเพณีเมืองน่าน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง และวันที่ 10 ถึง 14 มีนาคม 2557 เวลา 09.30 น. เป็นพิธีสืบชาตาหลวง เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง ส่วนวันที่ 15 มีนาคม 2557 ช่วงเช้าเวลา 05.00 น. ตั้งธรรมหลวงมหาชาติเวสสันดรชาดก ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปพิธีทำบุญตักบาตร พิธีสืบชาตาหลวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีคนเกิดปีเถาะ เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ชมขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ พิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง พิธีเวียนเทียน และทุกคืนในงานจัดมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดังนั้น จังหวัดน่าน จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไป ร่วมงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
"พระธาตุแช่แห้ง” เป็นปูชนียสถานที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง มีลักษณะของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระนอน และบันไดนาค ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธปรัชญาไว้อย่างกลมกลืน เช่น หลังคาพระวิหาร ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราชและพระมเหสีที่มาสรงน้ำที่เดียวกับพระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง 7 ศอกไว้ด้านบน ซึ่งตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุพระจำปีเกิดของชาวล้านนา เชื่อว่าคนเกิดปีเถาะมีพระธาตุประจำปีเกิด คือ "พระธาตุแช่แห้ง” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ซึ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้งสักครั้ง เพื่อเป็นการเสริมบุญบารมีให้เกิดความเป็นสิริมงคลในชีวิต
กิจกรรมการจัดงานประเพณีหกเป็ง เริ่มวันแรกคือวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุฯ พิธีสืบชาตาหลวง ขบวนแห่เครื่องหลวงถวายสักการะ น้ำทิพย์สรงองค์พระธาตุฯ และผ้าทิพย์ห่มองค์พระธาตุฯ แบบโบราณประเพณีเมืองน่าน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง และวันที่ 10 ถึง 14 มีนาคม 2557 เวลา 09.30 น. เป็นพิธีสืบชาตาหลวง เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง ส่วนวันที่ 15 มีนาคม 2557 ช่วงเช้าเวลา 05.00 น. ตั้งธรรมหลวงมหาชาติเวสสันดรชาดก ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปพิธีทำบุญตักบาตร พิธีสืบชาตาหลวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคีคนเกิดปีเถาะ เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ชมขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ พิธีเจริญพระพุทธมนต์หลวง พิธีเวียนเทียน และทุกคืนในงานจัดมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดังนั้น จังหวัดน่าน จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไป ร่วมงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในระหว่างวันที่ 9 – 15 มีนาคม 2557 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
รดา บุญยะกาญจน์ /ข่าว
จังหวัดพะเยา จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเชิงบูรณาการแบบครบวงจร
เมื่อวานนี้ (24 ก.พ.57) นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมการกรีดยางพารา ตามโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเชิงบูรณาการแบบครบวงจร ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยาให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปลูกยางเชิงบูรณาการ โดยมีผู้ปลูกยางพาราเข้าร่วมโครงการ กว่า 160 คน
นายราเชนทร์ สุวรรณหิตาทร เกษตรจังหวัดพะเยา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้มีเกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยาจำนวน 68 ตำบล จากทั้ง 9 อำเภอ เข้าร่วมโครงการฯ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แบ่งการอบรมออกเป็น 2 รุ่น โดยรุ่นแรก ระหว่างวันที่ 24 - 28 ก.พ.57 ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านต๋อม มีเกษตรกรในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง อ.แม่ใจ อ.ภูกามยาว และ อ.เมืองพะเยา เข้าร่วมฯ และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 10 -14 มี.ค.57 ที่ อ.ภูซาง โดยจะมีเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ อ.เชียงม่วน อ.เชียงคำ และ อ.ภูซาง เข้าร่วมฯ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงใหม่ มาให้ความรู้ทางการเกษตรด้านสวนยางพาราอีกด้วย
เกษตรจังหวัดพะเยา ยังกล่าวด้วยว่า ตามข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่พะเยา 9 อำเภอ ที่มาลงทะเบียนในการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล กรณีเกี่ยวกับการปลูกพืช 4 ชนิด รวมไปถึงการปลูกยางพาราและในพื้นที่พะเยามีเกษตรกรมาลงทะเบียนปลูกยางพารากว่า 22,000 ราย พื้นที่ปลูกยางฯ 183,000 ไร่ และสามารถกรีดยางขายได้แล้วรวม 40,000 ไร่
นายราเชนทร์ สุวรรณหิตาทร เกษตรจังหวัดพะเยา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้มีเกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยาจำนวน 68 ตำบล จากทั้ง 9 อำเภอ เข้าร่วมโครงการฯ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แบ่งการอบรมออกเป็น 2 รุ่น โดยรุ่นแรก ระหว่างวันที่ 24 - 28 ก.พ.57 ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านต๋อม มีเกษตรกรในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง อ.แม่ใจ อ.ภูกามยาว และ อ.เมืองพะเยา เข้าร่วมฯ และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 10 -14 มี.ค.57 ที่ อ.ภูซาง โดยจะมีเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ อ.เชียงม่วน อ.เชียงคำ และ อ.ภูซาง เข้าร่วมฯ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงใหม่ มาให้ความรู้ทางการเกษตรด้านสวนยางพาราอีกด้วย
เกษตรจังหวัดพะเยา ยังกล่าวด้วยว่า ตามข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่พะเยา 9 อำเภอ ที่มาลงทะเบียนในการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล กรณีเกี่ยวกับการปลูกพืช 4 ชนิด รวมไปถึงการปลูกยางพาราและในพื้นที่พะเยามีเกษตรกรมาลงทะเบียนปลูกยางพารากว่า 22,000 ราย พื้นที่ปลูกยางฯ 183,000 ไร่ และสามารถกรีดยางขายได้แล้วรวม 40,000 ไร่
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมกำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพะเยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำในลำน้ำร่องช้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
เมื่อวานนี้ (24 ก.พ.57) นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยกำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ต่างร่วมมือกันสร้างฝายชะลอน้ำบริเวณลำน้ำร่องช้าง ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน ที่ทางจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง หลังพื้นที่ดังกล่าวมักจะประสบปัญหาภัยแล้งแทบทุกปี โดยในช่วงฤดูแล้งแหล่งน้ำแห่งนี้มักประสบปัญหาน้ำแห้งขอด ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรได้ นอกจากนั้นสายน้ำแห่งนี้ยังเป็นสายน้ำสำคัญที่ไหลผ่านหลายตำบลในอำเภอดอกคำใต้ และชาวบ้านมักจะใช้น้ำจากลำน้ำแห่งนี้ในการเกษตรที่สำคัญ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ ในปีนี้จึงได้ร่วมมือกันที่จัดทำฝายชะลอน้ำขึ้น โดยคาดหวังว่าในช่วงน้ำหลากจะสามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านได้ และหากฤดูแล้งน้ำที่เป็นต้นทุนก็จะสามารถกักเก็บไว้เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ ในปีนี้จึงได้ร่วมมือกันที่จัดทำฝายชะลอน้ำขึ้น โดยคาดหวังว่าในช่วงน้ำหลากจะสามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านได้ และหากฤดูแล้งน้ำที่เป็นต้นทุนก็จะสามารถกักเก็บไว้เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
จ.พะเยาร่วมกับ จทบ.พะเยา สร้างฝายชะลอน้ำป้องกันภัยแล้ง
จังหวัดพะเยา กำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ร่วมกันทำฝายชะลอน้ำในลำน้ำร่องช้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง หลังแหล่งน้ำแห่งนี้ในช่วงฤดูแล้งมักประสบปัญหาน้ำแห้งขอด จนเกษตร กรไม่สามารถมีน้ำใช้ในการเกษตรได้
วานนี้ (24 ก.พ.) ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และกำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพะเยา ต่างร่วมมือกันจัดสร้างฝายชะลอน้ำ บริเวณลำน้ำร่องช้าง ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน ที่ทางจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง หลังพื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งแทบทุกปี โดยในช่วงฤดูแล้งแหล่งน้ำแห่งนี้มักประสบปัญหาน้ำแห้งขอด ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรได้ นอกจากนั้นสายน้ำแห่งนี้ยังเป็นสายน้ำสำคัญที่ไหลผ่านหลายตำบลอำเภอดอกคำใต้ และชาวบ้านมักจะใช้น้ำจากลำน้ำแห่งนี้ใช้ในการเกษตรที่สำคัญ แต่ช่วงฤดูแล้งมักประสบปัญหาแทบทุกปี
นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ ในปีนี้จึงได้ร่วมมือกันที่จะจัดทำฝายชะลอน้ำขึ้น โดยคาดหวังว่า ในช่วงน้ำหลากก็สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านได้ และหากฤดูแล้งน้ำที่เป็นต้นทุนก็จะสามารถกักเก็บไว้ได้ ซึ่งตรงนี้เห็นว่าเป็นประโยชน์ และคาดว่าในต่อไปก็จะสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้
วานนี้ (24 ก.พ.) ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และกำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพะเยา ต่างร่วมมือกันจัดสร้างฝายชะลอน้ำ บริเวณลำน้ำร่องช้าง ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน ที่ทางจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง หลังพื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งแทบทุกปี โดยในช่วงฤดูแล้งแหล่งน้ำแห่งนี้มักประสบปัญหาน้ำแห้งขอด ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรได้ นอกจากนั้นสายน้ำแห่งนี้ยังเป็นสายน้ำสำคัญที่ไหลผ่านหลายตำบลอำเภอดอกคำใต้ และชาวบ้านมักจะใช้น้ำจากลำน้ำแห่งนี้ใช้ในการเกษตรที่สำคัญ แต่ช่วงฤดูแล้งมักประสบปัญหาแทบทุกปี
นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ ในปีนี้จึงได้ร่วมมือกันที่จะจัดทำฝายชะลอน้ำขึ้น โดยคาดหวังว่า ในช่วงน้ำหลากก็สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านได้ และหากฤดูแล้งน้ำที่เป็นต้นทุนก็จะสามารถกักเก็บไว้ได้ ซึ่งตรงนี้เห็นว่าเป็นประโยชน์ และคาดว่าในต่อไปก็จะสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้
ข่าวโดย : ทีมข่าว ส.ปชส.พะเยา
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อนที่จังหวัดแพร่
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า เช้าวันที่ (25ก.พ.57) เวลา 09.30 น. ทาง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีนายเสริมยศ สมมั่น รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน
ทั้งนี้จากสถานการณ์หมอกควัน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีสภาพหมอกควันปกคลุมหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเผาในที่โล่ง ทั้งการเผาขยะมูลฝอยในชุมชน การเผาเศษวัสดุการเกษตร เพื่อเตรียมที่ทำการเกษตร และไฟป่า ผลจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมคอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกินเกณฑ์มาตรฐานใน 9 จังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ที่พบค่าเฉลี่ยขนาดเล็กสูงเกินกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับที่มีผลต่อสุขภาพมาก
จากปัญหาดังกล่าว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีภารกิจหลักในการสร้างจิตสำนึกส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงได้ดำเนินการรณรงค์ ป้องกันและลดการเผาในที่โล่ง เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในเชิงลุกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปัญหาหมอกควันและไฟป่า จึงได้จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เพื่อสนับสนุนพัฒนาทักษะและพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาเพื่อเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ และศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน โดยจัดกิจกรรมมอบกองทุนสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ และการจัดแสดงฐานการเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ชุมชนบ้านทุ่งศรีเป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านปลอดการเผา เมื่อปี 2555 และได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ในปี 2556 มีนายธีรวัฒน์ ต๊ะวิกา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี เป็นประธานศูนย์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า เช้าวันที่ (25ก.พ.57) เวลา 09.30 น. ทาง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีนายเสริมยศ สมมั่น รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน
ทั้งนี้จากสถานการณ์หมอกควัน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีสภาพหมอกควันปกคลุมหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเผาในที่โล่ง ทั้งการเผาขยะมูลฝอยในชุมชน การเผาเศษวัสดุการเกษตร เพื่อเตรียมที่ทำการเกษตร และไฟป่า ผลจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมคอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกินเกณฑ์มาตรฐานใน 9 จังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ที่พบค่าเฉลี่ยขนาดเล็กสูงเกินกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับที่มีผลต่อสุขภาพมาก
จากปัญหาดังกล่าว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีภารกิจหลักในการสร้างจิตสำนึกส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงได้ดำเนินการรณรงค์ ป้องกันและลดการเผาในที่โล่ง เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในเชิงลุกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปัญหาหมอกควันและไฟป่า จึงได้จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เพื่อสนับสนุนพัฒนาทักษะและพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาเพื่อเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ และศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน โดยจัดกิจกรรมมอบกองทุนสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ และการจัดแสดงฐานการเรียนรู้ชุมชนปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ชุมชนบ้านทุ่งศรีเป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านปลอดการเผา เมื่อปี 2555 และได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปลอดการเผาบรรเทาโลกร้อน ในปี 2556 มีนายธีรวัฒน์ ต๊ะวิกา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี เป็นประธานศูนย์
วัชระ เพชรพลอย / ข่าว /พิมพ์
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ฝึกอบรมราษฎรในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ฝึกอบรมราษฎรในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเกี่ยวกับโทษและผลกระทบของหมอกควันไฟป่า
เช้าวันที่ (25 กุมภาพันธ์ 2557) นายทรงทรัพย์ พิริยคุณธร นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่ หอประชุมอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเกี่ยวกับโทษและผลกระทบของหมอกควันไฟป่า อีกทั้งเป็นการป้องกันปัญหาไฟป่าที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ลดปัญหาความรุนแรงของสถานการณ์ไฟป่า และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับราษฎร ได้มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่าแหมอกควันไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน โดยมีราษฎรจาก 49 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน รวม 245 คน ร่วมอบรม การฝึกอบรม มีการบรรยายในหัวข้อ สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ,การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ,การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าตามแนวชายแดน,และหัวข้อ บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
เช้าวันที่ (25 กุมภาพันธ์ 2557) นายทรงทรัพย์ พิริยคุณธร นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่ หอประชุมอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเกี่ยวกับโทษและผลกระทบของหมอกควันไฟป่า อีกทั้งเป็นการป้องกันปัญหาไฟป่าที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ลดปัญหาความรุนแรงของสถานการณ์ไฟป่า และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับราษฎร ได้มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่าแหมอกควันไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน โดยมีราษฎรจาก 49 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน รวม 245 คน ร่วมอบรม การฝึกอบรม มีการบรรยายในหัวข้อ สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ,การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ,การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าตามแนวชายแดน,และหัวข้อ บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.แม่ฮ่องสอน
อุตสาหกรรม ฯ มส.จัดอบรมผู้ประกอบการรองรับอาเซียน
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดอบรมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี ๒๕๕๘
นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานโครงการฝึกอบรมเรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการประกอบการอุตสาหกรรมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่กว่า ๑๐๐ รายเข้าร่วมโครงการ ฯ ดังกล่าว การฝึกอบรม ฯ ความรู้ในเบื้องต้นในการประกอบอุตสาหกรรมและมาตรฐานชุมชน ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมชุมชนและ SMEs ผลิตภัณฑ์ประเภท อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของตกแต่งและของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อย่างไรก็ตามการพัฒนาผู้ประกอบการ ฯ เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมชุมชน จำเป็นจะต้องปรับตัวตลอดจนหาวิธีพัฒนาและยกระดับคุณภาพการผลิตให้ทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นในเวทีการค้าเสรี ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และกระตุ้นให้ผู้ผลิตในชุมชนพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลผลิตชุมชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานโครงการฝึกอบรมเรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการประกอบการอุตสาหกรรมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่กว่า ๑๐๐ รายเข้าร่วมโครงการ ฯ ดังกล่าว การฝึกอบรม ฯ ความรู้ในเบื้องต้นในการประกอบอุตสาหกรรมและมาตรฐานชุมชน ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมชุมชนและ SMEs ผลิตภัณฑ์ประเภท อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของตกแต่งและของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อย่างไรก็ตามการพัฒนาผู้ประกอบการ ฯ เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมชุมชน จำเป็นจะต้องปรับตัวตลอดจนหาวิธีพัฒนาและยกระดับคุณภาพการผลิตให้ทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นในเวทีการค้าเสรี ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และกระตุ้นให้ผู้ผลิตในชุมชนพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลผลิตชุมชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
ข่าวโดย : ดำเนิน ท้วมจอก ส.ปชส.แม่ฮ่องสอน
ชมรมเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมจัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2557
นายวิทยา กองตองกาย ผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้ง และส่งเสริมสหกรณ์ รักษาราชการแทน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ชมรมเครือข่ายสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมจัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2557 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 ที่สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ที่ทรงนำระบบสหกรณ์มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2459 และเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ตระหนักถึงคุณค่า มีความศรัทธา และเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ สู่สาธารณชนให้ทราบโดยทั่วกัน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ภาคเช้า ชมริ้วขบวนพลังสหกรณ์ พิธีถวายสดุดี และพิธีถวายพานพุ่มราชสักการะ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ การมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่บุคลากรดีเด่นในขบวนการสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคบ่ายกิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านมหาสนุก การแข่งขันกีฬาเปตอง และภาคค่ำ งานพบปะสังสรรค์ระหว่างขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยกำหนดให้เป็นรูปแบบย้อนยุค และมีการรำวงย้อนยุคอีกด้วย
ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.แม่ฮ่องสอน
สำนักสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการ นิเทศติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงานสาธารณสุข ระดับอำเภอ ประจำปี 2557
วันที่ ( 25 กุมภาพันธ์ 2557 ) นางสาวเพ็ญพิศ เล่าเรียนดี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน หัวหน้าคณะนิเทศ ติดตามงาน ชุดที่ 3 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำทีมออกนิเทศงานสาธารณสุขที่อำเภอขุนยวม เพื่อติดตาม รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานหน่วยงานสาธารณสุขระดับ อำเภอขุนยวม(คปสอ.) ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพ รวมถึงงานที่เป็นปัญหาอุปสรรคของพื้นที่ และความต้องการ สนับสนุนของพื้นที่ เพื่อนำผลมาพัฒนาผลักดันให้บรรลุตาม เป้าหมาย โดยมี นายแพทย์ประสาน เอื่ยมอนันต์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลขุนยวม พร้อมด้วยสาธารณสุขอำเภอ และคณะ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่ให้การ ต้อนรับ และ นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานสาธารณสุข ของอำเภอ ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จากการนิเทศติดตามการดำเนินงาน พบว่าในอำเภอขุนยวม มีการขับเคลื่อนพัฒนาการดำเนินงานระบบอำเภอเพื่อ แก้ไขปัญหาของพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาลดอัตราตาย ของมารดา จากสภาพปัญหาพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้หญิงมีครรภ์ ได้เข้าถึงบริการคลอดที่ปลอดภัย
ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบจัด บริการ โดยใช้โมเดลดูแลหญิงมีครรภ์ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการคลอดที่โรงพยาบาล ส่งผลทำให้ ไม่มีมารดาตายหลังคลอด นอกจากนี้มีการพัฒนาระบบส่งต่อ ผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึง บริการรวดเร็วทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ยาละลาย ลิ่มเลือด และส่งต่อด้วยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ สำหรับงานด้าน อื่นๆ ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ชุมชนให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมการดำเนินงานได้ดี
ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบจัด บริการ โดยใช้โมเดลดูแลหญิงมีครรภ์ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการคลอดที่โรงพยาบาล ส่งผลทำให้ ไม่มีมารดาตายหลังคลอด นอกจากนี้มีการพัฒนาระบบส่งต่อ ผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึง บริการรวดเร็วทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ยาละลาย ลิ่มเลือด และส่งต่อด้วยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ สำหรับงานด้าน อื่นๆ ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ชุมชนให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมการดำเนินงานได้ดี
ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.แม่ฮ่องสอน
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จัดการศึกษาเรียนรู้การดำเนินงาน ของชุมชนในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่งของชุมชน ที่บ้านต่อแพ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เช้าวันที่ ( 25 กุมภาพันธ์ 2557) นายพงศ์พีระ ชูชื่น นายอำเภอขุนยวม เป็นประธานเปิด การประชุม และศึกษาเรียนรู้การดำเนินงาน การศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของชุมชนในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่งของชุมชนบ้านต่อแพ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการประกวดหมู่บ้านปลอดการเผา ระดับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เมื่อปี 2555 โดยมีราษฏรจากบ้านหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่เงา ร่วมงานกว่า 30 คน เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ของชุมชนในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง และเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาวิจัยให้แก่ชุมชนอื่นๆ และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อยกระดับเป็นชุมชนต้นแบบ ในการจัดการปัญหาหมอกควัน จากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การบรรยายสรุปการดำเนินงาน จัดการปัญหาหมอกควันจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ของชุมชนต่อแพ โดยผู้นำและคณะทำงานบ้านต่อแพ/ฐานศึกษาเรียนรู้ ต่างๆ เช่น ทำแนวกันไฟ ในพื้นที่ป่าดอยเวียง/การเฝ้าระวังไฟป่า/ฝายชะลอน้ำ และฐานศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง เช่น กิ่งไม้ทำถ่าน/การทำปุ๋ยหมัก และการเพาะเห็ด จังหวัดแม่ฮ่องสอนกำหนดพื้นที่เสี่ยงปัญหาไฟป่า หมอกควัน 20 ตำบลใน 5 อำเภอและจะดำเนินการเฝ้าระวังแบบเข้มข้น นอกจากนั้นยังได้กำหนดวันควบคุมการเผา 63 วันอันตรายตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์-วันที่ 30 เมษายน 2557
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การบรรยายสรุปการดำเนินงาน จัดการปัญหาหมอกควันจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ของชุมชนต่อแพ โดยผู้นำและคณะทำงานบ้านต่อแพ/ฐานศึกษาเรียนรู้ ต่างๆ เช่น ทำแนวกันไฟ ในพื้นที่ป่าดอยเวียง/การเฝ้าระวังไฟป่า/ฝายชะลอน้ำ และฐานศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง เช่น กิ่งไม้ทำถ่าน/การทำปุ๋ยหมัก และการเพาะเห็ด จังหวัดแม่ฮ่องสอนกำหนดพื้นที่เสี่ยงปัญหาไฟป่า หมอกควัน 20 ตำบลใน 5 อำเภอและจะดำเนินการเฝ้าระวังแบบเข้มข้น นอกจากนั้นยังได้กำหนดวันควบคุมการเผา 63 วันอันตรายตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์-วันที่ 30 เมษายน 2557
ข่าวโดย : เอกณรินทร์ ใจมะโน
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร ความรู้เบื้องต้นในการประกอบการอุตสาหกรรมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน"
บ่ายวันที่ (25 กุมภาพันธ์ 2557) นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิด โครงการฝึกอบรมหลักสูตร ความรู้เบื้องต้นในการประกอบการอุตสาหกรรมและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ โรงแรมอิมพีเรียลธาราแม่ฮ่องสอนรีสอร์ท อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและสถานประกอบการขนาดกลาง/ขนาดย่อม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชุมชน จำนวน 40 คน เข้าร่วมอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถยกระดับคุณภาพการผลิต ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีมากขึ้น ในเวทีการค้าเสรี พร้อมทั้งส่งเสริม ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย รวมถึงให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ต่อไป
ข่าวโดย : เอกณรินทร์ ใจมะโน
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดโครงการ ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2557
วันที่ (25 กุมภาพันธ์ 2557 ) นายชิษณุพงษ์ บูรณา นายอำเภอขุนยวม นำ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ อบต.ห้วยห้อม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.และประชาชน ร่วมกัน ปล่อยพันธ์ปลาไน จำนวน 3 หมื่นตัว และเขียดแลว จำนวน 1 หมื่นตัว ที่ต้นน้ำแม่ลาน้อย บ้านห้วยห้อม หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยห้อมอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2557 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ พร้อมทั้ง กำหนดมาตรการ เพื่อป้องกัน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ บำรุงน้ำ และส่งเสริมการรวมกลุ่ม
ข่าวโดย : เอกณรินทร์ ใจมะโน
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการคมนาคมที่ยากลำบาก สื่อวิทยุยังมีความจำเป็นและมีประโยชน์มาก เพราะเข้าถึงประชาชนได้ดี โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง
นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวเนื่องในโอกาสวันนี้เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย ครบรอบ 84 ปี ว่า พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการคมนาคมที่ยากลำบาก ดังนั้นสื่อวิทยุยังมีความจำเป็น เพราะเข้าถึงประชาชนได้ดี โดยเฉพาะที่อยู่บนพื้นที่สูง ดังนั้นผู้ที่จัดรายการวิทยุต้องหาข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมาเผยแพร่
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่ และอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมมุ่งมั่นสร้างผลงาน สาระและข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ของผู้ฟังต่อไป/
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่ และอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมมุ่งมั่นสร้างผลงาน สาระและข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ของผู้ฟังต่อไป/
ข่าวโดย : วาสนา ไข่แก้ว ข่าว / เอกณรินทร์ ใจมะโน ภาพ
ชุมชนบ้านต่อแพ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ร่วมกับ สนง.สิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จัดประชุมและศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า
ชุมชนบ้านต่อแพ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ร่วมกับ สนง.สิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จัดประชุมและศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง
เช้าวันที่ ( 25 กุมภาพันธ์ 2557) นายพงษ์ภีระ ชูชื่น นายอำเภอขุนยวม เป็นประธานเปิด การประชุม และศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานการศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของชุมชน ในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่งของชุมชนบ้านต่อแพ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่งโดยกระบวนการชุนชน ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ 3 ชุมชน จาก 3 จังหวัด ได้แก่ ชุนชนบ้านแม่ยางมิ้น ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ชุมชนบ้านห้วยส้มสุก ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และชุมชนบ้านดอนมูล ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน เพื่อศึกษาการดำเนินงาน แลกเปลี่ยน และรับฟังประสบการณ์ของชุมชน ในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาวิจัยให้แก่ชุมชนอื่นๆ และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อยกให้เป็น “ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ชุมชนต้นแบบการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ประจำปี 2557”
โดยมีกิจกรรมการบรรยายสรุป การดำเนินงานจัดการปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ของชุมชนต่อแพ โดยผู้นำและคณะทำงานบ้านต่อแพ เยี่ยมชมฐานศึกษาเรียนรู้ ต่างๆ เช่น การทำแนวกันไฟ การเฝ้าระวังไฟป่า การสร้างฝายชะลอน้ำ และฐานศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิ่งไม้ทำถ่าน การทำปุ๋ยหมัก และการเพาะเห็ด บ้านต่อแพ อยู่ในเขตการปกครอง หมู่ที่ 1 ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,900 ไร่ มีพื้นที่ป่าประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งในแต่ละปีที่ผ่านมาประสบกับปัญหาการลักลอบเผาป่า การเผาวัสดุที่เหลือจากการเกษตร ก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากหมอกควัน กระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน ดังนั้นคนในชุมชนจึงรวมตัวกันทำแผนชุมชน โดยผ่านการประชุมชาวบ้าน หาแนวทางแก้ไขปัญหา ทำให้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ฯ
เช้าวันที่ ( 25 กุมภาพันธ์ 2557) นายพงษ์ภีระ ชูชื่น นายอำเภอขุนยวม เป็นประธานเปิด การประชุม และศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานการศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของชุมชน ในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่งของชุมชนบ้านต่อแพ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่งโดยกระบวนการชุนชน ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ 3 ชุมชน จาก 3 จังหวัด ได้แก่ ชุนชนบ้านแม่ยางมิ้น ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ชุมชนบ้านห้วยส้มสุก ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และชุมชนบ้านดอนมูล ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน เพื่อศึกษาการดำเนินงาน แลกเปลี่ยน และรับฟังประสบการณ์ของชุมชน ในการลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาวิจัยให้แก่ชุมชนอื่นๆ และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อยกให้เป็น “ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ชุมชนต้นแบบการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ประจำปี 2557”
โดยมีกิจกรรมการบรรยายสรุป การดำเนินงานจัดการปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ของชุมชนต่อแพ โดยผู้นำและคณะทำงานบ้านต่อแพ เยี่ยมชมฐานศึกษาเรียนรู้ ต่างๆ เช่น การทำแนวกันไฟ การเฝ้าระวังไฟป่า การสร้างฝายชะลอน้ำ และฐานศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิ่งไม้ทำถ่าน การทำปุ๋ยหมัก และการเพาะเห็ด บ้านต่อแพ อยู่ในเขตการปกครอง หมู่ที่ 1 ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,900 ไร่ มีพื้นที่ป่าประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งในแต่ละปีที่ผ่านมาประสบกับปัญหาการลักลอบเผาป่า การเผาวัสดุที่เหลือจากการเกษตร ก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากหมอกควัน กระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน ดังนั้นคนในชุมชนจึงรวมตัวกันทำแผนชุมชน โดยผ่านการประชุมชาวบ้าน หาแนวทางแก้ไขปัญหา ทำให้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ฯ
ข่าวโดย : พักตร์ภูมิ ปัญญาไชยพัฒน์
จังหวัดลำปาง จัดหน่วยเคลื่อนที่ ออกให้บริการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน ในพื้นที่อำเภอเถิน
หน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดลำปาง บูรณาการร่วมกัน จัดกิจกรรมโครงการ "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดลำปาง" ที่ บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าที่ทำการเทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง นำสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค บริจาคมอบให้แก่ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ยากไร้ ในพื้นที่ตำบลล้อมแรด โดยมีคณะผู้บริหารจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด-อำเภอ ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลล้อมแรด และเขตพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนมากกว่า 400 คน เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ
โครงการ ”หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดลำปาง” เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งทางจังหวัด ได้จัดกิจกรรมขึ้นต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปในพื้นที่อำเภอต่างๆ ด้วยการนำบริการทุกประเภทจาก ส่วนราชการ องค์กรสาธารณกุศล และภาคเอกชน ออกมาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่ห่างไกลความเจริญ เป็นการบริการในเชิงรุก ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ในทุกๆ ด้านอย่างเหมาะสม อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ได้โดยสะดวก รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการ ลดค่าครองชีพให้กับประชาชน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของประชาชน ให้เอื้อต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และส่งเสริมให้ชาวบ้าน ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีหน่วยงานจากส่วนราชการประจำจังหวัดลำปาง และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 59 หน่วยงาน ได้ร่วมกันออกหน่วย ให้บริการนอกสถานที่ แก่พี่น้องประชาชน ซึ่งมีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงได้มีการนำสินค้าราคาถูกมาจัดจำหน่ายภายในงาน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย บรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน อีกทั้งได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจร่างกาย รักษาโรค แจกยาเวชภัณฑ์ และให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ตลอดจนได้มอบสิ่งของและเงินช่วยเหลือแก่ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ยากไร้
โดยในโอกาสนี้ นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นางอินทิรา สุภาแสน นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง และคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด ได้ร่วมกันมอบสิ่งของช่วยเหลือดังกล่าว ประกอบด้วย มอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค-บริโภค ให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ จำนวน 100 ถุง, มอบพันธุ์ปลา 100 ถุง รวม 50,000 ตัว ให้แก่ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่, มอบเงินช่วยเหลือ แก่ผู้มีรายได้น้อยไร้ที่พึ่ง จำนวน 6 ราย มอบเงินสงเคราะห์แก่ผู้พิการ จำนวน 4 ราย และมอบอุปกรณ์กายบำบัด ให้แก่ผู้พิการอีกจำนวน 8 ราย
ดูคลิป http://youtu.be/APGw8B7USEs
โครงการ ”หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดลำปาง” เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งทางจังหวัด ได้จัดกิจกรรมขึ้นต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปในพื้นที่อำเภอต่างๆ ด้วยการนำบริการทุกประเภทจาก ส่วนราชการ องค์กรสาธารณกุศล และภาคเอกชน ออกมาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่ห่างไกลความเจริญ เป็นการบริการในเชิงรุก ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ในทุกๆ ด้านอย่างเหมาะสม อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ได้โดยสะดวก รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการ ลดค่าครองชีพให้กับประชาชน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของประชาชน ให้เอื้อต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และส่งเสริมให้ชาวบ้าน ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีหน่วยงานจากส่วนราชการประจำจังหวัดลำปาง และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 59 หน่วยงาน ได้ร่วมกันออกหน่วย ให้บริการนอกสถานที่ แก่พี่น้องประชาชน ซึ่งมีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงได้มีการนำสินค้าราคาถูกมาจัดจำหน่ายภายในงาน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย บรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน อีกทั้งได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจร่างกาย รักษาโรค แจกยาเวชภัณฑ์ และให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ตลอดจนได้มอบสิ่งของและเงินช่วยเหลือแก่ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ยากไร้
โดยในโอกาสนี้ นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นางอินทิรา สุภาแสน นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง และคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด ได้ร่วมกันมอบสิ่งของช่วยเหลือดังกล่าว ประกอบด้วย มอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค-บริโภค ให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ จำนวน 100 ถุง, มอบพันธุ์ปลา 100 ถุง รวม 50,000 ตัว ให้แก่ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่, มอบเงินช่วยเหลือ แก่ผู้มีรายได้น้อยไร้ที่พึ่ง จำนวน 6 ราย มอบเงินสงเคราะห์แก่ผู้พิการ จำนวน 4 ราย และมอบอุปกรณ์กายบำบัด ให้แก่ผู้พิการอีกจำนวน 8 ราย
ดูคลิป http://youtu.be/APGw8B7USEs
ข่าวโดย : นายชาญณรงค์ ปันเต
มอดไม้ลำปาง ใช้รถกระบะลักลอบขนไม้สักท่อน ซิ่งไปบนถนนสายหลัก เจอรถเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนตรวจจับ ทิ้งของกลางทั้งรถและไม้ วิ่งหนีหายไปในความมืด
ร้อยตรีสมนึก วงศ์สาไฮ หัวหน้าชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วกรมทหารพรานที่ 31 กองทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วย กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตำรวจภูธรภาค 5 หรือ ศปทส.5 ชุดที่ 2 และเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ ลป.8 (แม่ทรายคำ) ร่วมกันเข้าตรวจสอบรถยนต์กระบะ ที่บรรทุกไม้สักท่อนมาเต็มคันรถ ปกคลุ่มอำพรางไว้ด้วยผ้าสะแลนสีดำ ซึ่งจอดเสียหลักอยู่ริมถนน ที่บริเวณถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม บ้านแพะหนองแดง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ส่วนคนขับรถและกลุ่มมอดไม้ ที่แอบลักลอบขนไม้สักออกนอกพื้นที่ในครั้งนี้ ได้อาศัยความชำนาญและความมืด วิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ไปได้ ก่อนทางเจ้าหน้าที่จะได้นำของกลางทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรทุ่งฝาย เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
สำหรับการติดตามไล่ล่าจับกุมครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้มีการสืบทราบว่า มีกลุ่มขบวนการมอดไม้ แอบลักลอบตัดไม้ในสวนป่า เขตพื้นที่ของ ออป. ในเขตสวนป่าแม่ทรายคำ ซึ่งทำกันเป็นขบวนการ และมักจะชักลากไม้ออกนอกพื้นที่ช่วงกลางดึก เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ และการติดตามของเจ้าหน้าที่ฯ โดยการปฏิบัติการติดตามไล่ล่า ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้จัดกำลังกระจายซุ่มอยู่ตามจุดต่างๆ พร้อมทั้งจัดกำลังออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตามเส้นทางถนนสายหลักและสายรอง จนกระทั่งได้พบกับรถยนต์ต้องสงสัย สภาพเก่า ด้านท้ายกระบะปกคลุมด้วยผ้าสีดำ ขับตามกันมา 4 คัน เจ้าหน้าที่ฯ จึงทำการขับติดตามและให้สัญญาณหยุดรถ เพื่อขอตรวจสอบ แต่ปรากฏว่ารถยนต์ต้องสงสัยทั้งหมด ได้เร่งเครื่องซิ่งหลบหนี ไปคนละทิศคนละทาง และสามารถวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ไปได้ 3 คัน จอดเสียหลักอยู่บริเวณริมถนน 1 คัน เป็นรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า ติดแผ่นป้ายทะเบียน บจ 8751 น่าน และท้ายกระบะได้บรรทุกไม้สักท่อนมาเต็มคันรถมากกว่า 40 ท่อน ส่วนกลุ่มมอดไม้ที่ขับรถคันดังกล่าวมา ได้อาศัยความชำนาญในพื้นที่ วิ่งหลบหนีหายเข้าไปในป่าพร้อมกับความมืด
ทั้งนี้ไม้ของกลางดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการลักลอบตัดไม้ ในพื้นที่สวนป่าของ ออป.หรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่ฯ จะได้มีการสืบสวนติดตามหาตัวกลุ่มมอดไม้กลุ่มนี้ มาสอบสวนหาข้อเท็จจริง และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
สำหรับการติดตามไล่ล่าจับกุมครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้มีการสืบทราบว่า มีกลุ่มขบวนการมอดไม้ แอบลักลอบตัดไม้ในสวนป่า เขตพื้นที่ของ ออป. ในเขตสวนป่าแม่ทรายคำ ซึ่งทำกันเป็นขบวนการ และมักจะชักลากไม้ออกนอกพื้นที่ช่วงกลางดึก เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ และการติดตามของเจ้าหน้าที่ฯ โดยการปฏิบัติการติดตามไล่ล่า ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้จัดกำลังกระจายซุ่มอยู่ตามจุดต่างๆ พร้อมทั้งจัดกำลังออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตามเส้นทางถนนสายหลักและสายรอง จนกระทั่งได้พบกับรถยนต์ต้องสงสัย สภาพเก่า ด้านท้ายกระบะปกคลุมด้วยผ้าสีดำ ขับตามกันมา 4 คัน เจ้าหน้าที่ฯ จึงทำการขับติดตามและให้สัญญาณหยุดรถ เพื่อขอตรวจสอบ แต่ปรากฏว่ารถยนต์ต้องสงสัยทั้งหมด ได้เร่งเครื่องซิ่งหลบหนี ไปคนละทิศคนละทาง และสามารถวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ไปได้ 3 คัน จอดเสียหลักอยู่บริเวณริมถนน 1 คัน เป็นรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า ติดแผ่นป้ายทะเบียน บจ 8751 น่าน และท้ายกระบะได้บรรทุกไม้สักท่อนมาเต็มคันรถมากกว่า 40 ท่อน ส่วนกลุ่มมอดไม้ที่ขับรถคันดังกล่าวมา ได้อาศัยความชำนาญในพื้นที่ วิ่งหลบหนีหายเข้าไปในป่าพร้อมกับความมืด
ทั้งนี้ไม้ของกลางดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการลักลอบตัดไม้ ในพื้นที่สวนป่าของ ออป.หรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่ฯ จะได้มีการสืบสวนติดตามหาตัวกลุ่มมอดไม้กลุ่มนี้ มาสอบสวนหาข้อเท็จจริง และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ข่าวโดย : นายชาญณรงค์ ปันเต
กอ.รมน.จ.ลำพูน จัดโครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ ตามแนวพระราชดำริ หวังลดปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่
พลโทสาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้บัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดโครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ ที่อ่างเก็บน้ำแม่ธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พ.อ.จิตติวัศร์ ศรสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.ลำพูน และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำพูนและเทศบาลตำบลบ้านธิ จัดทำโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวทางพระราชดำริ ได้แก่ โครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ ในพื้นที่ห้วยปลาดุก อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากไฟป่าและหมอกควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญาเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ธิ ตลอดจนสร้างความมั่นคงในมวลชน ได้แก่ ความสามัคคีและความจงรักภักดีต่อสถาบัน
โครงการสร้างฝายระบบน้ำชนน้ำ เป็นการแก้ปัญหาต้นเหตุของความแห้งแล้ง ตอบสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าไม้ของชาติและให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำมาโดยตลอด การปฏิบัติการครั้งนี้ จะดำเนินการสร้างฝายหลวงเพื่อกักเก็บน้ำตามลำห้วยปลาดุก จำนวน 20 ฝาย และศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ สนับสนุนงบประมาณในการสร้างฝายดักตะกอนในลำห้วยสาขาของลำห้วยปลาดุก จำนวน 30 ฝาย ฝายดังกล่าวเป็นฝายราคาประหยัด ใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่นแบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้กักเก็บน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง สามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขี้นเป็นลำดับ
หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดแม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้บัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานมอบยาและสิ่งของให้ผู้แทนมวลชน คือ นายจำรัส ศรีไม้ กำนันตำบลบ้านธิ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จากนั้น รับมอบกระสอบทรายสนับสนุนการสร้างฝายจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนและองค์กรเอกชน
โครงการสร้างฝายระบบน้ำชนน้ำ เป็นการแก้ปัญหาต้นเหตุของความแห้งแล้ง ตอบสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าไม้ของชาติและให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำมาโดยตลอด การปฏิบัติการครั้งนี้ จะดำเนินการสร้างฝายหลวงเพื่อกักเก็บน้ำตามลำห้วยปลาดุก จำนวน 20 ฝาย และศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ สนับสนุนงบประมาณในการสร้างฝายดักตะกอนในลำห้วยสาขาของลำห้วยปลาดุก จำนวน 30 ฝาย ฝายดังกล่าวเป็นฝายราคาประหยัด ใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่นแบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้กักเก็บน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง สามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขี้นเป็นลำดับ
หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดแม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้บัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานมอบยาและสิ่งของให้ผู้แทนมวลชน คือ นายจำรัส ศรีไม้ กำนันตำบลบ้านธิ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จากนั้น รับมอบกระสอบทรายสนับสนุนการสร้างฝายจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนและองค์กรเอกชน
ข่าวโดย : ชาลิสา วัฒนะโชติ
กอ.รมน. จ.ลำพูน ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านธิ สร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 50 ฝาย เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นดินป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้งรวมทั้งปัญหาหมอกควันและไฟป่า
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.ลำพูน ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านธิ และประชาชน อ.บ้านธิ จ.ลำพูน สร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ ตามแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นดินป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้งรวมทั้งปัญหาหมอกควันและไฟป่า
เช้าวันที่ (25 ก.พ. 2557) ที่ อ่างเก็บน้ำแม่ธิ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พลโทสาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้บัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดโครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ พร้อมด้วยนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำพูน ,องค์การบริการส่วนจังหวัดลำพูน ,ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ,บริษัทปูน TPI และกองพลทหารราบที่ 7 โดยกรมทหารราบที่ 7 และมณฑลทหารบกที่ 33 โดยสำนักงานสัสดีจังหวัดลำพูน ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านธิและประชาชน อ.บ้านธิ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่พื้นดินเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ธิ นอกจากนี้ยังมุ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประการสำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
โครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ เป็นการแก้ปัญหาความแห้งแล้ง สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าไม้ของชาติ ในการสร้างฝายครั้งนี้ มุ่งสร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำตามลำห้วยปลาดุก จำนวน 20 ฝาย และศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ สนับสนุนงบประมาณในการสร้างฝายดักตะกอนในลำห้วยสาขาของลำห้วยปลาดุก อีกจำนวน 30 ฝาย ในการก่อสร้างฝาย ได้ใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่นฝายแบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้กักเก็บน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง สามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่ม
เช้าวันที่ (25 ก.พ. 2557) ที่ อ่างเก็บน้ำแม่ธิ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พลโทสาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้บัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดโครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ พร้อมด้วยนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำพูน ,องค์การบริการส่วนจังหวัดลำพูน ,ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ,บริษัทปูน TPI และกองพลทหารราบที่ 7 โดยกรมทหารราบที่ 7 และมณฑลทหารบกที่ 33 โดยสำนักงานสัสดีจังหวัดลำพูน ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านธิและประชาชน อ.บ้านธิ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่พื้นดินเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ธิ นอกจากนี้ยังมุ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประการสำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
โครงการสร้างฝายหลวงระบบน้ำชนน้ำ เป็นการแก้ปัญหาความแห้งแล้ง สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าไม้ของชาติ ในการสร้างฝายครั้งนี้ มุ่งสร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำตามลำห้วยปลาดุก จำนวน 20 ฝาย และศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ สนับสนุนงบประมาณในการสร้างฝายดักตะกอนในลำห้วยสาขาของลำห้วยปลาดุก อีกจำนวน 30 ฝาย ในการก่อสร้างฝาย ได้ใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่นฝายแบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้กักเก็บน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง สามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่ม
ข่าวโดย : น.ส. อุไรวรรณ ปิงแก้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)