วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำพุร้อนสันกำแพงปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น

สหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ ปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้น รองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานทั้งหมด ได้มีการดึงชุมชนใน 8 หมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการฝากขายสินค้าท้องถิ่น และการจ้างงาน เป็นการคืนรายได้สู่ชุมชน

เมื่อเร็วๆนี้ (18 ก.พ.57) เวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุมสหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพง มีการแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชนะ แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการแถลงข่าว โดยมีนางกฤติมา กันใจมา ผู้จัดการสหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ แถลงข่าวในเรื่องการดำเนินกิจการสหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ กล่าวว่า พื้นที่น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ มีพื้นที่ทั้งหมด 75 ไร่ และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2527 เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง แต่ด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงไม่เป็นที่สะดุดตาและดึงดูดความสนใจมากนัก จนในปี 2556 ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี มีการแบ่งคณะทำงานเป็น 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการและคณะกลั่นกรองด้านการบริหารจัดการของน้ำพุร้อนสันกำแพง มีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน

โดยในปัจจุบัน ที่นี่ มีห้องอาบน้ำแร่แช่อาบ 34 ห้อง แบบตักอาบ 20 ห้อง แบบแช่รวม 2 ห้อง เรือนพักอาบน้ำแร่ 17 หลัง สระว่ายน้ำ 1 สระ บ้านพักค้างคืน 17 ห้อง ห้องพักรับรอง 1 ห้อง มีนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า ภายหลังจากมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากยิ่งขึ้น สถิติล่าสุดเมื่อวันสิ้นปี 31 ธันวาคม 2556 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาสูงถึง 17,000 คน สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งค้างคืนแบบบ้านพัก มากางเต็นท์ แช่ตัว แช่เท้า ในเดือนธันวาคม 2556 มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าเดือนธันวาคมปี 2555 กว่า 27,000 คน คิดเป็นร้อยละเกือบ 30 ส่วนในเดือนมกราคม 2557 มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าเดือนมกราคม ปี 2556 กว่า 13,000 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 18 ขณะนี้ มีการสร้างห้องอาบน้ำแร่หลังใหม่ ลำธารแช่เท้าเส้นใหม่ และเตรียมปรับปรุงร้านอาหารใหม่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังเตรียมวางแผนสร้างเตาเผาขยะแทนการฝังกลบ วิธีที่ใช้มานาน เนื่องจากเกรงว่า การฝังกลบจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมและแร่ธาตุต่างๆ ในดิน

ผู้จัดการสหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ มีการปรับราคาค่าบัตร ให้เท่ากับค่าเข้าชมในเขตอุทยานทั่วประเทศ ซึ่งไม่มีการปรับมานานแล้ว ประกอบกับ รายได้หลักมีเฉพาะค่าจำหน่ายบัตรเท่านั้น การปรับราคาค่าบัตรจะรองรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ โดยผู้ใหญ่ไทย ราคา 40 บาท เด็กไทย 20 บาท ผู้ใหญ่ต่างชาติ 100 บาท เด็กต่างชาติ 50 บาท ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมด ได้มีการดึงชุมชนใน 8 หมู่บ้าน เข้ามาร่วม ทั้งการฝากขายสินค้าท้องถิ่น และการจ้างงาน เป็นการจัดการรายได้คืนสู่ชุมชน ภายหลังจากมีการปรับโครงสร้างครั้งนี้ น้ำพุร้อนสันกำแพง ตามพระราชดำริ คึกคักขึ้นมาก มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพิ่มต้นไม้ ดอกไม้ เพิ่มลานกางเต็นท์ เพิ่มเครื่องเล่นสำหรับเด็ก รองรับนักท่องเที่ยวที่นิยมมาเป็นครอบครัว ทำให้ที่แห่งนี้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น


ข่าวโดย : ไผท สุวรรณเสวตร

จังหวัดน่าน ฝึกอบรมลดกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษาต้านยาเสพติด หลักสูตรเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด ปี 2557

วันนี้ (21 ก.พ. 57) ที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดน่านที่ 1 อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายพิชัยลักษณ์ เพชรบุรีกุล ปลัดจังหวัดน่าน เป็นประธานฝึกอบรมตามโครงการลดกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษาต้านภัยยาเสพติด หลักสูตรเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด ประจำปี 2557 โดยจังหวัดน่าน ได้ดำเนินโครงการ ขึ้นเพื่อเป็นการรองรับยุทธศาสตร์ สนองตอบต่อนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทักษะการดำรงชีวิต ให้กับเยาวชนนอกสถานศึกษา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่สร้างปัญหาให้กับครอบครัว และสังคม เพื่อเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มพลังอาสา การทำประโยชน์สาธารณะในหมู่บ้านชุมชน ทั้งยังเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้เป็นคนดีมีคุณภาพสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีปกติสุข โดยเนื้อหาการอบรมในหลักสูตรจะนำวิชาด้านอาสารักษาดินแดนเข้ามาสอนด้วย เพื่อให้เยาชนเหล่านี้เมื่อผ่านการอบรมแล้ว จะมีจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือราชการ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของตนเอง สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 100 คน เป็นเยาวชนจากอำเภอที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในระดับท้องถิ่น ที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมีหลักสูตรการฝึกอบรม 4 วัน ระหว่างวันที่ 21 – 24 กุมภาพันธ์ 2557

โดยนายพิชัยลักษณ์ เพชรบุรีกุล ปลัดจังหวัดน่าน กล่าวให้โอวาทกับผู้เข้ารับการว่า ขณะนี้ทางจังหวัดน่านมีความจริงจัง และเข้มข้น ในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดอย่างมากในกลุ่มเยาวชน รวมทั้งการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดสิ่งผิดกฎหมายด้วย ที่ใช้จังหวัดน่านเป็นเส้นทางลำเลียงสิ่งผิดกฏหมายผ่านหรือพักยาเสพติดก่อนส่งต่อไปในพื้นที่อื่น ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีความเข้มข้นในการฝึกอบรมกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหันมาให้ความร่วมมือเป็นแกนนำสร้างกระแสการมีส่วนร่วมป้องกันปัญหายาเสพติดร่วมกับทางราชการต่อไป ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดติดจังหวัดน่านในการลดปัญหาและการระบาดของยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดน่าน



ศรายุทธ  ประเสริฐนิรมล  ภาพ / ข่าว

สสจ. น่าน เตือนประชาชนระวังโรคร้ายที่มาในช่วงฤดูร้อน

นายปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งว่า จากการสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อ ตลอดจนการนำข้อมูลการป่วยย้อนหลัง 10 ปี เพื่อนำมาพยากรณ์แนวโน้มของการเกิดโรคในปี 2557 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมนั้น พบว่า โรคที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนปี 2557 นี้ ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค อาจมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเนื่องจากมีลักษณะการระบาดปีเว้นสองปี และปี 2557 เป็นปีที่ครบรอบการระบาด โรคไทฟอยด์คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ ป่วยที่รายงานในปี 2556 ในช่วงเวลาเดียวกัน และโรคไวรัสตับอักเสบชนิด A คาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยที่รายงานในปี 2556 ถ้าไม่มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่ดี

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งต่อว่า ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนหรือภัยแล้งของประเทศไทยนั้น โรคที่มากับภัยแล้งที่น่าจับตามอง ส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อจากอาหารและน้ำ เนื่องจากเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่มักจะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในช่วงฤดูร้อน เพราะมีสภาพอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ดังนั้น โรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง โรคไทฟอยด์ และโรคบิด นอกจากนั้นแล้ว ในช่วงฤดูร้อนมักมีการจัดกิจกรรมเข้าค่ายพักแรม การทำครัวหรือการปรุงอาหารอาจทำได้ไม่ถูกสุขลักษณะ โรคไวรัสตับอักเสบชนิด A เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบรายงานการป่วยเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน แจ้งต่อท้ายว่า ในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่ประชาชนยังคงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ เพื่อป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่ระบาดในฤดูร้อนนั้น ควรปรุงอาหารให้สุกก่อน ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุง หรือรับประทานอาหารและภายหลังถ่ายอุจจาระ ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปที่ชื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้เดือดทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน ผักหรือผลไม้ ก่อนรับประทานให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานโรค ขวดนมล้างให้สะอาด และต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน เช่น อุจจาระเด็กกำจัดหรือทิ้งในโถส้วมหรือกลบให้มิดชิด ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422.
"กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ”


พวงพยอม  คำมุง

กกต.น่าน แจ้งขอยกเลิกการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักร

นายจรูญ จันอินทร์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน (กกต.น่าน) ได้ปรับปรุงแก้ไขรายชื่อผู้ขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักรไปแล้วนั้น ในการนี้ กกต.น่าน จึงขอแจ้งการขยายระยะเวลาผู้ที่มีความประสงค์จะขอยกเลิกการลงทะเบียนและกลับมาใช้สิทธิ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน แจ้งต่อว่า สำหรับหลักฐานประกอบการแจ้งขอยกเลิกการลงทะเบียนฯ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ไปยื่นได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดน่าน เลขที่ 275 หมู่ 5 ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานจัดการเลือกตั้ง โทรศัพท์ 0-5460-0000


พวงพยอม  คำมุง

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา มอบพันธ์ไก่ไข่ให้กับเรือนจำจังหวัดพะเยา เพื่อฝึกวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังและสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพหลักได้ภายหลังพ้นโทษ

วันนี้ (21 ก.พ.57) ที่เรือนจำชั่วคราวร่องห้า ภายในเรือนจำจังหวัดพะเยา เรืออากาศตรีสุวิชา แก้วมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง หลักสูตรฝึกเลี้ยงไก่ไข่ พร้อมมอบพันธ์ลูกไก่ไข่จำนวน 500 ตัว ให้แก่นายไพฑูรย์ อำพัน ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพะเยา ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา โดยสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ผลิตเพื่อให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดพะเยา นำไปเลี้ยงเพื่อการศึกษาเป็นอาชีพ

นายจำลอง อริยะจักร ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้มีนโยบายในการบูรณาการกับหน่วยงานกรมราชทัณฑ์ ภายใต้โครงการแสงไฟปลายเปลวเทียน ซึ่งจะนำวิชาชีพด้านปศุสัตว์หลายๆ แขนงนำไปเป็นแนวทาง ในการพัฒนาอาชีพแก่ผู้ต้องขัง เพื่อเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์ ได้มีนโยบายแก้ไขฟื้นฟูและพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง โดยส่งเสริมให้เรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้แก่ผู้ต้องขัง เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพภายหลังพ้นโทษ



ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ

เกษตรกรกว่า 200 คนบุกศาลากลางทวงเงินค่าข้าวโพด หวั่นเงินไม่มีจ่ายเหมือนโครงการรับจำนำข้าวที่ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

วันนี้ (21 ก.พ.57) เวลา 09.30 น.กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อ.ปง จ.พะเยา และผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด กว่า 200 คน ซึ่งนำโดยนายจิรภาส เลิศฤทธิ์ปัญญากุล แกนนำและเจ้าของโซโลจิรภาสซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ปง ได้พากันเดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อทวงถามเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการกิโลกรัมละ 1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล หลังพบว่าเกษตรกรที่นำข้าวโพดไปเข้าร่วมโครงการกับไซโลอื่นได้รับเงินแล้วแต่ไซโลจิรภาสยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน จึงพากันเดินทางมาสอบถามความคืบหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้นกับทางจังหวัด

นายจิรภาส เลิศฤทธิ์ปัญญากุล แกนนำ กล่าวว่า การเดินทางมาในวันนี้ของตน และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อ.ปง ก็เพื่อมาทวงถามความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการกิโลกรัมละ 1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล ว่าประสบปัญหาอะไร เพราะเหตุใดทำไมเงินยังไม่มีการเบิกจ่าย และตกลงถึงมือเกษตรกรจำนวน กว่า 500 ราย รวมผลผลิตกว่า 8,901 ตัน ที่เข้าร่วมโครงการกับทางไซโลจิรภาส แต่ในทางกลับกันไซโลอื่นกลับได้เงินแล้ว ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับทางเกษตรกรรวมถึงไซโลเองด้วยเพราะเกษตรกรเกิดความไม่เชื่อมั่นกับไซโล ว่าเข้าร่วมกับไซโลแล้วเจ้าของไม่ติดตามการเบิกจ่ายเงิน ซึ่งทางไซโลก็ไม่ทราบเหตุผลเช่นกัน จึงพากันเดินทางมาขอรับทราบปัญหาและความคืบหน้าในวันนี้ เพราะเกษตรกรเกรงว่ากลัวเงินจะไม่มีจ่ายเหมือนโครงการรับจำนำข้าวที่ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น.นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยามอบหมายให้ นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เชิญตัวแทนจำนวน 30 คนเข้าชี้แจงข้อเรียกร้อง และแจ้งความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงิน ที่ห้องศูนย์บัญชาการศาลากลางจังหวัดพะเยาโดยระบุว่าจังหวัดพะเยาได้รับโควตาผลผลิตจากรัฐบาลตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 95,000 ตัน เป็นเงิน 142 ล้านบาท ในส่วนของ อ.ปงนั้นได้โควตา 39,000 ตัน หรือเท่ากับร้อยละ 40 ของโควตาจังหวัด ซึ่งเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการกิโลกรัมละ 1.5 บาท ที่รัฐบาลจ่ายให้กับทางจังหวัดนั้น ขอยืนยันว่ารัฐบาลจ่ายเงินมาครบ และมีเงินอยู่แน่นอน ของให้เกษตรกรสบายใจได้ และการที่การเบิกจ่ายเงินล่าช้าไปบ้างนั้น ก็เนื่องจากว่า ขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบเอกสารเกษตรกร คือสำนักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ซึ่งจะต้องตรวจอย่างรอบครอบและต้องใช้เวลา ก่อนส่งมาให้พาณิชย์จังหวัดเพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด หรือ คพจ. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติ จึงจะสามารถเบิกจ่ายเงินให้เกษตรกรได้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่าเงินดังกล่าวจะสามารถจ่ายให้กับเกษตรกรได้ภายในวันศุกร์ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน และทั้งจังหวัด ก็จะเสร็จสิ้นภายในไม่เกินสิ้นเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน ก่อนเกษตรกรก่อนจะแยกย้ายกันเดินทางกลับในเวลาต่อมา (11.00 น.)

ทั้งนี้ มาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล ซึ่งจะมีการรับซื้อผลผลิตที่ความชื้น 30% กิโลกรัมละ 7 บาท และความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 9 บาท และรัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้กิโลกรัมละ 1.50 บาท


ข่าวโดย : นิรันต์ บุญแก้ว

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อ.ปง จ.พะเยา เดินทางมายังศาลากลางจังหวัด เพื่อทวงถามเงินชดเชยค่าข้าวโพด ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล

วันนี้ (21 ก.พ.57) เวลา 09.30 น. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อ.ปง จ.พะเยา และผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด กว่า 200 คน นำโดยนายจิรภาส เลิศฤทธิ์ปัญญากุล แกนนำ และเจ้าของไซโลจิรภาส ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ปง ได้พากันเดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อทวงถามเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการกิโลกรัมละ 1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล หลังพบว่าเกษตรกรที่นำข้าวโพดไปเข้าร่วมโครงการกับไซโลอื่นได้รับเงินแล้วแต่ไซโลจิรภาสยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน จึงพากันเดินทางมาสอบถามความคืบหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้นกับทางจังหวัด

นายจิรภาส เลิศฤทธิ์ปัญญากุล แกนนำ กล่าวว่า เพราะเหตุใดทำไมเงินยังไม่มีการเบิกจ่าย และถึงมือเกษตรกรจำนวน กว่า 500 ราย รวมผลผลิตกว่า 8,901ตัน ที่เข้าร่วมโครงการกับทางไซโลจิรภาส แต่ทั้งนี้ทำไมไซโลอื่นกลับได้เงินแล้ว ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับทางเกษตรกรรวมถึงไซโลเองด้วย ซึ่งเกษตรกรเกิดความไม่เชื่อมั่นกับไซโลว่าเข้าร่วมกับไซโลแล้วเจ้าของไม่ติดตามการเบิกจ่ายเงิน โดยทางไซโลก็ไม่ทราบเหตุผลเช่นกัน จึงพากันเดินทางมาขอรับทราบปัญหาและความคืบหน้าในวันนี้ เพราะเกษตรกรเกรงว่ากลัวเงินจะไม่มีจ่ายเหมือนโครงการรับจำนำข้าวที่ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้        
ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น.นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญตัวแทนจำนวน 30 คน เข้าชี้แจงข้อเรียกร้องพร้อมแจ้งความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงิน ที่ห้องศูนย์บัญชาการศาลากลางจังหวัดพะเยา

โดยระบุว่า จังหวัดพะเยาได้รับโควตาผลผลิตจากรัฐบาลตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 95,000 ตัน เป็นเงิน 142 ล้านบาท ในส่วนของ อ.ปง นั้น ได้โควตา 39,000 ตัน หรือเท่ากับร้อยละ 40 ของโควตาจังหวัด ซึ่งเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการกิโลกรัมละ 1.5 บาท ที่รัฐบาลจ่ายให้กับทางจังหวัดนั้น ขอยืนยันว่ารัฐบาลจ่ายเงินมาครบ และมีเงินอยู่แน่นอน และการที่เบิกจ่ายเงินล่าช้าไปบ้างนั้น เนื่องจากว่าขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบเอกสารเกษตรกร คือ สำนักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ซึ่งจะต้องตรวจอย่างรอบครอบและต้องใช้เวลา ก่อนส่งมาให้พาณิชย์จังหวัดเพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด หรือ คพจ. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติ จึงจะสามารถเบิกจ่ายเงินให้เกษตรกรได้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่าเงินดังกล่าวจะสามารถจ่ายให้กับเกษตรกรได้ภายในวันศุกร์ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน และทั้งจังหวัดก็จะเสร็จสิ้นภายในไม่เกินสิ้นเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน ก่อนเกษตรกรจะแยกย้ายกันเดินทางกลับในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ มาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล ซึ่งจะมีการรับซื้อผลผลิตที่ความชื้น 30% กิโลกรัมละ 7 บาท และความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 9 บาท และรัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้กิโลกรัมละ 1.50 บาท


ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ

องคมนตรีเป็นประธานประสาทอนุปริญญาบัตรแก่นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแพร่

องคมนตรีเป็นประธานประสาทอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา วิทยาลัยชุมชนแพร่ ประจำปีการศึกษา 2555-2556

 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (21 ก.พ.57) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกและกลุ่มประเทศ GMS บ้านกอเปา ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ พลอากาศเอกชลิต ผุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธีประสาท อนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา วิทยาลัยชุมชนแพร่ ประจำปีการศึกษา 2555-2556 จำนวน  พระภิกษุสงฆ์ 2 รูป 99 คน พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติ แก่ผู้มีอุปการคุณต่อวิทยาลัยชุมชนแพร่จำนวน จำนวน 22 ราย

วิทยาลัยชุมชนแพร่ เป็นวิทยาลัยชุมชนลำดับที่ 18 ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ตามนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่น เปิดสอน 6 สาขาวิชา ประกอบด้วยวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิชาการปกครองท้องถิ่น วิชาการจัดการทั่วไป วิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาการศึกษาปฐมวัย และวิชาการบัญชี



ฉัตรชัย พวงขจร /ข่าว /พิมพ์

อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ส่งเสริมการปลูกพริกปลอดสารเคมี

อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ส่งเสริมการปลูกพริกปลอดสารเคมี พร้อมหาตลาดให้แก่เกษตรกร แนะนำเกษตรกรรวมกลุ่มกันขาย ป้องกันการผูกขาดของพ่อค้าคนกลาง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า อำเภอหนองม่วงข่า จังหวัดแพร่เป็นพื้นที่ปลูกพริกรายใหญ่ของมีพื้นที่ปลูก 1,800 ไร่ เกษตรกร 500 ราย มีผลผลิตต่อปี 5,000-8,000 ตัน ในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปีจะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสู่ท้องตลาด

ด้านนายการันย์ เกื้อวันชัย นายอำเภอหนองม่วงไข่ กล่าวว่า แม้พริกของอำเภอหนองม่วงไข่จะมีผลผลิตมาก แต่สิ่งหนึ่งที่มีปัญหาคือการใช้สารเคมีของเกษตรกร ทางอำเภอจึงได้จัดโครงการปลูกพริกปลอดภัย งดใช้สารเคมี เพื่อให้มีพริกที่มีคุณภาพปลอดสารเคมีตรงตามความต้องการของโรงงาน ที่ผ่านมามีเกษตรกรจากอำเภอหนองม่วงไข่ป่วยด้วยโรคมะเร็งจากการใช้สารเคมีในการเกษตรมากที่สุดของจังหวัดแพร่ ทางอำเภอจึงได้ส่งเสริมให้ใช้เกษตรอินทรีย์ สารกำจัดแมลงตามวิถีธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรและผู้บริโภค

นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกรวมตัวกันเพื่อป้องกันการเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งในปีนี้ราคาเป็นที่น่าพอใจกิโลกรัมล่ะ 14 บาท  โดยอำเภอได้ประสานกับโรงงานพริกที่จังหวัดนครสวรรค์มารับซื้อพริก หากเกษตรกรขายได้สุงกว่าก็ไปขายได้เลย แต่ถ้าต่ำกว่าก็รวมตัวกันไปขายก็ถือว่าคุ้มค่า
และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 นี้จะมีการฝึกอบรมการปลูกพริกปลอดภัย ไร้สารพิษ โดยคณะวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ศาลาประชาคมอำเภอหนองม่วงไข่ ซึ่งจะมีเกษตรกรผู้ปลูกพริกเข้าร่วมอบรมจำนวน 60 ราย เพื่อจะได้นำความรู้ไปปรับใช้ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค มีพริกที่ดีมีคุณภาพปลอดสารเคมี


ฉัตรชัย พวงขจร / ข่าว /พิมพ์

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่ มอบรางวัลชนะเลิศ การประกวดรายการวิทยุ บ้านนี้มีสุข แก่ สวท.เชียงใหม่ และ สวท.ลำปาง

บ่ายวันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2557)  นางธารทิพย์ ทองงามขำ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่ เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศการประกวดรายการวิทยุ บ้านนี้มีสุข ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการประกวดดังนี้ รางวัลชนะเลิศได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

นางสาวเดือน อินต๊ะ นักสื่อสารมวลขนชำนาญการ ผู้ดำเนินรายการ รายการบ้านนี้มีสุข สวท.เชียงใหม่ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของรายการเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยมีเยาวชนมาร่วมดำเนินรายการจำนวน 2 คน นอกจากนั้นมี หมอ และ ทนายความมาร่วมดำเนินรายการ และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังทางบ้านมีส่วนร่วม โดยโทรศัพท์มาแสดงความคิดเห็น นางสาวชุติกาญจน์ เหล่าชัย เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ผู้ดำเนินรายการบ้านนี้มีสุข สวท.ลำปาง กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของรายการ เป็นเด็ก อายุระหว่าง 6-12 ปี โดยนำเนื้อหา และเพลงที่เหมาะสมกับเด็กมานำเสนอ สำหรับการประกวดครั้งนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 41 สถานี จาก 52 สถานี ที่เข้าร่วมโครงการ


ข่าวโดย : เอกณรินทร์ ใจมะโน

คณะกรรมการมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมเตรียมจัดพิธีเปิดเทวสถานวิหารเจ้าแม่กวนอิมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ค่ำวานนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2557)  นายโชติ นรามณฑล รองประธานมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ เตรียมจัดพิธีเปิดเทวสถานวิหารเจ้าแม่กวนอิม ที่ร้านอาหารลุงหยาง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อเตรียมจัดพิธีเปิดเทวสถานศาลเจ้าแม่กวนอิม ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคม 2557 กิจกรรมประกอบด้วย วันที่ 15 มีนาคม จัดพิธปัดเป่าภายในเทวสถานวิหารเจ้าแม่กวนอิม วันที่ 16 มีนาคม พิธีถวายฏีกาองคเง็กเซียนฮ่องเต้และพิธีรับโองการเทวบัญชาองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ วันที่ 17 มีนาคม พิธีอันเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์ และพิธีพุทธาภิเษก สิ่งศักดิ์สิทธิ์และวัตถุมงคล วันที่ 18 มีนาคม พิธีอัญเชิญองค์โพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม และองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ แห่รอบเมือง ประทานพรสิริมงคล การแสดงของคณะมังกร สิงโต และกราบสักการะพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้า วันที่ 19 มีนาคม พิธิเปิดแพรคลุมป้าย และประตูเทวสถานวิหารเจ้าแม่กวนอิม พิธีอัญเชิญ องค์โพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม และองค์เทพเจ้าทุกพระองค์ เพื่อประดิษฐานบนแท่นประทับ โดยศาสตร์ตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธาน และพิธีเบิกเนตรองค์โพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมและองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ โดยพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ เป็นประธาน



ข่าวโดย : เอกณรินทร์ ใจมะโน

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหาแนวทางนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจริงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

วันที่ (20 กุมภาพันธ์ 2557) นายวิทยา กองตองกาย ผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการหาแนวทางการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ไปสู่การปรับใช้ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากนี้จะดำเนินการอบรมให้ความรู้ และระดมความคิดเห็นในการพัฒนาภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 18 แห่ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ นอกจากนี้จะต้องมีการเพิ่มพูนความรู้ด้วยการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ เน้นไปที่หลักสูตรกรการเพาะเห็ด , การเลี้ยงไก่เมืองพันธุ์ประดู่หางดำ , การปลูกผักไร้ดิน ,การปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเน้นการปฏิบัติได้จริง


ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.แม่ฮ่องสอน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชวนออกกำลังกาย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สุขภาพแข็งแรง

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชวนออกกำลังกาย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สุขภาพแข็งแรง ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

นพ.ทศเทพ บุญทอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ประชาชนป่วยเป็นไข้หวัดได้มากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ หากป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ถ้าหากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก ขอให้พบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีไข้ อย่าซื้อยากินเอง การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ขอให้พี่น้องประชาชนหมั่นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที สร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดมากับมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้พักผ่อนให้มากๆ อาการจะค่อยๆดีขึ้นเองและคาดหน้ากากอนามัย รวมถึงพักทำงาน พักโรงเรียนเพื่อป้องกันเชื้อแพร่ไปติดคนอื่น หากไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วันขอให้พบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแทรกซ้อนได้ โดยสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน


ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.แม่ฮ่องสอน

SCG ลำปาง ลงนามความร่วมมือกับ สกว. พัฒนาเครื่องมืองานวิจัย ต่อเนื่องในระยะที่ 2 ร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน แก่ชุมชนท้องถิ่น

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด หรือ SCG ลำปาง ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) ทำพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ ห้องประชุมอาคารเรือนรับรอง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มี ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการบริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด และ นายวีรพันธ์ เมธางกูร ผู้จัดการส่วนพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ

การลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ทางบริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้เคยมีการลงนาม ทำข้อตกลงร่วมกัน มาก่อนแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2553 - 2556 ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของโครงการฯ มีเป้าหมายเพื่อจะถ่ายทอดเครื่องมือ และกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ให้แก่พนักงานของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด ให้สามารถปฏิบัติงานด้าน CSR ใช้เครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ปฏิบัติงานสร้างความเข้มแข็ง ให้เกิดขึ้นกับชุมชนรอบๆ โรงงาน โดยตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบูรณาการร่วมกัน กับชุมชนและทุกภาคส่วน ทำงานตามเครื่องมือวิจัยจนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ และได้ก่อเกิดเป็นโครงการ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ หลายโครงการ อาทิเช่น โครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต, โครงการหนึ่งหน่วยงาน สร้างสรรค์ชุมชน One Cell One Project, โครงการ SCG Do It Green และ โครงการปั๊มโอกาสวาดอนาคต เป็นต้น ทุกโครงการฯ ล้วนเป็นสิ่งยืนยันถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย

ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนามีความต่อเนื่อง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงได้มีการลงนาม ทำบันทึกความร่วมมือในระยะที่ 2 ขึ้น มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี(ตั้งแต่ปี 2557- 2562) มีเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อจะพัฒนาเครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสม ตอบโจทย์เป้าหมาย ทั้งของชุมชน และของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด และสามารถแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ไปสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด ถือเป็นองค์กรต้นแบบในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้ดำเนินธุรกิจภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการดำเนินงานดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักอุดมการณ์ 4 ด้าน คือ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับรางวัลด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม ต่างๆ มากมาย จากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ
ดูคลิป http://youtu.be/Ln_BL9Bjt_g


ข่าวโดย : นายชาญณรงค์ ปันเต

สสจ.ลำปาง ขอความร่วมมือสื่อทิ้งถิ่นโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร และยาให้เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย

นายแพทย์ศิริชัย ภัทรนุธาพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้พบว่ามีการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและยา ทางสถานีวิทยุและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจำนวนมาก เช่น การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร และยาโดยไม่ได้รับอนุญาต การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร และยาโดยอวดอ้างคุณประโยชน์ คุณภาพ สรรพคุณอันเป็นเท็จหลอกลวงผู้บริโภคให้เกิดความหลงเชื่อเป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค และมิให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายกังกล่าวข้างต้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง จึงขอให้ท่านทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร และยาให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด


ข่าวโดย : ปัณธวัฒน์ ทวีพรจิรภาคย์

ชาวนาในพื้นที่ อ.เถิน นำกระสอบทรายกั้นลำน้ำแม่วัง กักเก็บน้ำไว้ใช้ หวั่นประสบภัยแล้ง

ชาวนากว่า 30 คน ในพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ช่วยกันลำเลียงไม้ค้ำยันปักลงกลางแม่น้ำวัง พร้อมนำกระสอบบรรจุทรายวางกั้นแม่น้ำ เพื่อสร้างฝายกักเก็บน้ำไว้ใช้ ภายหลังปริมาณน้ำในแม่น้ำวัง ที่ไหลผ่านพื้นที่ตัวอำเภอ ลดลงอย่างต่อเนื่อง หวั่นเกรงจะต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

นายจุมพร ชมภูรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลล้อมแรด พร้อมด้วย นายวัชระ กาวิละนันท์ รองนายกเทศมนตรี รวมทั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ และเจ้าหน้าที่จากกองช่าง ของเทศบาลตำบลล้อมแรด ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจติดตามดูสภาพปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น หลังได้รับแจ้งสถานการณ์น้ำ ในลำน้ำแม่วังลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมได้ร่วมประชุมเกษตรกร-ชาวนา ผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ระดมกำลังร่วมกันสร้างฝายกักเก็บน้ำ ที่ บริเวณสถานีสูบน้ำบ้านล้อมแรด ด้านหลังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาอำเภอเถิน โดยทางเทศบาลตำบลล้อมแรด ได้สนับสนุนเครื่องจักรรถแบคโฮ 1 คัน และ สนับสนุนกระสอบบรรจุทรายให้แก่เกษตรกร ได้นำไปสร้างฝายกั้นลำน้ำแม่วังที่ไหลผ่านตัวอำเภอ เพื่อจะเร่งกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่า ในปีนี้จะเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ

ด้านนายจุมพร ชมภูรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลล้อมแรด เปิดเผยว่า เทศบาลตำบลล้อมแรด มีโครงการส่งเสริมปลูกข้าวพันธุ์ดี ในพื้นที่นาปรังฤดูกาลผลิตปี 2557 โดยให้ชาวนาได้ยืมเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูกก่อน แล้วใช้เงินคืนทีหลัง สำหรับปีนี้ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ “สันป่าตอง 1” ของกรมวิชาการเกษตร ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ เกษตรกรชาวนา จะแบ่งไว้บริโภคในครัวเรือน ที่เหลือจะส่งขายให้กับพ่อค้าโรงสี สำหรับแปรรูปเป็นผลผลิตข้าวสารคุณภาพดี ส่งขายบริโภคภายในประเทศ โดยปีนี้มีเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ตำบลล้อมแรด สนใจเข้าร่วมโครงการ 7 หมู่ บ้าน ได้แก่ บ้านอุมลอง บ้านเวียง บ้านล้อมแรด บ้านเด่นแก้ว บ้านแพะหลวง บ้านเหล่า และบ้านท่าเมล์ รวมพื้นที่เพาะปลูกแล้วประมาณ 1,500 ไร่ นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรนอกเขตพื้นที่ อีก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าหลวงดอนแก้ว บ้านวังหินพัฒนา และบ้านวังทอง ที่อยู่ในเขตตำบลเถินบุรี ได้ให้ความสนใจมาขอซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว และนำไปปลูกในนาปรัง ประจำฤดูกาลนี้ รวมพื้นที่อีกกว่า 500 ไร่ ซึ่งหากพื้นที่อำเภอเถิน ต้องประสบปัญหาภัยแล้ง ข้าวที่ปลูกจะต้องได้รับความเสียหาย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่

นายกเทศมนตรีตำบลล้อมแรด ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ โดยคาดว่าจะมาเร็วกว่ากำหนด จากเดิมที่อยู่ในช่วงเดือน มี.ค.-ก.ค. เนื่องจากว่าขณะนี้น้ำในแม่น้ำสายหลัก ได้เริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง บ่อบาดาลน้ำตื้น และบ่อบาดาลผิวดิน ของประชาชนในพื้นที่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำวัง ก็ได้เริ่มลดระดับลงเช่นเดียวกัน ซึ่งในระยะช่วงเวลาไม่ถึง 1 เดือนต่อจากนี้ไป สถานการณ์น่าจะรุนแรงมากขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร ทั้งนี้สำหรับการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่บริเวณสถานีสูบน้ำบ้านล้อมแรด ได้ช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราว ให้แก่เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการแจ้งเตือนให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพราะหลังจากนี้ไป หากเข้าสู่ฤดูแล้งจริงๆ คงหนีไม่พ้นปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งทางเทศบาลฯ จะได้หาวิธีแก้ไขปัญหากันอีกครั้งต่อไป


ข่าวโดย : นายชาญณรงค์ ปันเต

ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน แถลงผลการดำเนินยุทธการปิดล้อม แหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด และการกวาดล้างอาชญากรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2557 โดยสามารถ ยึดยาบ้าได้ 40,000 เม็ด

ตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน แถลงผลการ กวาดล้าง แหล่งซ่องสุม อาชญากรรม ในพื้นที่ 8 อำเภอ พบผู้ต้องหา และ ของกลางหลายรายการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ จะมีการกลาดล้าง อาชญากรรม และ แถลงผลการดำเนินงานทุกเดือน

เช้าวันนี้ ( 21 กุมภาพันธ์ 2557 ) ที่กองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน นายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน , นายอาณัติ วิทยานุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน , พลตำรวจตรีชำนาญ รวดเร็ว รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 , พลตำรวจตรี จรัณฐค์ วรพัฒนานันน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน ได้ร่วมกัน แลงผลการ ดำเนินการกวาดล้าง อาชญากรรมและ ยาเสพติด ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2557 ตามนโยบายของรัฐบาล ในการเร่งปราบปรามยาเสพติด และ สิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ ในสังกัด ตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน ทุกหน่วย ในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้ บูรณาการ ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 , กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำพูน , ศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดลำพูน โดยมีเจ้าหน้าที่ ร่วมปฏิบัติการ จำนวน 500 นาย ซึ่ง ผลการ ตรวจค้น พบผู้ต้องหา จำนวน 59 ราย พบการกระทำผิด แบ่งเป็น ข้อหา ปลูกกัญชา 1 ราย , คดี พ.ร.บ. อาวุธปืน 10 ราย , คดียักยอกทรัพย์ 3 ราย , คดีลักทรัพย์ 3 ราย คดีฉ้อโกง 3 ราย และ ผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่า 3 ราย

ในส่วนพื้นที่ ของ ตำรวจภูธร แม่ทา จังหวัดลำพูน ก็ได้มีการตรวจค้น และ จับกุมผู้ต้องหารับจ้างขนส่งยาเสพติด โดยยึดของกลางเป็นยาบ้า จำนวน 40,000 เม็ด โดยเหตุเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 เจ้าหน้าตำรวจ ภูธร แม่ทา ได้ตั้งด่านตรวจรถ ที่ ถนนสายเชียงใหม่ลำปาง ต.ทาสบเส้า และ ได้รับแจ้งจาก แหล่งข่าว ว่ามี บุคคลรับจ้าง ขนยาเสพติด นั่งโดยสารมากับ รถประจำทาง เจ้าหน้าที่ได้ สังเกต เห็นรถโดยสาร บริษัท วินทัวร์ สายเชียงใหม่ – พิษณุโลก แล่นมาจึงขอเรียกตรวจ และ พบผู้โดยสารหญิง รายหนึ่ง มีอาการ พิรุธ น่าสงสัย จึงขอตรวจค้นกระเป๋า พบห่อ บรรจุสิ่งของต้องสงสัย จึงแกะดูภายใน พบยาบ้า จำนวน 40,000 เม็ด เงินสดอีกจำนวนหนึ่ง จึง สอบปากคำ ทราบชื่อภายหลังว่า น.ส. เพ็ญนภา เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก จึงควบคุมตัว เพื่อ ดำเนินการสอบสวนขยายผลที่มา ของยาเสพติด และ ปลายทางการขนส่งยาเสพติด ซึ่ง ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ สันนิษฐานว่า จะเป็นเครือข่าย ยาเสพติด ของ พันโท ยี่เซ
พลตำรวจตรีชำนาญ รวดเร็ว รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 กล่าวว่า ปัจจุบัน เครือข่าย ขนส่งยาบ้า พยายามใช้วิธีการ ขนส่งยาเสพติดที่จะ หลบ เลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ซึ่ง การ โดยสารปะปน มากับรถประจำ ทาง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ผู้ขนส่งยาเสพติด มักจะใช้เป็นประจำ จึงขอความร่วมมือ ประชาชน หากพบเห็น สิ่งปกติ สามารถ แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจภูธรภาค 5 ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 053 - 140 040 , สายด่วน 1386 หรือ อีเมลล์ nscpolice๕@gmail.com

นายสุวรรณ กล่าวว่าสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าว่า จังหวัดลำพูน ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการป้องกัน และ ปราบปราม , ยาเสพติดอย่างจริงจัง ทั้ง ด้านการกวาดล้าง จับกุม , ผู้กระทำผิดการนำผู้เสพ เข้าสู่กระบวนการบำบัด และ ติดตามผลการ ดำเนินงานทุกระยะ ซึ่ง จังหวัดลำพูน และ ตำรวจภูธร จังหวัดลำพูน รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมดำเนินการ และ จัดการแถลงผล ทุกเดือน .


ข่าวโดย : เชาวรินทร์ สอนปาละ

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน จัดอบรมสถานประกอบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประคมอาเซียน

สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน จัดอบรมแนวทางการจัดการระบบแรงงานสัมพันธ์ให้ก้าวทันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แก่สถานประกอบการในจังหวัดลำพูน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

เช้าวันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2557) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดการอบรม “แนวทางการจัดการระบบแรงงานสัมพันธ์ให้ก้าวทันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”พร้อมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายให้แก่ตัวแทนของสถานประกอบการในจังหวัดลำพูนจำนวนร่วม 100คน ที่หอประชุมการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและนายประเสริฐ ปาลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน บรรยายเรื่องความท้าทายและโอกาสการบริหารแรงงานในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ให้พร้อมรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี2558ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจังหวัดลำพูนมีสถานประกอบกิจการรวมทั้งสิ้น กว่า 1,800 แห่ง ลูกจ้างทั้งหมดรวม 73,715 คนและเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นศูนย์รวมการลุงทุน และแรงงานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดภาคเหนือ
 

ข่าวโดย : เชาวรินทร์ สอนปาละ

คณะตรวจนิเทศงาน สอจร.ติดตามความคืบหน้าโครงการ "ภาคประชาสังคมร่วมใจลดอุบัติภัยบนท้องถนน" ของจังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 นายนาวิน สินธุสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยคณะทีมงานนิเทศติดตามการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุ ทางถนน นำโดยนาย แพทย์ธีรวุฒิ โกมุทบุตร ประชุมนิเทศติดตามโครงการ "ภาคประชาสังคมร่วมใจลดอุบัติภัยบนท้องถนน"

ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ได้อนุมัติงบประมาณให้จังหวัดลำพูน โดยมีระยะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556- วันที่ 31 ตุลาคม 2557 โดยจังหวัดลำพูนมีแผนจัดกิจกรรมในการลดอุบัติภัยบนท้องถนนกว่า 7 แผนกิจกรรม โดยการบูรณาการทุกภาคส่วนของจังหวัดลำพูนเพื่อมุ่งลดการสูญเสียจากอุบัติภัยบนท้องถนน โดยการดำเนินการได้มีการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยจังหวัดลำพูนจะมุ่งเน้นการสวมหมวกนิรภัยโดยเป็นพิเศษโดยการปลูกฝังจิตสำนึกในเด็กเล็กตั้งแต่ระดับก่อนวัยอนุบาลซึ่งที่ผ่านมาศูนย์เด็กเล็กของ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสักทั้ง 5 แห่งนั้นเด็กและผู้ปกครองต่างใส่หมวกกันน็อค 100% ในการมารับส่งบุตรหลาน ซึ่งได้รับคำชมการคณะ สอจร


ข่าวโดย : เชาวรินทร์ สอนปาละ

ร.ผอ.สวท.ลำพูน ร่วมประชุมผู้บริหารสัญจร สปข.3 เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แจ้งข้อมูลข่าวสาร ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน

ร.ผอ.สวท.ลำพูน ร่วมประชุมผู้บริหารสัญจรสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แจ้งข้อมูลข่าวสาร ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานด้านต่างๆ

นางศรีอุไร นุกูลกิจบำรุง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นายเฉลิม แสร์ภู่ นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน และ นายฉลาด กันทะยัด นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน ร่วมประชุมผู้บริหารสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 ครั้งที่ 2/2557 ซึ่งเป็นการประชุมสัญจรไปที่ห้องประชุม สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางธารทิพย์ ทองงามขำ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เป็นประธานในการประชุม และ นายบุรี ดีชัยยะ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยอำเภอฝาง พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการหรือผู้แทนจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 10 สถานี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา จังหวัดลำปางและแม่ฮ่องสอน ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่รางวัล เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัลการแข่งขันการประกวดรายการวิทยุ บ้านนี้มีสุข ตามโครงการพัฒนาสถานีวิทยุของรัฐเพื่อสร้างคลื่นต้นแบบของวิทยุสาธารณะของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ของกรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำปาง

การประชุมผู้บริหารสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จัดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยงานในสังกัดได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แจ้งข้อมูลข่าวสาร ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่เป็นภารกิจพื้นฐาน ภารกิจตามแผนงาน โครงการ ประเด็นยุทธศาสตร์ สนองนโยบายรัฐบาล กรมประชาสัมพันธ์ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ พัฒนาองค์กร และปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย



ข่าวโดย : ชาลิสา วัฒนะโชติ

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เยี่ยม บริษัท นามิกิ พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

นายสุวรรณ กล่าวสุนทรผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนนำหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงเยี่ยมชมโรงงานบริษัท นามิกิ พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัดเพื่อรับทราบแผนดำเนินงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม

เช้าวันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2557)  นายสุวรรณ กล่าวสุนทรผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนนำหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงเยี่ยมชมโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพื่อรับทราบแผนดำเนินงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม และรบฟังปัญหาในการประกอบกิจการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้เยี่ยมชม บริษัท นามิกิ พรีซิชั่น ตั่งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ต.บ้านกลาง อ.เมืองจ.ลำพูน ซึ่งเป็นโรงงานผลิต มอเตอร์แบบสั่นขนาดเล็ก มอเตอร์ขนาดเล็ก และส่วนประกอบเครื่องมือแพทย์ มีพนักงานจำนวน 546 คน โดยเปิดมาได้ 23ปี และจ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน และที่ผ่านมาบริษัทไม่มีปัญหาด้านการขึ้นจ่ายขั้นต้ำ 300 บาท นอกจากนี้มีค่าทำงานล่วงเวลา มีข้าวบริการ เครื่องแบบพนักงาน และสวัสดิการอื่น ๆ


ข่าวโดย : เชาวรินทร์ สอนปาละ

ทต.แม่แรง จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง

นายทวี ณ ลำพูน นายกเทศมนตรีตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กล่าวว่า ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ระหว่างเดือนธันวาคม–พฤษภาคม มักจะเกิดปัญหาไฟป่าและหมอกควันขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ริมทางหลวง ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรป่าไม้และป่าเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการระดมเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และยานพาหนะเข้าระงับเหตุการณ์ดับไฟป่าเป็นจำนวนมากแล้ว ไฟป่ายังก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันตามมา โดยเฉพาะฝุ่นละอองที่เกิดจากควันไฟ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี เกิดลักษณะฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น และสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ตลอดจนเป็นการป้องกันไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ตำบลแม่แรง งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลแม่แรง จึงจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าตำบลแม่แรง ประจำปี 2557 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง

หากประชาชนต้องการแจ้งข้อมูลหรือขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โทรศัพท์หมายเลข 0-5355-6732 หรือสายตรงงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 0-5352-1244 ตลอด 24 ชั่วโมง



ข่าวโดย : ชาลิสา วัฒนะโชติ

โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ 1 จัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด Sport day 2013 มุ่งส่งเสริมการออกกำลังกายป้องกันปัญหายาเสพติด

ที่สนามกีฬาโรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ 1 ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด Sport day 2013 ประจำปีการศึกษา 2556 โดยโรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ 1 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาทักษะทางด้านกีฬา ให้นักเรียนมีประสบการณ์ด้านการแข่งขัน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา เป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดภายใน และภายนอกสถานศึกษา โดย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ กล่าวว่า การกีฬานับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา และมีทักษะที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ การเป็นนักกีฬาที่ดีจะต้องหมั่นฝึกฝน มีความมานะพยายามอยู่เสมอถึงจะเป็นผู้ชนะได้ แต่ชนะในที่นี้หมายถึง ชนะใจตัวเอง ชนะใจคู่แข่งขัน และชนะใจคนดู ถึงจะเรียกว่า เป็นผู้ชนะที่แท้จริง

การเล่นกีฬาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมทางร่างกายในการดำเนินกิจกรรมอื่นต่อไป อีกทั้งช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจ ปลูกฝังให้รักการเล่นกีฬา รักความสามัคคี เป็นคนที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ส่วนในด้านความสามารถทางด้านกีฬา ความสามารถในด้านการเชียร์ ทำให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางด้านกีฬา และด้านเชียร์ได้มีโอกาสแสดงออกและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในโอกาสต่อไปได้ เกิดผลดีต่อสังคม ซึ่งเด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ ไม่ก่อเกิดปัญหาการติดยาเสพติดหรือมั่วสุมอบายมุข



ข่าวโดย : ชาลิสา วัฒนะโชติ

จ.ลำพูน เปิดยุทธการปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ของกลางเป็นยาบ้ากว่า 4 หมื่นเม็ด

ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน นายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นายอาณัติ วิทยานุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พลตำรวจตรี ชำนาญ รวดเร็ว รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พลตำรวจตรี จรัณฐค์ วรพัฒนานันน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน แถลงผลการเปิดยุทธการปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด 24 เป้าหมาย ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ตามนโยบายรัฐบาลด้านการเร่งรัดปราบปรามยาเสพติดให้โทษ

โดยตำรวจภูธรจังหวัดลำพูนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และชุดปฏิบัติการ ดำเนินการปิดล้อมตรวจค้นและยึดทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการกับกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำพูน ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดลำพูน รวม 500 นาย ผลการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ จำนวน 59 คน เป็นคดียาเสพติด จำนวน 59 ราย 59 คน ข้อหาผลิตกัญชา จำนวน 1 ราย 1 คน คดี พ.ร.บ.อาวุธปืน จำนวน 10 ราย 10 คน คดียักยอกทรัพย์ จำนวน 3 ราย 3 คน ลักทรัพย์ จำนวน 3 ราย 3 คน ฉ้อโกง จำนวน 3 ราย 4 คน ผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่า จำนวน 3 ราย 3 คน ร่วมกับพวกที่หลบหนีลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นฯ จำนวน 1 ราย 1 คน ของกลางเป็นยาบ้า 41,838.5 เม็ด อาวุธปืน 10 กระบอก เครื่องกระสุนปืน ขนาด .22 จำนวน 17 นัด สร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท 2 เส้น โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เครื่องเล่นดีวีดีพร้อมอุปกรณ์ 1 ชุด รถยนต์ 3 คัน รถจักรยานยนต์ 2 คัน และเงินล่อซื้อ 500 บาท

รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 กล่าวว่า ตำรวจภูธรภาค 5 ขอความร่วมมือจากประชาชนในการแจ้งเบาะแสผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อจะได้ดำเนินการปราบปรามจับกุม คืนความสุขให้กับสังคมไทยต่อไป โดยสามารถแจ้งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ตำรวจภูธรภาค 5 ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-5314-0040 สายด่วน 1386 หรือทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ E-mail: nscpolice5@gmail.com



ข่าวโดย : ชาลิสา วัฒนะโชติ

“มีนาพา Shop : Otop นครสวรรค์ สร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน” 4 – 8 มีนาคม 2557

จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน "มีนาพา Shop : Otop นครสวรรค์ สร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน” 4 – 8 มีนาคม 2557 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า จังหวัดฯ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฯ และเครือข่ายผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน "มีนาพา Shop : Otop นครสวรรค์ สร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดฯ และกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีของจังหวัดฯ ได้นำสินค้าคุณภาพ ระดับสุดยอดของจังหวัดนครสวรรค์ มาจำหน่ายแก่ประชาชน นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อ เลือกชม กว่า 150 บูธ สินค้าระดับ 3 – 5 ดาว กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 4 – 8 มีนาคม 2557 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ 5 วัน 5 คืน มีกิจกรรมการแสดงบนเวทีให้ชุมทุกคืน จากน้องๆเยาวชนจากสถานศึกษา ทุกระดับ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โรงรียนแม่วงก์พิทยาคม โรงเรียนลาดยาววิทยาคม และ พิธีเปิดงานจัดในค่ำวันที่ 4 มีนาคม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมการแสดงจากมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

จังหวัดฯ เยี่ยมเยียนประชาชน ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก นครสวรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นำส่วนราชการออกให้บริการประชาชน พร้อมรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ ตามโครงการเยี่ยมเยียนประชาชน และบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 นาฬิกา หน่วยงานราชการเปิดให้บริการด้านทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนรถ เกษตร ปศุสัตว์ สหกรณ์ ฝึกอาชีพ ซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตร การจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดคุณภาพดี และกิจกรรมอื่นที่หลากหลาย

จังหวัดเพชรบูรณ์ เตรียมรับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จทรงเปิดศูนย์ 3 วัย

จังหวัดเพชรบูรณ์เตรียมรับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จทรงเปิดศูนย์ ๓ วัย

จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรรมการผู้เกี่ยวข้อง และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมประชุมหารือเพื่อดำเนินงานเตรียมการรับเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ที่เสด็จทรงเปิดศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เกิดความเรียบร้อย และสมพระเกียรติ

วันนี้ ๒๑ ก.พ. ๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ที่ห้องประชุม ๑ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ มอบหมายให้ นายคณีธิป บุณยเกตุ รอง ผวจ.เพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุมการติดตามผลการดำเนินงานเตรียมการรับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๗ ที่เสด็จทรงเปิดศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ และเยี่ยมราษฎร ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.๐๐ น.

สถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอาคารที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างขึ้นเป็นพื้นที่ดำเนินงานโครงการศูนย์ ๓ วัยฯ เพื่อสนองพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวเพิ่มเติมว่าควรมีศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเน้นความต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นวงจรของทุกช่วงวัย ภายใต้การดำเนินงานหลักเหตุผล ตั้งแต่การสร้างความคิดรวบยอด การกำหนดคำจำกัดความที่ชัดเจนและการถ่ายทอดลงสู่ระดับต่างๆ ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ น้อมนำมาดำเนินการในรูปแบบของ ศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเน้นความต่อเนื่องเชื่อมโยงทุกช่วงวัย สำหรับการดำเนินงานเตรียมความพร้อม ในขณะนี้ทางจังหวัดได้เตรียมความพร้อมในการรับเสด็จด้านการรักษาความปลอดภัย สถานที่ และเส้นทางการรับเสด็จพร้อมทุกฝ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีติดตามโครงการครัวไทยสู่ครัวโลกและการสู่ประชาคมอาเซี่ยนจังหวัดเพชรบูรณ์

เช้าวันนี้ (21 ก.พ.57)  นางสาวอัมพวัน เจริญกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำเขตตรวจที่ 17 ได้ตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เกี่ยวกับโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และโครงการสู่ประชาคมอาเซี่ยนในปี 2558 ซึ่งจากการติดตามในประเด็นครัวไทยสู่ครัวโลกทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานสินค้า เป็นอาหารทั้งด้านเกษตร และสินค้าต่าง ๆ ให้ได้ระดับมาตรฐานพื้นฐานอย่าง จีเอ็มพี และ อย. ซึ่งเป็นตัวย่อของผลิตภัณฑ์มาตารฐานต่าง ๆ แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการทำความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเหล่านี้มีประโยชน์อย่างไรกับประชาชนผู้บริโภค กับผู้ประกอบการ เพราะฉะนั้นทางสำนักนายกฯ จะนำส่วนหนึ่งไปเสนอกับหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นเจ้ากระทรวงในการทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ของตัวย่อทางด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำไมต้องมี มีแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์คือมีสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็จะได้จำหน่ายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น หลาย ๆ อย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี แล้วก็เป็นการสร้างมาตรฐาน สินค้าของเราให้มีความยั่งยืน พร้อมที่จะเปิดตัวไปสู่ตลาดระดับโลก ระดับอาเซียนต่อไป

ในขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับอาเซียนทางจังหวัดเพชรบูรณ์ค่อนข้างที่จะเน้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์มาก มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ และความสมบูรณ์ หลายจุด แต่ว่าขณะนี้เข้าใจว่ายังขาดในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ไปสู่เวทีภายนอก แล้วก็เวทีระดับนานาชาติที่จะให้คนในต่างประเทศได้รู้จักเพชรบูรณ์ เหมือนกับที่จังหวัดภูเก็ตเป็นที่ติดปากของนักท่องเที่ยว ถ้าจังหวัดเพชรบูรณ์ไปถึงระดับนั้นจังหวัดเพชรบูรณ์จะเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้นรายได้กับประชาชนก็จะมีมากขึ้น โครงการอาเซียนสามารถเชื่อมต่อได้กับโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในพื้นที่ของเราก็ต้องมาจับจ่ายสินค้าของเราซึ่งเป็นสินค้าพื้นถิ่น เพราะฉะนั้นก็ต้องมีนวัตกรรมที่ทำให้สองโครงการนี้เชื่อมต่อกันแล้วก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในท้องที่จริง ๆ

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สิ่งที่จะฝากไว้ อยากให้คนในท้องที่สนใจในเรื่องของเกษตรปลอดสาร เพราะเกษตรปลอดภัยเป็นยุทธศาสตร์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์กำหนดไว้แล้ว แต่ดูแล้วเกษตรกรที่มาร่วมโครงการอาจจะยังมาเพียงพอ อาจจะยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเดินไปด้วยดี เรื่องนี้จริง ๆ แล้วหลายจังหวัดที่ผ่านมากำลังเร่ง และมีเกษตรกรเข้ามาร่วมโครงการเป็นจำนวนมากในการทำเกษตรปลอดภัย เพราะกำลังอยู่ในความนิยมของคนทั้งโลก ว่าต้องการอาหารที่ถูกสุขลักษณะปลอดภัยจากสารเคมี เมื่อเราผลิตขึ้นมาได้ราคาจำหน่ายจะสูงขึ้น ดังนั้นจึงอยากจะให้เกษตรกรของจังหวัดเพชรบูรณ์หันมาให้ความสนใจและลองปรับตัวให้ความร่วมมือกับราชการที่เข้าไปช่วยเหลือท่าน หลังจากนั้นท่านจะก้าวเดินไปในเวที ทำมาค้าขาย เวทีเศรษฐกิจของโลกได้อย่างภาคภูมิ และยั่งยืนเป็นความปลอดภัยต่อตัวท่านเองและผู้บริโภคด้วย

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก จัดกิจกรรมโครงการอนุบาลแฟร์ เพื่อส่งเสริมให้น้องๆ นักเรียน รู้จักการคิดวิเคราะห์ แบบวิทยาศาสตร์ และเปิดเวทีให้น้องๆ นักเรียน ได้แสดงโชว์ความสามารถ

เมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก นาย บุญทรง  แทนธานี นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการอนุบาลแฟร์  เพื่อเป็นการพัฒนาส่งเสริม ให้น้องๆ นักเรียนในระดับชั้น อนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ ด้วยหลักการและเหตุผล  จากการเข้าฐานปฎิบัติการต่างๆ  เป็นการฝึกทักษะการคิด และปูพื้นฐานที่ดี ให้กับเยาวชน

สำหรับบรรยากาศในกิจกรรม   นอกจากจะมีการเข้าฐานร่วมกิจกรรมแล้ว  ทางโรงเรียนยังได้จัดเวที ให้น้องๆ เยาวชน ได้ผลัดกันขึ้น โชว์ความสามารถ ทั้งในด้านการพูด  การเต้น  ซึ่งน้องๆ แต่ละคน ต่าง งัดลีลา โชว์ สเต็ปกันแบบไม่มีใครยอมใคร ซึ่งได้รับเสียงตบมือ จากคณะครูและผู้ปกครอง  ที่เข้ามาชมบุตรหลานแสดงความสามารถในกิจกรรมครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

เหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลกเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงต้อนรับคณะเหล่ากาชาดจาก 6 จังหวัดในจัดการประชุมเหล่ากาชาดจงหวัดภาค 9 ครั้งที่ 1/2557

เมื่อค่ำวานนี้ ( 20 ก.พ.57 ) ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก จัดงานเลี้ยงต้อนรับ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด และคณะเหล่ากาชาดจังหวัดในภาค 9 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเข้าร่วมประชุมเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 9 ครั้งที่ 1/2557 ซึ่งจังหวัดพิษณุโลก ได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งในการจัดเลี้ยงครั้งนี้ สมาชิกเหล่ากาชาดของแต่ละจังหวัดต่างแต่งกายด้วยชุดนานาชาติของแต่ละประเทศในในอาเซียน เข้าร่วมงานสร้างสีสันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เหล่ากาชาดจังหวัดภาค 9 ทั้ง 6 จังหวัด ยังได้จัดชุดแสดงจังหวัดละ 1 ชุด เข้าร่วมแสดงภายในงานด้วย พร้อมกันนี้ทางเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลกยังได้จัดให้มีการจับรางวัลมอบให้กับผู้โชคดีตลอดงาน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้ขึ้นเวทีขับร้องเพลงให้ผู้เข้าร่วมงานเลี้ยง ได้ออกมาเต้นรำ สร้างสีสันบรรยากาศการจัดงานเลี้ยงให้เป็นไปอย่างสนุกสนานครื้นเครง สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก

จังหวัดพิษณุโลก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาจากสาธารณภัยระดับจังหวัด ประจำปี 2557

วันนี้ (21 ก.พ.57) ที่ห้องประชุม 772 ศาลากลางชั้น 7 จังหวัดพิษณุโลก นายวัฒนะ กันนะพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาจากสาธารณภัยระดับจังหวัด ปี 2557 ซึ่งการประชุมดังกล่าวสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลกจัดขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยของจังหวัดพิษณุโลก ในการเผชิญเหตุสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน รวดเร็ว เป็นรูปธรรม อีกทั้งเป็นการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันเหตุการณ์ ตลอดจนฟื้นฟูผู้ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

 โดยเชิญคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาจากสาธารณภัย ระดับจังหวัด ประจำปี 2557 จำนวนกว่า 70 คน เข้าร่วมประชุม โอกาสเดียวกันนี้ ได้จัดให้มีการบรรยาย โดยวิทยากรจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในหัวข้อเรื่องการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ความเป็นมาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เรื่องบทบาทหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมพิจารการจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินแก้ไขปัญหาจากสาธารณภัยระดับจังหวัด ประจำปี 2557 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตามประเภทภัย อาทิ อัคคีภัย แผ่นดินไหว พร้อมทั้ง มอบหมายภารกิจหน้าที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเสริมกำลังและบูรณาการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 รับมอบอาคารอเนกประสงค์คอบบร้าโกลด์ 14

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในการรับมอบอาคารอเนกประสงค์คอบร้าโกลด์ จาก น.อ.มานัต วงษ์พาทย์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ผู้แทนกองทัพอากาศ, ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธินที่ 3 สหรัฐอเมริกา และผู้บัญชาการกองรักษาความปลอดภัยกองทัพบกสิงคโปร์ ก่อนส่งมอบต่อให้กับนายเอนก ธาราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และนางสุนีย์ ไวกสิกรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตะแบกงาม ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนของการฝึกคอบร้าโกลด์ 14 ซึ่งเป็นการฝึกร่วมของกองทัพไทยและกองทัพมิตรประเทศรวมทั้งสิ้น 8 ชาติที่เข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่11 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นเดียวความกว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร สำหรับไว้จัดกิจกรรมของชุมชน โดย โรงเรียนในความรับผิดชอบของ สพป.พล.1 ได้รับ 2 โครงการและส่งมอบเรียบร้อยแล้วคือ รร.บ้านตระแบกงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และ รร.วัดท่าตะเคียน ต.จอมทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

เหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก เป็นเจ้าภาพประชุมเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 9 ครั้งที่ 1/2557 รวม 6 จังหวัด สนองนโยบายสภากาชาดไทย

เช้าวันนี้ (21 ก.พ.57 ) ที่โรงแรมอัมรินทร์ลากูล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานเปิดการประชุม เหล่ากาชาดจังหวัด ภาค 9 ครั้งที่ 1/2557 ซึ่งได้กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งจังหวัดพิษณุโลกได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สำหรับเหล่ากาชาดในภาค 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 6 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดพิจิตร น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ และ ซึ่งการประชุมเหล่ากาชาดในครั้งนี้เป็นไป ตามข้อบังคับสภากาชาดไทย ที่กำหนดให้แต่ละภาคมีการจัดประชุมเหล่ากาชาดจังหวัด ในหนึ่งปี ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับข้างต้น เหล่ากาชาดจังหวัด ภาค 9 จึงกำหนดจัดประชุมเหล่ากาชาดจังหวัด ภาค 9 ขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร นโยบายต่างๆ ของสภากาชาดไทย และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นการพบปะสังสรรค์กันในหมู่มวลสมาชิก การประชุมในครั้งนี้ ยังจะเป็นการเสริมสร้าง ความรักสามัคคี เป็นอันหนึ่งเดียวกันของบรรดาสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดใน ภาค 9 ซึ่งในวันนี้มีกรรมการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด ภาค 9 เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน

อบจ.พิษณุโลกจัดการประชุมสัมมนาวิชาการ อบจ. 17 จังหวัดภาคเหนือ ภายใต้หัวข้อ อบจ.ยุคใหม่ ก้าวไกลสู่ ASEAN “ Modern PAO : Moving forward to ASEAN ”

เช้าวันนี้ ( 21 ก.พ.57 ) ที่หอประชุมบึงราชนก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จัดการประชุมสัมมนาวิชาการภายใต้หัวข้อ อบจ.ยุคใหม่ ก้าวไกลสู่ ASEAN " Modern PAO : Moving forward to ASEAN ” ซึ่งการประชุมสัมมนาวิชาการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเองเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน สร้างองค์ความรู้และความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ และการปรับตัวของระบบราชการไทยและข้าราชการส่วนท้องถิ่นต่อประชาคมอาเซียน ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำไปใช้ในแผนงาน แผนพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อเป็นการบูรณาการทิศทางการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยการประชุมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานจ้างสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 800 คน