เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 นายประสบสุข ดีอินทร์ รอง ผอ. สพป.พล.1 เป็นประธานเปิดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สพป.พล.1และ สพป.พล.2 จำนวน 80 คน ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557
รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกรับมอบหนังสือและอุปกรณ์กีฬาจากบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มหาชน ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีสยามสปอร์ต
เช้าวันนี้ ( 21 เม.ย. 57 ) ที่ห้องรับรองชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นายวัฒนะ พันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในการรับมอบหนังสือ 40 ปี ภาพนี้มีเรื่องเล่า และอุปกรณ์กีฬา จากผู้แทนบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มหาชน ตามโครงการกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี สยามสปอร์ต ซึ่งโครงการดังกล่าว บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มหาชน ซึ่งเป็นผู้นำในด้านธุรกิจกีฬาครบวงจร ผู้ผลิตสื่อกีฬาต่างๆ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายการโทรทัศน์ เว็บไซด์ และผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ รวมถึงผู้ผลิตสื่อบันเทิงชั้นนำในประเทศไทยและได้นำเสนอข่าวสาร สาระและความบันเทิงให้แก่ชาวไทยมากว่า 4 ทศวรรษ จัดขึ้น เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม ด้วยการมอบอุปกรณ์กีฬาต่างๆให้กับสถานศึกษาที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ รวมทั้งหนังสือ 40 ปี ภาพนี้มีเรื่องเล่า ที่เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆของวงการกีฬาในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ให้แก่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ และจังหวัดพิษณุโลกเป็นหนึ่งในในจังหวัดที่ทางบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มหาชน นำมามอบให้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่เด็กและเยาวชนต่อไป ซึ่งหลังจากรับมอบหนังสือ 40 ปี ภาพนี้มีเรื่องเล่า และอุปกรณ์กีฬา จากผู้แทนบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด มหาชน แล้วทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกได้กล่าวขอบคุณทางบริษัท พร้อมกล่าวว่า การได้รับหนังสือในครั้งนี้ทางจังหวัดพิษณุโลกจะได้นำไปมอบให้กับห้องสมุดในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อจะได้เป็นหนังสือที่ไว้ใช้ในการค้นคว้าศึกษาหาข้อมูลต่อไป ส่วนอุปกรณ์กีฬาบางส่วนนั้นทางจังหวัดทางจังหวัดจะได้นำไปมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนและบางส่วนจะนำไปมอบให้กับโรงเรียนในการออกหน่วยบริการประชาชน ตามโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน ในพื้นที่ของอำเภอต่างๆต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกร่วมหารือแนวทางในการช่วยเหลือและให้ความเป็นธรรมในคดีเด็กชายวัย 13 ปี จมน้ำเสียชีวิต
เช้าวันนี้ ( 21 เม.ย. 57 ) ที่ห้องประชุมพระพุทธชินราช ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี และนางญาณี เลิศไกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พ.ต.อ. น.พ.ภวัต ประทีปวิศรุต รองผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เดินทางมาร่วมหารือแนวทางในการให้ความช่วยเหลือและให้ความเป็นธรรมแก่ครอบครัวของนางกัลยา เกตุนาวา และนายบุญศักดิ์ ธรรมานุพัฒน์ มารดาและบิดาของเด็กชายศุภชัย หรือน้องต๊อบ หลังจากเด็กชายดังกล่าวจมน้ำเสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีนายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ด้านนางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่าจากกรณีที่เด็กชายเด็กชายศุภชัย หรือน้องต๊อบ ธรรมมานุพัฒน์ อายุ 13 ปี จมน้ำเสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ผ่านมาท่ามกลางความโศกเสร้าของนางกัลยา เกตุนาวา และนายบุญศักดิ์ ธรรมานุพัฒน์ มารดาและบิดา ที่ต้องสูญเสียลูกชายไปอย่างไม่มีวันกลับ และในระหว่างงานสวดศพคืนสุดท้ายมีแขกเหรื่อมาร่วมแสดงความเสียใจจำนวนมาก อยู่ๆเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันโรงศพของน้องต๊อบเกิดสั่นและตกลงมาจากแท่นวาง ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานต่างพากันตกใจและพูดกันไปต่างๆนาๆ บางคนพูดว่าเห็นวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งอยู่ที่ข้างบ่อน้ำวันเกิดเหตุและได้ยินเสียงร้องจนต่อมาเพื่อนของน้องต๊อบก็วิ่งมาบอกให้ไปช่วยเหลือเพื่อนที่จมน้ำ หายไปในบ่อ ด้วยท่าทางตกใจและเหมือนหวาดกลัวอะไรบางอย่าง ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยมาช่วยกันงมหาได้สักพักก็พบร่างไร้วิญญาณของน้องต๊อบแต่ไม้มีใครกล้าพูดอะไร ต่อมามีพยานที่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดในวันเกิดเหตุมาเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้นางกัลลยา และนายบุญศักดิ์ฟังว่าน้องต๊อบถูกทำร้ายร่างกาย ตบหน้า บีบคอแล้วแล้วยกตัวขึ้นสูงแม้กระทั่งน้องต๊อบยกมือไหว้ร้องขอให้หยุดก็ไม่ยอมปล่อยจากนั้นก็ปล่อยตัวลงกระแทกกับพื้น ทั้งยังเอาไม้ตีที่ลำตัวอย่างแรงก่อนจะจับโยนบ่อน้ำจนจมน้ำเสียชีวิต บริเวณบ่อดิน หน้าทางเข้าหมู่บ้านบัวสีเงิน หมู่ที่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แต่ที่ผ่านมาไม่กล้าพูดให้ใครฟังเพราะถูกขู่ฆ่าเอาไว้ แต่คิดว่าน้องต๊อบคงต้องการเรียนร้องความเป็นธรรมจึงตัดสินใจที่จะพูดความจริง จากนั้นนางกัลยาจึงร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน เรียกร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเอาตัวคนผิดที่ทำร้ายบุตรชายมาดำเนินคดีให้ได้ เพราะผู้ต้องสงสัยรายนี้เป็นพี่ชายของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มาชอบพอบุตรชาย และตนเองสงสัยจึงไปเปิดดูเฟสบุ๊คของบุตรชายก็พบว่ามีข้อความถูกขู่ฆ่าอีกด้วย จึงได้พยายามหาหลักฐาน พยานมาให้ตำรวจ แต่คดียังไม่มีความคืบหน้า สองสามีภรรยาจึงจึงตัดสินใจเดินทางเข้าร้องทุกข์ต่อนางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ว่าการเสียชีวิตของบุตรชายมีเงื่อนงำจึงขอให้นางปวีณาช่วยให้ความเป็นธรรมด้วย ด้านนางปวีณา หงสกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไดกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าได้ประสานกับพล.ต.ท. นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจในการนำศพเด็กชายศุภชัยหรือน้องต๊อบ มาตรวจชันสุตรหาสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง โดยมี พ.ต.อ. น.พ.ภวัต ประทีปวิศรุต รองผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้ผ่าพิสูจน์ศพ และผลจากการผ่าชันสูตรศพเบื้องต้น พบว่ากล้ามเนื้อชายโครงสีข้างช้ำเป็นแถบทั้งสองข้าง พบเลือดออกรอบเยื่อหุ้มไต 2 ข้าง หน้าท้องเขียวไม่ชัดเจนว่าเกิดจากการเน่าอย่างเดียวหรือช้ำร่วมกันด้วยหรือไม่ พร้อมกับได้ประสานกับ พล.ต.ต.ชฎิล พรหมไพบูลย์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกเจ้าของพื้นที่สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวของเด็กชายผู้เสียชีวิตด้วย นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เข้าไปดูแลคดีนี้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย
เกิดพายุฤดูร้อนพัดต้นไม้ใหญ่หักโค่นและบ้านเรือนพังหลายหลังในตำบลวังชมภู
ช่วงค่ำวานนี้ (20 เม.ย.) เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ในหลายพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ จากการสำรวจเบื้องต้นได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดบ้านเรือนราษฎรพังเสียหายหลายหลังคาเรือน ที่เสียหายหนัก หลังคาถูกลมพัดหายทั้งหลัง มีอยู่ 2 หลัง ที่บ้านยางหัวลม ตำบลวังชมพู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ต้นไม้ใหญ่ภายในหมู่บ้านโค่นล้มลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง อบต.วังชมภู ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจความเสียหาย และส่งรถกระเช้าเพื่อให้การช่วยเหลือแล้ว ส่วนที่วัดช้างเผือก หรือวัดหลวงพ่อทบ ต้นไม้ใหญ่ได้หักโค่นลงมา เจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันขนย้ายออกแล้วเช่นกัน รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ได้แก่ หมู่ที่ 11 หมู่ 6 หมู่ 7 ตำบลวังชมภู
ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ออกแจ้งเตือนราษฎร ให้ระมัดระวังการเกิดพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักในช่วงนี้ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศไปแล้ว หากได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย จังหวัดพร้อมให้การช่วยเหลือทันนี้
ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ออกแจ้งเตือนราษฎร ให้ระมัดระวังการเกิดพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักในช่วงนี้ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศไปแล้ว หากได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย จังหวัดพร้อมให้การช่วยเหลือทันนี้
ขอเชิญร่วมสั่งจองวัตถุมงคลรุ่นสร้างหลวงพ่อทบองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
วัดพระพุทธบาทชนแดน ร่วมกับส่วนราชการ พุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์ คหบดี พ่อค้า ประชาชน ผู้มีจิตศรัทธา และเลื่อมใสหลวงพ่อทบ (พระครูวิชิตพัชราจารย์) เทพเจ้าผู้มีวาจาสิทธิ์แห่งเมืองเพชรบูรณ์ พร้อมใจกันจัดสร้างหลวงพ่อทบองค์ใหญ่ ประดิษฐาน ณ วัดพระพุทธบาทชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา และเป็นที่เคารพ สักการะบูชา เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนตลอดจนพัฒนาวัดพระพุทธบาทชนแดน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
รูปแบบการก่อสร้างหลวงพ่อทบองค์ใหญ่พร้อมฐานกว้าง 24 เมตร ยาว 21 เมตร พร้อมฐานชั้น 2 ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 1 เมตร รูปหล่อลอยองค์เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตักกว้างเฉลี่ย 8.6 เมตร พร้อมทั้งสร้างวัตถุมงคลเพื่อสมบทุน อาทิ พระบูชารูปหล่อหลวงพ่อทบ หน้าตัก 9 นิ้ว 7 นิ้ว 5 นิ้ว รูปหล่อองค์ลอยเนื้อทองคำ และเสื้อยันต์ ซึ่งจะมีพิธีปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีล นั่งปลุกเสกอธิฐานจิต เช่น พระเทพรัตนกวี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ พระธรรมวราลังการ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4 หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ หลวงพ่อเวิน วัดน้ำวิ่ง หลวงพ่อบุญมี วัดม่วงคัน หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง หลวงพ่อเสือดำ วัดศรีนวลธรรมวิมล หลวงพ่อพวง เจ้าอาวาสวัดน้ำพุสามัคคี หลวงพ่อหวั่น เจ้าอาวาสวัดคลองคูณ หลวงพ่อบุญช่วย วัดวังทอง หลวงปู่อ่ำ วัดสันติวรญาณ หลวงพ่อดิเรก วัดภูพระธาตุ หลวงพ่อพิมพ์ วัดพฤกษะวัน หลวงพ่อโกศล วัดทับคล้อ หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดห้วยตูมสุทธาวาส หลวงพ่อเด่น วัดโพธิ์กลาง และฆราวาส เสือใบ เสือมเหศวร โดยจะมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557 นี้
รายการวัตถุมงคล รูปหล่อหลวงพ่อทบ เนื้อโละ หน้าตัด 9 นิ้ว 4,999 บาท ขนาด 7 นิ้ว 2,999 บาท ขนาด 5 นิ้ว 1,499 บาท รูปหล่อลอยองค์ เนื้อทองคำประมาณ 1 บาท ราคา 39,999 บาท เนื้อเงิน 50 สตางค์ 999 บาท เนื้อทองเหลือง 199 บาท พระกริ่งเพชรกลับ 499 บาท รูปหล่อบูชาหน้ารถ 399 บาท เสื่อยันต์ สร้าง 2,000 ตัว ราคาตัวละ 1,999 บาท แหวนทองเหลือง 99 บาท หัวแหวนลงยาสีมงคลตามวัน 1 ชุด 8 สี ชุดละ 4,000 บาท หัวแหวนอัลปาก้าลงยา ชุดละ 1,600 บาท สอบถามสั่งจองได้ที่ ที่ว่าการอำเภอชนแดน เทศบาลตำบลชนแดน โทร.056-761-324
รูปแบบการก่อสร้างหลวงพ่อทบองค์ใหญ่พร้อมฐานกว้าง 24 เมตร ยาว 21 เมตร พร้อมฐานชั้น 2 ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 1 เมตร รูปหล่อลอยองค์เนื้อโลหะ ขนาดหน้าตักกว้างเฉลี่ย 8.6 เมตร พร้อมทั้งสร้างวัตถุมงคลเพื่อสมบทุน อาทิ พระบูชารูปหล่อหลวงพ่อทบ หน้าตัก 9 นิ้ว 7 นิ้ว 5 นิ้ว รูปหล่อองค์ลอยเนื้อทองคำ และเสื้อยันต์ ซึ่งจะมีพิธีปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีล นั่งปลุกเสกอธิฐานจิต เช่น พระเทพรัตนกวี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ พระธรรมวราลังการ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4 หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ หลวงพ่อเวิน วัดน้ำวิ่ง หลวงพ่อบุญมี วัดม่วงคัน หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง หลวงพ่อเสือดำ วัดศรีนวลธรรมวิมล หลวงพ่อพวง เจ้าอาวาสวัดน้ำพุสามัคคี หลวงพ่อหวั่น เจ้าอาวาสวัดคลองคูณ หลวงพ่อบุญช่วย วัดวังทอง หลวงปู่อ่ำ วัดสันติวรญาณ หลวงพ่อดิเรก วัดภูพระธาตุ หลวงพ่อพิมพ์ วัดพฤกษะวัน หลวงพ่อโกศล วัดทับคล้อ หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดห้วยตูมสุทธาวาส หลวงพ่อเด่น วัดโพธิ์กลาง และฆราวาส เสือใบ เสือมเหศวร โดยจะมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557 นี้
รายการวัตถุมงคล รูปหล่อหลวงพ่อทบ เนื้อโละ หน้าตัด 9 นิ้ว 4,999 บาท ขนาด 7 นิ้ว 2,999 บาท ขนาด 5 นิ้ว 1,499 บาท รูปหล่อลอยองค์ เนื้อทองคำประมาณ 1 บาท ราคา 39,999 บาท เนื้อเงิน 50 สตางค์ 999 บาท เนื้อทองเหลือง 199 บาท พระกริ่งเพชรกลับ 499 บาท รูปหล่อบูชาหน้ารถ 399 บาท เสื่อยันต์ สร้าง 2,000 ตัว ราคาตัวละ 1,999 บาท แหวนทองเหลือง 99 บาท หัวแหวนลงยาสีมงคลตามวัน 1 ชุด 8 สี ชุดละ 4,000 บาท หัวแหวนอัลปาก้าลงยา ชุดละ 1,600 บาท สอบถามสั่งจองได้ที่ ที่ว่าการอำเภอชนแดน เทศบาลตำบลชนแดน โทร.056-761-324
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เตือนประชาชนระมัดระวังพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 20-23 เม.ย.นี้
ตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 20-23 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลงในระยะนี้ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ข้อควรระวังในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลงในระยะนี้ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ข้อควรระวังในช่วงวันที่ 24-26 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
พมจ.กำแพงเพชร จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ วันแห่งครอบครัว และสมัชชาครอบครัว
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกำแพงเพชรจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ วันแห่งครอบครัว และสมัชชาครอบครัว จังหวัดกำแพงเพชร ที่หอประชุมโรงเรียนวัดคูยาง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยมี นายสุรพล วาณิชเสนีผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดกิจกรรม สถานการณ์ทางสังคมได้ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ อันเป็นผลมาจากอันตราการเกิดลดลง และความก้าวหน้าด้านทางการแพทย์ ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาว และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สถาบันครอบครัว ได้ปรับจากครอบครัว ขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้คนในครบครัวมีความสัมพันธภาพแบบต่างคนต่างอยู่นอกจากนี้ มีอัตราการอย่าร้างสูง และมีความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา ทั้งปัญหาเด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และที่สำคัญคือปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่ จากบุตรหลานของตนเอง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกำแพงเพชร จึงร่วมกับสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดงานวันผู้สูงอายุ วันแห่งครอบครัว และสมัชชาครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2557 เพื่อให้ความสำคัญของสถาบันครอบครัว มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมข้อคิดเห็น ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครับครัว รวมทั้งได้ตระหนักถึงคุณค้าของผู้สูงอายุ ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา ตลอดจน เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ครอบครัวร่วมเย็นในกิจกรรมนันทนาการและการจัดเวทีสมัชชาครอบครัว รวมถึงการมอบเครื่องอุปโภค เพื่อแสดงความกตัญญูและความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ
นิพนธ์ รอดทรัพย์ / ข่าว
ผู้ตรวจ นายรวีโรจน์ ส่องศรี
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ตรวจ นายรวีโรจน์ ส่องศรี
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชรจัดโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่โรงเรียนสระสิงโต ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นำหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงาน พร้อมด้วย พันเอกหญิงศินีนารถ วาณิชเสนี นายยกเหล่ากาชาดกำแพงเพชร และ คณะกรรมการเหล่ากาชาดกำแพงเพชร ออกหน่วยจังหวัดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน
ตามที่จังหวัดกำแพงเพชรได้กำหนดการดำเนินโครงการ "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้าง รอยยิ้มให้ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการนำเอางานบริการของส่วนราชการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ไปให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลในอำเภอต่าง ๆ โดยเน้นงานบริการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วยงานบริการต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและ ในระดับอำเภอ
ในการออกหน่วยครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และหัวหน้าหน่วยงานราชการในจังหวัดกำแพงเพชร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร คณะกรรมการเหล่ากาชาดฯ มอบสิ่งของแก่ประชาชนและนักเรียน ดังนี้ มอบทุนการศึกษาให้นักเรียน มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวยากจน มอบจักรยานให้แก่นักเรียน และมอบถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ประชาชนในเบื้องต้น พร้อมทั้งได้พูดคุยกับชาวบ้านถึงเรื่องความเดือดร้อนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือ และรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน เพื่อที่จะนำมาพิจารณาและดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
ตามที่จังหวัดกำแพงเพชรได้กำหนดการดำเนินโครงการ "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้าง รอยยิ้มให้ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการนำเอางานบริการของส่วนราชการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ไปให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลในอำเภอต่าง ๆ โดยเน้นงานบริการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วยงานบริการต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและ ในระดับอำเภอ
ในการออกหน่วยครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และหัวหน้าหน่วยงานราชการในจังหวัดกำแพงเพชร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร คณะกรรมการเหล่ากาชาดฯ มอบสิ่งของแก่ประชาชนและนักเรียน ดังนี้ มอบทุนการศึกษาให้นักเรียน มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวยากจน มอบจักรยานให้แก่นักเรียน และมอบถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ประชาชนในเบื้องต้น พร้อมทั้งได้พูดคุยกับชาวบ้านถึงเรื่องความเดือดร้อนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือ และรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน เพื่อที่จะนำมาพิจารณาและดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
นิพนธ์ รอดทรัพย์ / ข่าว
ผู้ตรวจ นายรวีโรจน์ ส่องศรี
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร
ผู้ตรวจ นายรวีโรจน์ ส่องศรี
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมจะจัดงาน “อุตรดิตถ์เกษตรแฟร์ ๒๕๕๗” ๕ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗
จากการที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้าการเกษตร ให้มีคุณภาพและปลอดภัย และมีความมั่นคงทางอาหาร โดยส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิต มุ่งพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค เสริมสร้างศักยภาพการบริหารการจัดการให้กับภาคเกษตร สถาบันเกษตรกร และกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการ SME ให้มีความเข้มแข็ง และยุทธศาสตร์พัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ได้สร้างเครือข่ายเพื่อประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้า มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสร้างความแตกต่าง ในตัวผลิตภัณฑ์ทำให้สร้างรายได้และสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวและผู้บริโภค ตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ "เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสารวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อบ้านยั่งยืน” โดยในระหว่างวันที่ ๕ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จังหวัดอุตรดิตถ์ กำหนดจัดงานอุตรดิตถ์เกษตรแฟร์ ๒๕๕๗ ณ บริเวณถนนแปดวา – สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและแสดงผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นสินค้าและผู้บริโภคพอใจและเปิดเวทีผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยฯ พบผู้บริโภค เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อเป็นโครงการ นำขยายผลต่อไป และจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตเกษตรกรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เป็นที่รู้จัก ยอมรับ และเชื่อถือของผู้บริโภคกว้างขวางยิ่งขึ้น โดย นายอำนาจ ปาลาศ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับเกียรติจากนายวีระชัย ภู่เพียงใจ และ นายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง ๒ ท่าน ตลอดจนประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ (นายภวัต ศรีสมบูรณ์) ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ห้องศิลาอาสน์ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การประกวดจัดสวนหย่อมสวยงาม การจำหน่ายสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน การจำหน่ายสินค้าเครือข่ายแม่บ้านเกษตรกร การจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน รวมทั้งการจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น พืชผัก ไม้ผล อุปกรณ์ด้านการเกษตร สัตว์เลี้ยง ประมง เป็นต้น กำหนดมีพิธีเปิดงาน ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.๓๐ น.
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การประกวดจัดสวนหย่อมสวยงาม การจำหน่ายสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน การจำหน่ายสินค้าเครือข่ายแม่บ้านเกษตรกร การจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน รวมทั้งการจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น พืชผัก ไม้ผล อุปกรณ์ด้านการเกษตร สัตว์เลี้ยง ประมง เป็นต้น กำหนดมีพิธีเปิดงาน ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.๓๐ น.
ข่าว/ สุรีย์ แสงทอง
ทีมข่าวสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการ
ผู้พิการของตำบลทุ่งยั้งกำลังจะได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูเมื่อเทศบาลให้ความสำคัญจัดตั้งศูนย์พัฒนาขึ้น เพื่อให้ได้รับการพัฒนาด้านการฝึกอาชีพให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ที่เทศบาลตำบลพระเสด็จ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัช กิตตินภดล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในการเปิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชนเทศบาลตำบลพระเสด็จ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนพิการในเขตพื้นที่อำเภอลับแล เช่น การฝึกการนวดแผนไทย. การประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การสนับสนุน ศูนย์ฯแห่งนี้นอกจากจะเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการโดยตรงแล้วยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้สูงอายุใช้เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาอาชีพเสริมอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ตั้งศูนย์ขึ้นอีก จำนวน ๒ ศูนย์ ๒ อำเภอ ๆ ละ ๑ ศูนย์ ๑ ตำบล ซึ่งศูนย์ฯของตำบลพระเสด็จแห่งนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ฯต้นแบบระดับจังหวัดด้วย
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
เทศบาลตำบลท่าเสาฝึกทบทวนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเตรียมความพร้อมรับมือ สาธารณภัย ภายหลังจากที่เกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดหลายครั้ง จากเหตุการณ์อุทกภัยดินโคลนถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์ครั้งใหญ่ในปี ๒๕๔๙ ก่อให้เกิดความเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การเตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดเหตุการณ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก นายชัช กิตตินภดล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝึกทบทวนความพร้อมเพียงในการออกปฏิบัติภาระกิจช่วยเหลือประชาชนยามเกิดเหตุให้ทันเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งครั้งนี้ที่กองอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นฝึกทบทวนของ อปพร. เทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน ๕๐ คน ใช้ระยะเวลาระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๕ เมษายน ๒๕๕๗ โดยเน้นให้มีความเข้าใจในบทบาทความรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย รวมไปถึงการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย อปพร. ภาคีระดับจังหวัด
ข่าว/ทีมข่าว ส.ปชส.อุตรดิตถ์
คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 ติดตามผลการปฏิบัติงานพัฒนาจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาลที่จังหวัดลำพูน
เช้าวันนี้ ( 21 เมษายน 2557 ) ที่ศาลากลางจังหวัดลำพูน ศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ อดุลพันธุ์ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 นำโดย พร้อมด้วย นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะอนุกรรมการ ได้ไปตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานพัฒนาจังหวัดของหน่วยงานต่างๆที่จังหวัดลำพูน
ทั้งนี้ เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานไปประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นไปตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี โดยนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้นำหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงผลการปฏิบัติงาน
แนวทางการติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 มุ่งเน้นในประเด็นตรวจสอบภายใน,การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง,การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ,การเบิกจ่ายงบประมาณ และ โครงการพิเศษ สำหรับการประเมินในภาพรวมพบว่า การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผลการประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
ในตอนบ่าย คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 ได้ไปตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการพิเศษ คือ โครงการพัฒนาแหล่งกระจายสินค้าและจำหน่าย (outlet) จุดดึงดูดทางการท่องเที่ยว (Landmark) ของจังหวัดลำพูน ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 โดยมีการก่อสร้างรูปปั้นองค์ครูบาศรีวิชัยขนาดใหญ่ ความสูง 21 เมตร กว้าง 18 เมตร ที่วัดดอยติ สร้างอาคารจำหน่ายสินค้า และการปรับปรุงภูมิทัศน์ พร้อมทั้งสร้างลิฟต์ภูเขา ( รถรางเคเบิ้ล ) สำหรับรับ-ส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ดอยติ เพื่อไปสักการะรูปปั้นครูบาศรีวิชัย โอกาสนี้คณะอนุกรรมการฯได้เยี่ยมชมศูนย์กระจายและจัดจำหน่ายสินค้าของจังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ด้านตรงข้ามกับวัดดอยติ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ปรับปรุงอาคารโกดังเก็บลำไยเดิม เพื่อใช้ประโยชน์ดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
ทั้งนี้ เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานไปประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นไปตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี โดยนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้นำหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงผลการปฏิบัติงาน
แนวทางการติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 มุ่งเน้นในประเด็นตรวจสอบภายใน,การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง,การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ,การเบิกจ่ายงบประมาณ และ โครงการพิเศษ สำหรับการประเมินในภาพรวมพบว่า การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผลการประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
ในตอนบ่าย คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด คณะที่ 2 ได้ไปตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการพิเศษ คือ โครงการพัฒนาแหล่งกระจายสินค้าและจำหน่าย (outlet) จุดดึงดูดทางการท่องเที่ยว (Landmark) ของจังหวัดลำพูน ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 โดยมีการก่อสร้างรูปปั้นองค์ครูบาศรีวิชัยขนาดใหญ่ ความสูง 21 เมตร กว้าง 18 เมตร ที่วัดดอยติ สร้างอาคารจำหน่ายสินค้า และการปรับปรุงภูมิทัศน์ พร้อมทั้งสร้างลิฟต์ภูเขา ( รถรางเคเบิ้ล ) สำหรับรับ-ส่งนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ดอยติ เพื่อไปสักการะรูปปั้นครูบาศรีวิชัย โอกาสนี้คณะอนุกรรมการฯได้เยี่ยมชมศูนย์กระจายและจัดจำหน่ายสินค้าของจังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ด้านตรงข้ามกับวัดดอยติ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้ปรับปรุงอาคารโกดังเก็บลำไยเดิม เพื่อใช้ประโยชน์ดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
ข่าวโดย : นศ.ฝึกประสบการณ์ นางสาวรุจิรา เสนานุช
หน่วยงาน : ส.ปชส.ลำพูน
วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวคณะครูอาจารย์อาวุโส เนื่องในโอกาสสงกรานต์ ประจำปี 2557
เมื่อวานนี้ (20 เมษายน 2557) สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จำนวนกว่า 120 คน จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวคณะครูอาจารย์อาวุโส เนื่องในโอกาสสงกรานต์ ประจำปี 2557 ที่อาคารดงรัก วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น/
ข่าวโดย : ชลนารถ/ ชญานิศ/ ศุภณัฐ นิสิตฝึกงานจุฬาฯ
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
ทสจ.แม่ฮ่องสอน จัดแสดงพลังมวลชนเชิงสัญลักษณ์ "แม่ฮ่องสอนอาสา พิทักษ์ผืนป่า สาละวิน"
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดแสดงพลังมวลชนเชิงสัญลักษณ์ "แม่ฮ่องสอนอาสา พิทักษ์ผืนป่าสาละวิน" เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของการปกป้องทรัพยากรป่าไม้ในผืนป่าสาละวิน ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ณ สนามหน้าค่ายเทพสิงห์ กรมทหารพรานที่ ๓๖
นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ศปปท.จ.มส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมขุนลุมประพาส ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศปปท. จ.มส. ได้รับรายงานในที่ประชุมว่า ขณะนี้มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าสาละวิน บริเวณช่วงรอยต่ออุทยานแห่งชาติสาละวินและป่าสงวนแห่งชาติสาละวิน ช่วงติดต่อกับลำน้ำสาละวินมีสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรงจนเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน โดยขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง
ศปปท. แม่ฮ่องสอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่ต้องประสานการปฏิบัติงานโดยถือว่า ปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดฯ ที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ของการปกป้องทรัพยากรป่าไม้ในผืนป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงจัดให้มีการแสดงพลังมวลชนเชิงสัญลักษณ์ขึ้น ณ สนามหน้าค่ายเทพสิงห์ กรมทหารพรานที่ ๓๖ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในพิธี เวลา ๐๙.๓๐ น. ประธานถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ ผู้บังคับกองกำลังผสมรายงานความเป็นมาของการจัดงาน กำลังมวลชนปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประธานให้โอวาสผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมปล่อยพลังมวลชน "แม่ฮ่องสอนอาสา พิทักษ์ป่าสาละวิน" เครื่องบินของกรมทหารราบที่ ๑๗ และเครื่องบินของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกเดินทางจากสนามหน้าค่ายเทพสิงห์ เพื่อบินตรวจสภาพป่า พื้นที่เป้าหมายป่าสาละวิน คาดหวังว่า กิจกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเกิดความรู้สึกหวงแหน และปกป้องทรัพยากรป่าไม้ อย่างยั่งยืน
นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ศปปท.จ.มส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมขุนลุมประพาส ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศปปท. จ.มส. ได้รับรายงานในที่ประชุมว่า ขณะนี้มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าสาละวิน บริเวณช่วงรอยต่ออุทยานแห่งชาติสาละวินและป่าสงวนแห่งชาติสาละวิน ช่วงติดต่อกับลำน้ำสาละวินมีสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรงจนเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน โดยขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง
ศปปท. แม่ฮ่องสอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่ต้องประสานการปฏิบัติงานโดยถือว่า ปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดฯ ที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ของการปกป้องทรัพยากรป่าไม้ในผืนป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงจัดให้มีการแสดงพลังมวลชนเชิงสัญลักษณ์ขึ้น ณ สนามหน้าค่ายเทพสิงห์ กรมทหารพรานที่ ๓๖ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในพิธี เวลา ๐๙.๓๐ น. ประธานถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ ผู้บังคับกองกำลังผสมรายงานความเป็นมาของการจัดงาน กำลังมวลชนปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประธานให้โอวาสผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมปล่อยพลังมวลชน "แม่ฮ่องสอนอาสา พิทักษ์ป่าสาละวิน" เครื่องบินของกรมทหารราบที่ ๑๗ และเครื่องบินของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกเดินทางจากสนามหน้าค่ายเทพสิงห์ เพื่อบินตรวจสภาพป่า พื้นที่เป้าหมายป่าสาละวิน คาดหวังว่า กิจกรรมดังกล่าว จะส่งผลให้ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเกิดความรู้สึกหวงแหน และปกป้องทรัพยากรป่าไม้ อย่างยั่งยืน
ข่าวโดย : อ่อนศรี ศรี อัมพร ทีมข่าว ส.ปชส.แม่ฮ่องสอน
หน่วยงาน : ส.ปชส.แม่ฮ่องสอน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียงเปิดยุทธการการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 3 อำเภอ
วันนี้ 20 เม.ย . 57 ที่ อุทยานแห่งชาติสาละวิน ต.แม่คง. อ.แม่สะเรียง นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง นายบุญเกื้อ คณาธารกุล นายอำเภอสบเมย บูรณาการ เจ้าหน้าที่จาก อุทยานแห่งชาติสาละวิน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อย และสบเมย 17 หน่วยงาน จำนวน 100 คน เปิดยุทธการการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ในการเปิดยุทธการครั้งนี้ ได้จัดชุดปฎิบัติการ 4 ชุด เน้นการปราบปราม ลาดตระเวน ตั้งจุดสกัด หาข่าว ตามลำน้ำสาละวิน และ พื้นที่ป่าบริเวณ บ้านห้วยสิงห์ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จุดที่ 2 บริเวณระหว่างบ้านห้วยกองก๊าด – บ้านแม่สามแลบ จุดที่ 3 บ้านแม่สามแลบ – บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่ 4 บ้านแม่สามแลบ – สวนป่าแม่มาด ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งพื้นที่ทั้ง 4 จุดนี้เป็นพื้นที่เสี่ยงในการที่จะมีการลักลอบตัดไม้สูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เขตรอต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และใกล้ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน ซึ่งมีผู้พักพิงหลายหมื่นคน
ในการเปิดยุทธการครั้งนี้ ได้จัดชุดปฎิบัติการ 4 ชุด เน้นการปราบปราม ลาดตระเวน ตั้งจุดสกัด หาข่าว ตามลำน้ำสาละวิน และ พื้นที่ป่าบริเวณ บ้านห้วยสิงห์ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จุดที่ 2 บริเวณระหว่างบ้านห้วยกองก๊าด – บ้านแม่สามแลบ จุดที่ 3 บ้านแม่สามแลบ – บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่ 4 บ้านแม่สามแลบ – สวนป่าแม่มาด ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งพื้นที่ทั้ง 4 จุดนี้เป็นพื้นที่เสี่ยงในการที่จะมีการลักลอบตัดไม้สูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เขตรอต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และใกล้ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน ซึ่งมีผู้พักพิงหลายหมื่นคน
ข่าวโดย : นวรัตน์ ศรีแก้วเลิศ
หน่วยงาน : สวท.แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน
อบจ.แม่ฮ่องสอนจัดโครงการรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ปีที่ 2
บ่ายวันนี้ ( 21 เม.ย. 57 ) นายอัครเดช วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการดำเนินงานโครงการรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ปีที่ 2 ณ ศาลาประชาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยในปี 2555 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการโครงการรางวัลหมู่บ้านก่อการดี เพื่อ ยกย่องชมเชยหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พึ่งพาและจัดการตนเองได้ โดยการพิจารณามอบรางวัลแห่งการทำความดี ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 286 หมู่บ้าน/ชุมชน ส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจ เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน และยังเป็นการเสริมแรงการทำงานขับเคลื่อนธรรมาภิบาลให้แก่ชุมชนอื่นได้
และในปี 2557 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดทำโครงการรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ปีที่ 2 ขึ้น เพื่อเสริมแรงการทำงานขับเคลื่อนธรรมาภิบาลให้เกิดความยั่งยืน โดยรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ระดับดีเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ระดับดีเด่น ได้รับเงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และระดับดี ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5361-1180 , 089-553-8720 หรือที่เว็บไซต์ www.mhs-pao.com
และในปี 2557 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดทำโครงการรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ปีที่ 2 ขึ้น เพื่อเสริมแรงการทำงานขับเคลื่อนธรรมาภิบาลให้เกิดความยั่งยืน โดยรางวัลหมู่บ้านก่อการดี ระดับดีเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ระดับดีเด่น ได้รับเงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และระดับดี ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ / โทรสาร 0-5361-1180 , 089-553-8720 หรือที่เว็บไซต์ www.mhs-pao.com
ข่าวโดย : พักตร์ภูมิ ปัญญาไชยพัฒน์
หน่วยงาน : ส.ปชส.แม่ฮ่องสอน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกาศแจ้งเตือนพายุฤดูร้อน ในช่วงสัปดาห์นี้
นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเพิ่มขึ้น ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2557 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน จะแผ่มาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงแจ้งเตือนให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด ดูแลบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างให้แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้ และระมัดระวังการใช้เครื่องมือสื่อสารกลางที่โล่งแจ้ง ในขณะเกิดฟ้าคะนอง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงแจ้งเตือนให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด ดูแลบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างให้แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้ และระมัดระวังการใช้เครื่องมือสื่อสารกลางที่โล่งแจ้ง ในขณะเกิดฟ้าคะนอง
ข่าวโดย : ศุภณัฐ สิริภัทรวณิช /ชลนารถ ศรีสวัสดิ์ นิสิตฝึกงาน
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
ศูนย์ปฎิบัติการบินที่ 2 เชียงใหม่ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน บินสำรวจพื้นที่โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ – ลุ่มน้ำปาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันนี้ ( 21 เมษายน 2557) ศูนย์ปฏิบัติการบินที่ 2 เชียงใหม่ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปฏิบัติการบินสำรวจ ในพื้นที่ โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ – ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปฏิบัติการบินเพื่อป้องปราม และกดดัน ไม่ให้มีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า โดยเฉพาะไม้สักธรรมชาติ รวมถึงการล่าสัตว์ หรือจุดไฟเผาป่าในพื้นที่โครงการฯ จากการบินสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีการบุกรุกผืนป่าในลักษณะการขยายพื้นที่ประปราย ซึ่งได้มีการจับพิกัด เพื่อประสานหน่วยงานภาคพื้น นำไปสู่การขยายผล โดยหลังจากนี้จะยังคงปฏิบัติการบินสำรวจอย่างต่อเนื่องเพื่ออนุรักษ์แหล่งป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 และพระราชทานนามป่าสักดังกล่าวว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี” (ป่า-สัก-นะ-วะ-มิน-ทะ-ระ-รา-ชิ-นี)
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 และพระราชทานนามป่าสักดังกล่าวว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี” (ป่า-สัก-นะ-วะ-มิน-ทะ-ระ-รา-ชิ-นี)
ข่าวโดย : ศิริวรรณี ศรีทัพ
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมคณะกรรมการอำนวยการและดำเนินงาน โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแม่ฮ่องสอน
เช้าวันนี้ (21 เมษายน 2557) นายสุรพล พนัสอำพล ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและดำเนินงานโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแม่ฮ่องสอน ที่ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน เพื่อร่วมกันวางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเตรียมการจัดทำงบประมาณในการขยายผลโครงการพระราชดำริสู่ชุมชนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ มีการสรุปผลการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานของ 3 ศูนย์หลัก ประกอบด้วย ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ และ ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งเสริมให้ปลูกนาขั้นบันได เพราะนอกจากเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังสามารถ ลดอัตราการทำลายป่า รวมถึงส่งเสริมให้ปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพริก เพราะเป็นพืชที่เก็บได้นาน สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการเลี้ยงหมูหลุม เนื่องจากเลี้ยงง่าย ไม่ส่งกลิ่น และส่งเสริมให้เลี้ยงโคขุน เพราะขายได้ราคาดี รวมถึงสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเอื้อต่อการเลี้ยงโคอีกด้วย/
ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งเสริมให้ปลูกนาขั้นบันได เพราะนอกจากเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังสามารถ ลดอัตราการทำลายป่า รวมถึงส่งเสริมให้ปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพริก เพราะเป็นพืชที่เก็บได้นาน สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการเลี้ยงหมูหลุม เนื่องจากเลี้ยงง่าย ไม่ส่งกลิ่น และส่งเสริมให้เลี้ยงโคขุน เพราะขายได้ราคาดี รวมถึงสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเอื้อต่อการเลี้ยงโคอีกด้วย/
ข่าวโดย : ชลนารถ/ ชญานิศ/ ศุภณัฐ นิสิตฝึกงานจุฬาฯ
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม ร่วมกับ ชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่เงา เตรียมจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประจำปี 2557
นายจายคำ ตุ่มสุวรรณ ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่เงา เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา ร่วมกับ ชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่เงา เตรียมจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2557 ในวันที่ 23 เมษายน 2557 ที่ วัดต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจ พร้อมทั้งให้ความสำคัญ ถึงคุณงามความดีของผู้สูงอายุ และลูกหลานได้แสดงถึงความกตัญญู ซึ่งปฎิบัติเป็นประจำทุกปี
กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีรดน้ำ ดำหัวผู้สูงอายุ การมอบเกียรติบัตรผู้สูงอายุสุขภาพดีตำบลแม่เงา มอบของที่ระลึกผู้สูงอายุสืบสานประเพณีวัฒนธรรมตำบลแม่เงาโดย กศน.อำเภอขุนยวม บริการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านต่อแพ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยนา และ กิจกรรมนัทนาการ
จึงขอเรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมงาน ตามวันเวลา และดังกล่าว
กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีรดน้ำ ดำหัวผู้สูงอายุ การมอบเกียรติบัตรผู้สูงอายุสุขภาพดีตำบลแม่เงา มอบของที่ระลึกผู้สูงอายุสืบสานประเพณีวัฒนธรรมตำบลแม่เงาโดย กศน.อำเภอขุนยวม บริการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านต่อแพ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยนา และ กิจกรรมนัทนาการ
จึงขอเรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมงาน ตามวันเวลา และดังกล่าว
ข่าวโดย : เวียงสอน ดอนแก้ว
หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน
ชุมชนเพชรรัตน์ เทศบาลเมืองแพร่ มุ่งเข้าสู่ชุมชนแห่งสุขภาพ
ชุมชนเพชรรัตน์ เขตเทศบาลเมืองแพร่ มุ่งเน้นเข้าสู่ชุมชนแห่งสุขภาพ เน้นกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน พร้อมเสนอของบประมาณจากโครงการพัฒนาเมืองในการสร้างอาคาร ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการ "ชุมชนเพชรรัตน์ชุมชนแห่งสุขภาพ”
ชุมชนเพชรรัตน์ เป็นชุมชนที่แยกพื้นที่มาจากชุมชนชัยมงคล เมื่อปี ๒๕๔๗ เป็นชุมชนที่ ๑๘ ของเทศบาลเมืองแพร่ และไม่มีโรงเรียน ไม่มีวัดและตลาด มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่งภายในชุมชนมีประชากรที่ให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาทางชุมชนเพชรรัตน์มีมติของชุมชนใช้งบประมาณ SML ดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกันของประชาชนจำนวนมากกว่า ๕๐๐ ราย เพื่อจัดกิจกรรมในหลายๆ ด้าน อาทิเช่นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีสุขภาพที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม
การดำเนินการดังกล่าวทางชุมชน จะมีคณะกรรมการชุมชนคอยเป็นคนดูแลในเรื่องรายได้จากการบริจาค เพราะสถานที่ดังกล่าวนอกจากจะใช้ในเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายของชุมชนแล้วชุมชนยังมีกิจกรรมที่จัดหารายได้ของชุมชนด้วย เช่น ประชาชนในพื้นที่ชุมชนหรือจากภายนอกมีความประสงค์จะใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และสถานที่บริเวณลานออกกำลังของชุมชนเพื่อจัดกิจกรรม รายได้ของชุมชนส่วนมากมาจากการได้รับเงินช่วยเหลือ จากผู้ที่ยืมสิ่งของหรือขออนุญาตใช้สถานที่ของชุมชนในการจัดกิจกรรม จะเห็นได้ว่ากิจกรรมของชุมชนเพชรรัตน์ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
ปัจจุบันปัญหาที่พบคือบริเวณลานออกกำลังของชุมชนเป็นที่โล่งแจ้ง เมื่อมีฝนตกจึงไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมได้ ซึ่งทางชุมชนได้ระดมทุนทรัพย์จากประชาชนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงจำนวนหนึ่งและชุมชนได้งบจากโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน SML ถมที่ปรับที่ดินและเทพื้นคอนกรีตหากมีการก่อสร้างอาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าวของชุมชนเพชรรัตน์ จะทำให้ชุมชนสามารถส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รวมถึงประชาชนนอกเขตจัดกิจกรรมอย่างต่อเน่าอง ซึ่งทางชุมชนได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งหากมีรายได้มากพอแล้วทางชุมชนมีแผนที่จะขยายผลโครงการดังกล่าวเพื่อให้ชุมชนใกล้เคียงได้เข้าร่วมและใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวให้มากขึ้นด้วย
ชุมชนเพชรรัตน์ จึงเสนอของบประมาณจากโครงการพัฒนาเมืองจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการ "ชุมชนเพชรรัตน์ชุมชนแห่งสุขภาพ”
ชุมชนเพชรรัตน์ เป็นชุมชนที่แยกพื้นที่มาจากชุมชนชัยมงคล เมื่อปี ๒๕๔๗ เป็นชุมชนที่ ๑๘ ของเทศบาลเมืองแพร่ และไม่มีโรงเรียน ไม่มีวัดและตลาด มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่งภายในชุมชนมีประชากรที่ให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาทางชุมชนเพชรรัตน์มีมติของชุมชนใช้งบประมาณ SML ดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกันของประชาชนจำนวนมากกว่า ๕๐๐ ราย เพื่อจัดกิจกรรมในหลายๆ ด้าน อาทิเช่นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีสุขภาพที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม
การดำเนินการดังกล่าวทางชุมชน จะมีคณะกรรมการชุมชนคอยเป็นคนดูแลในเรื่องรายได้จากการบริจาค เพราะสถานที่ดังกล่าวนอกจากจะใช้ในเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายของชุมชนแล้วชุมชนยังมีกิจกรรมที่จัดหารายได้ของชุมชนด้วย เช่น ประชาชนในพื้นที่ชุมชนหรือจากภายนอกมีความประสงค์จะใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และสถานที่บริเวณลานออกกำลังของชุมชนเพื่อจัดกิจกรรม รายได้ของชุมชนส่วนมากมาจากการได้รับเงินช่วยเหลือ จากผู้ที่ยืมสิ่งของหรือขออนุญาตใช้สถานที่ของชุมชนในการจัดกิจกรรม จะเห็นได้ว่ากิจกรรมของชุมชนเพชรรัตน์ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
ปัจจุบันปัญหาที่พบคือบริเวณลานออกกำลังของชุมชนเป็นที่โล่งแจ้ง เมื่อมีฝนตกจึงไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมได้ ซึ่งทางชุมชนได้ระดมทุนทรัพย์จากประชาชนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงจำนวนหนึ่งและชุมชนได้งบจากโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน SML ถมที่ปรับที่ดินและเทพื้นคอนกรีตหากมีการก่อสร้างอาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าวของชุมชนเพชรรัตน์ จะทำให้ชุมชนสามารถส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รวมถึงประชาชนนอกเขตจัดกิจกรรมอย่างต่อเน่าอง ซึ่งทางชุมชนได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งหากมีรายได้มากพอแล้วทางชุมชนมีแผนที่จะขยายผลโครงการดังกล่าวเพื่อให้ชุมชนใกล้เคียงได้เข้าร่วมและใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวให้มากขึ้นด้วย
ชุมชนเพชรรัตน์ จึงเสนอของบประมาณจากโครงการพัฒนาเมืองจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการ "ชุมชนเพชรรัตน์ชุมชนแห่งสุขภาพ”
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ : รายงาน
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ ผลักดันโครงการโรงพยาบาลประชาชน 200 เตียง เพื่อช่วยประชาชน
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ ผลักดันโครงการโรงพยาบาลประชาชน 200 เตียง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชน ตามโครงการพัฒนาเมือง
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่นั้น เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในการจัดกิจกรรมสาธารณกุศลที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง โดยความร่วมมือของสมาชิกที่มีจิตอาสาเข้ามาช่วยเหลือประชาชน
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ มีการจัดทีมเพื่อเข้าไปสำรวจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส คนที่ไม่มีที่อยู่อย่างถาวร คนพิการ และคนป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการดูอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
โดยสมาชิกกลุ่มจะแบ่งหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในการเข้าไปช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย การแจกจ่ายสิ่งของที่จำเป็นแก่การรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้เจ็บป่วยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวัสดุอุปกรณ์นอกจากได้รับบริจาคจากผู้ที่มีจิตกุศลแล้วบางส่วนก็ได้รับการช่วยเหลือจากเทศบาลเมืองแพร่
ปัจจุบันการส่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครของกลุ่มรักษ์สุขภาพ เข้าไปช่วยเหลือเยี่ยมเยือนให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ป่วย ยังไม่มีความต่อเนื่องอันเนื่องมาจากผู้ที่มีจิตอาสาที่จะอุทิศเวลาให้กับการเข้าถึงผู้ป่วย ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพของตนเองด้วย อีกทั้งการให้การช่วยเหลือด้านวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ยังมีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากขาดงบประมาณในการจัดซื้อสิ่งของจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือ ทำให้การการช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าวยังไม่ทั่วถึง
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ จึงได้จัดทำโครงการโรงพยาบาลประชาชน 200 เตียงขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการพัฒนาเมือง จำนวนเงิน 1,300,000 บาท เพื่อสานต่อกิจกรรมที่ทางกลุ่มได้ดำเนินการให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหรือบรรเทาอาการป่วยให้ดีขึ้น เป็นการแบ่งเบาภาระของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้เจ็บป่วย ช่วยให้มีเวลาในการประกอบอาชีพทำมาหากินได้มากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิต และคุณภาพจิตใจ ทั้งผู้เจ็บป่วยและบุคคลในครอบครัวดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดภาระความแออัดในการเข้ารับการรักษาจากพยาบาลของรัฐที่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่นั้น เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในการจัดกิจกรรมสาธารณกุศลที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง โดยความร่วมมือของสมาชิกที่มีจิตอาสาเข้ามาช่วยเหลือประชาชน
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ มีการจัดทีมเพื่อเข้าไปสำรวจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส คนที่ไม่มีที่อยู่อย่างถาวร คนพิการ และคนป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการดูอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
โดยสมาชิกกลุ่มจะแบ่งหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในการเข้าไปช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย การแจกจ่ายสิ่งของที่จำเป็นแก่การรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้เจ็บป่วยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวัสดุอุปกรณ์นอกจากได้รับบริจาคจากผู้ที่มีจิตกุศลแล้วบางส่วนก็ได้รับการช่วยเหลือจากเทศบาลเมืองแพร่
ปัจจุบันการส่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครของกลุ่มรักษ์สุขภาพ เข้าไปช่วยเหลือเยี่ยมเยือนให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ป่วย ยังไม่มีความต่อเนื่องอันเนื่องมาจากผู้ที่มีจิตอาสาที่จะอุทิศเวลาให้กับการเข้าถึงผู้ป่วย ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพของตนเองด้วย อีกทั้งการให้การช่วยเหลือด้านวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ยังมีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากขาดงบประมาณในการจัดซื้อสิ่งของจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือ ทำให้การการช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าวยังไม่ทั่วถึง
กลุ่มรักษ์สุขภาพเทศบาลเมืองแพร่ จึงได้จัดทำโครงการโรงพยาบาลประชาชน 200 เตียงขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการพัฒนาเมือง จำนวนเงิน 1,300,000 บาท เพื่อสานต่อกิจกรรมที่ทางกลุ่มได้ดำเนินการให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหรือบรรเทาอาการป่วยให้ดีขึ้น เป็นการแบ่งเบาภาระของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้เจ็บป่วย ช่วยให้มีเวลาในการประกอบอาชีพทำมาหากินได้มากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิต และคุณภาพจิตใจ ทั้งผู้เจ็บป่วยและบุคคลในครอบครัวดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดภาระความแออัดในการเข้ารับการรักษาจากพยาบาลของรัฐที่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ : รายงาน
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจังหวัดพะเยา ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเอาผิดผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด หลังรับเงินชดเชยไปแล้วไม่ยอมจ่ายให้กับเกษตรกร
วันนี้ (21 เม.ย. 57) เวลา 10.30 น. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้กว่า100 คน ได้พากันเดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อขอให้นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ช่วยเหลือ หลังจากผู้ประกอบการแห่งหนึ่งใน อ.ดอกคำใต้ ที่เข้าร่วมโครงตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาลรับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ 1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาลไปแล้วแต่ไม่ยอมจ่ายให้กับเกษตรกร
นายพิสิทธิ์ ละเอียดธำรง แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด กล่าวว่า วันนี้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ เดินทางมาเพื่อร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ 1.ขอให้ช่วยเหลือกรณีที่ผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด “แดนชัยพืชไร่” ใน อ.ดอกคำใต้ ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล จากพาณิชย์จังหวัดที่โอนไปให้ทั้งสิ้น 2 งวดของเกษตรกรจำนวน 130 ราย เป็นเงินงวดแรกประมาณ 1.7 ล้านบาท และงวดที่2 ประมาณ 3.09 ล้านบาท รวมเกือบ 5 ล้านบาทไปแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการกลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายให้เงินกับเกษตรกร และกรณีที่สองคือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดใน ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยาจำนวน 84 ราย ยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล รวมประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเคยร้องต่อทางจังหวัดไปแล้ว และทางจังหวัดโดยพาณิชย์จังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งไปยังส่วนกลางแล้ว ซึ่งวันนี้จะขอมารับฟังความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไร ตนและเกษตรกรจึงได้เดินทางมาในวันนี้
ต่อมานายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้นางสาวเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุลพาณิชย์จังหวัดพะเยา เข้าพบกับแกนนำเกษตรกรเพื่อชี้แจงความคืบหน้า โดยกล่าวกับเกษตรกรว่า กรณีที่1.ตามที่ผู้ประกอบการรับเงินไปแล้วและยังไม่จ่ายถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เกษตรกรต้องไปแจ้งความเอาผิดกับทางตำรวจ ซึ่งเรื่องนี้เคยได้ชี้แจงกับทางเกษตรกรไปแล้ว ส่วนกรณีที่เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชยใน ต.จำป่าหวาย จำนวน 84 รายนั้น เป็นลักษณะรายชื่อตกหล่นโดยทางจังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งขอรับการจัดสรรโควต้าเพิ่มไปยังอธิบดีกรมการค้าภายในแล้วรวม 4 ครั้ง เนื่องจากโควตาที่ได้จัดสรรกว่า 95,000 ตันในวงเงินกว่า 142 ล้านบาทนั้นไม่เพียงพอกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบกับได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการฯ ทำให้จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งจากส่วนกลางว่าคืบหน้าเป็นอย่างไร
หลังจากกลุ่มเกษตรกรได้รับฟังการชี้แจงแล้วได้พากันเดินทางไปที่ สภ.ดอกคำใต้ พร้อมกับพาณิชย์จังหวัดเพื่อเข้าแจ้งความและให้ปากคำกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดรายดังกล่าว ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับในเวลาต่อมา
นายพิสิทธิ์ ละเอียดธำรง แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด กล่าวว่า วันนี้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ เดินทางมาเพื่อร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ 1.ขอให้ช่วยเหลือกรณีที่ผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด “แดนชัยพืชไร่” ใน อ.ดอกคำใต้ ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล จากพาณิชย์จังหวัดที่โอนไปให้ทั้งสิ้น 2 งวดของเกษตรกรจำนวน 130 ราย เป็นเงินงวดแรกประมาณ 1.7 ล้านบาท และงวดที่2 ประมาณ 3.09 ล้านบาท รวมเกือบ 5 ล้านบาทไปแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการกลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายให้เงินกับเกษตรกร และกรณีที่สองคือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดใน ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยาจำนวน 84 ราย ยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล รวมประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเคยร้องต่อทางจังหวัดไปแล้ว และทางจังหวัดโดยพาณิชย์จังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งไปยังส่วนกลางแล้ว ซึ่งวันนี้จะขอมารับฟังความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไร ตนและเกษตรกรจึงได้เดินทางมาในวันนี้
ต่อมานายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้นางสาวเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุลพาณิชย์จังหวัดพะเยา เข้าพบกับแกนนำเกษตรกรเพื่อชี้แจงความคืบหน้า โดยกล่าวกับเกษตรกรว่า กรณีที่1.ตามที่ผู้ประกอบการรับเงินไปแล้วและยังไม่จ่ายถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เกษตรกรต้องไปแจ้งความเอาผิดกับทางตำรวจ ซึ่งเรื่องนี้เคยได้ชี้แจงกับทางเกษตรกรไปแล้ว ส่วนกรณีที่เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชยใน ต.จำป่าหวาย จำนวน 84 รายนั้น เป็นลักษณะรายชื่อตกหล่นโดยทางจังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งขอรับการจัดสรรโควต้าเพิ่มไปยังอธิบดีกรมการค้าภายในแล้วรวม 4 ครั้ง เนื่องจากโควตาที่ได้จัดสรรกว่า 95,000 ตันในวงเงินกว่า 142 ล้านบาทนั้นไม่เพียงพอกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบกับได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการฯ ทำให้จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งจากส่วนกลางว่าคืบหน้าเป็นอย่างไร
หลังจากกลุ่มเกษตรกรได้รับฟังการชี้แจงแล้วได้พากันเดินทางไปที่ สภ.ดอกคำใต้ พร้อมกับพาณิชย์จังหวัดเพื่อเข้าแจ้งความและให้ปากคำกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดรายดังกล่าว ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับในเวลาต่อมา
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
เกิดเหตุพายุฤดูร้อนถล่มพะเยารอบที่ 2 ทำให้บ้านเรือนเสียหายกว่า 100 หลัง
เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (20 เม.ย. 57) ที่จังหวัดพะเยาได้เกิดพายุฤดูร้อนพร้อมฝนที่ตกลงมาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากพายุสงบพบว่าบ้านเรือนของประชาชน ม.6 , 7 , 8 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ได้รับความเสียหาย กระเบื้องหลังคาถูกพายุพัดแตกและเสียหายจำนวนกว่า 100 หลังคาเรือน ทั้งนี้บางหลังคาเรือนที่โดนพายุพัดรอบแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับความเสียหาย และได้มีการซ่อมแซมพึ่งเสร็จก็ถูกพายุพัดถล่มเสียหายอีกเป็นรอบที่สอง ในขณะที่ตามถนนได้มีต้นไม้ล้มทับขวางถนนหลายสาย ทางเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ต้องระดมหน่วยบรรเทาสาธารณภัยออกตัดต้นไม้และกิ่งไม้ออกจากถนน เพื่อให้สัญจรได้
สำหรับความเสียทางเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจความเสียหายและจะทำการช่วยเหลือต่อไป
สำหรับความเสียทางเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจความเสียหายและจะทำการช่วยเหลือต่อไป
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่คนใหม่ เข้ารับตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการแล้ว
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่คนใหม่ เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 และศาลพระภูมิสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการแล้ว
วันนี้ (21 เมษายน 2557) เวลา 08.50 น. นายนาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และเข้าปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2557 โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่(หลังเก่า) และสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ จากนั้น ได้เดินทางเข้าห้องทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กราบไหว้พระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชา นั่งโต๊ะทำงานและเซ็นต์แฟ้มเอกสารเป็นปฐมฤกษ์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้รับมอบกระเช้าดอกไม้และของที่ระลึก จากหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ที่ร่วมแสดงความยินดี และเริ่มปฏิบัติงาน ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ สำหรับ นาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ย้ายมาจากตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
วันนี้ (21 เมษายน 2557) เวลา 08.50 น. นายนาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และเข้าปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2557 โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่(หลังเก่า) และสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ จากนั้น ได้เดินทางเข้าห้องทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กราบไหว้พระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชา นั่งโต๊ะทำงานและเซ็นต์แฟ้มเอกสารเป็นปฐมฤกษ์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้รับมอบกระเช้าดอกไม้และของที่ระลึก จากหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ที่ร่วมแสดงความยินดี และเริ่มปฏิบัติงาน ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ สำหรับ นาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ย้ายมาจากตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
ข่าวโดย : ณัฏฐ์ สินันตา
หน่วยงาน : ส.ปชส.เชียงใหม่
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเชิญชวนร่วมทำบุญตั้งโรงทาน
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจัดโครงการลูกเสือส่งเสริมพระพุทธศาสนาบรรพชาภาคฤดูร้อน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล 87 พรรษา พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 24–30 เมษายน 2557 ณ วัดโชติกุนสุวรรณาราม (วัดหมูบุ่น) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญตั้งโรงงานหรือบริจาคปัจจัยเพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลตามแต่ศรัทธา
นางรัชนีภา ศรีสว่าง หัวหน้าศูนย์เสมารักษ์ ประจำสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 เปิดเผยว่า ศูนย์เสมารักษ์ สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ได้มอบหมายให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ดำเนินโครงการลูกเสือส่งเสริมพระพุทธศาสนาบรรพชาภาคฤดูร้อนเพื่อวายเป็นพระราชกุศล 87 พรรษา พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2557 ณ วัดโชติกุนสุวรรณาราม (วัดหมูบุ่น) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ จำนวน 72 คน และผู้บังคับบัญชา จำนวน 8 คน รวม 80 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา และให้ลูกเสือยึดหลักปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และมีจิตสาธารณะ ประพฤติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ต่อไป โดยเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญตั้งโรงทาน ในวันที่ 24 เมษายน 2557 หรือบริจาคปัจจัยเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลตามแต่ศรัทธาได้ที่ ศูนย์เสมารักษ์ โทรศัพท์หมายเลข 0-5322-1413 ต่อ 21 หรือที่คุณนงลักษณ์ วิชัยรัตน์ โทรศัพท์หมายเลข 08-1112-2969
นางรัชนีภา ศรีสว่าง หัวหน้าศูนย์เสมารักษ์ ประจำสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 เปิดเผยว่า ศูนย์เสมารักษ์ สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ได้มอบหมายให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ดำเนินโครงการลูกเสือส่งเสริมพระพุทธศาสนาบรรพชาภาคฤดูร้อนเพื่อวายเป็นพระราชกุศล 87 พรรษา พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2557 ณ วัดโชติกุนสุวรรณาราม (วัดหมูบุ่น) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ จำนวน 72 คน และผู้บังคับบัญชา จำนวน 8 คน รวม 80 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา และให้ลูกเสือยึดหลักปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และมีจิตสาธารณะ ประพฤติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ต่อไป โดยเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญตั้งโรงทาน ในวันที่ 24 เมษายน 2557 หรือบริจาคปัจจัยเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลตามแต่ศรัทธาได้ที่ ศูนย์เสมารักษ์ โทรศัพท์หมายเลข 0-5322-1413 ต่อ 21 หรือที่คุณนงลักษณ์ วิชัยรัตน์ โทรศัพท์หมายเลข 08-1112-2969
ข่าวโดย : ราตรี จักร์แก้ว
หน่วยงาน : ส.ปชส.เชียงใหม่
ท่องเที่ยวและกีฬาเชียงใหม่เชิญชวนโฮมสเตย์สมัครขอรับการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน โฮมสเตย์ไทย ปี 2557
กรมการท่องเที่ยว ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำหนดดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 โดยเชิญชวนโฮมสเตย์ใหม่ที่มีความพร้อมสมัครขอรับการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 15 พฤษภาคมนี้
นายมนตรี ปิยากูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า กรมการท่องเที่ยว ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 โดยจะดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยสำหรับโฮมสเตย์ที่จะหมดอายุการรับรอง (3 ปี) และโฮมสเตย์ใหม่ที่มีความพร้อมและประสงค์ขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน โฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นเกณฑ์ หากพ้นกำหนดในวันดังกล่าวจะไม่รับการพิจารณา
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงหลักเกณฑ์โฮมสเตย์ไทย หรือ มาตรฐานที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทมาตรฐานไทย ตามประกาศกรมการท่องเที่ยวเรื่องกำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยว มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ.2554 ว่า หมายถึง บ้านที่จัดบริการในชุมชนอยู่ในระดับมาตรฐาน 10 ด้าน ประกอบด้าน ด้านที่พัก อาหาร ความปลอดภัย อัธยาศัยมาตรของเจ้าของบ้านและสมาชิก รายการนำเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน การบริการของกลุ่มโฮมสเตย์ และการประชาสัมพันธ์ โดยบ้านดังกล่าวต้องมีความพร้อมในการเป็นโฮมสเตย์ โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น 10 ประการ ดังนี้
1. เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวต้องถือว่า การทำโฮมสเตย์เป็นเพียงรายได้เสริมนอกเหนือจาก อาชีพหลักของครอบครัวเท่านั้น
2. มีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือและไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวพักได้ชั่วคราว ทั้งนี้มีจำนวนไม่เกิน 4 ห้อง และมีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยมีค่าตอบแทนและแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 หมวด 1 สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม ข้อ 1
3. นักท่องเที่ยวต้องเข้าพักค้างแรมในชายคาเดียวกับที่เจ้าของบ้านอาศัยอยู่ โดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตระหว่างกัน
4. สมาชิกในครอบครัวต้องมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาพักค้างแรมในชายคาเดียวกันกับเจ้าของบ้าน พร้อมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยว
5. เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการโฮมสเตย์เป็นอย่างดี
6. บ้านนั้นต้องเป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม หรือ สหกรณ์ ที่ร่วมกันจัดการโฮมสเตย์ของชุมชนนั้น
7. จำนวนหลังคาเรือนที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม สหกรณ์โฮมสเตย์อย่างน้อย 3 หลังคาเรือนขึ้นไป
8. บ้านที่ขอรับการประเมินทุกหลังต้องมีเลขที่บ้านที่ออกโดยส่วนราชการ
9. ที่ตั้งของชุมชนหรือกลุ่มโฮมสเตย์หรือบ้านพักต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
10. ดำเนินการจัดทำโฮมสเตย์ตามข้อกำหนดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยของกรมการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.homestaythai.net หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการมนุษย์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5394-2571 มือถือ 08-9265-2855 โทรสาร 0-5389-2649
นายมนตรี ปิยากูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า กรมการท่องเที่ยว ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 โดยจะดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยสำหรับโฮมสเตย์ที่จะหมดอายุการรับรอง (3 ปี) และโฮมสเตย์ใหม่ที่มีความพร้อมและประสงค์ขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน โฮมสเตย์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2557 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นเกณฑ์ หากพ้นกำหนดในวันดังกล่าวจะไม่รับการพิจารณา
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงหลักเกณฑ์โฮมสเตย์ไทย หรือ มาตรฐานที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทมาตรฐานไทย ตามประกาศกรมการท่องเที่ยวเรื่องกำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยว มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ.2554 ว่า หมายถึง บ้านที่จัดบริการในชุมชนอยู่ในระดับมาตรฐาน 10 ด้าน ประกอบด้าน ด้านที่พัก อาหาร ความปลอดภัย อัธยาศัยมาตรของเจ้าของบ้านและสมาชิก รายการนำเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน การบริการของกลุ่มโฮมสเตย์ และการประชาสัมพันธ์ โดยบ้านดังกล่าวต้องมีความพร้อมในการเป็นโฮมสเตย์ โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น 10 ประการ ดังนี้
1. เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวต้องถือว่า การทำโฮมสเตย์เป็นเพียงรายได้เสริมนอกเหนือจาก อาชีพหลักของครอบครัวเท่านั้น
2. มีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเหลือและไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวพักได้ชั่วคราว ทั้งนี้มีจำนวนไม่เกิน 4 ห้อง และมีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยมีค่าตอบแทนและแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 หมวด 1 สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและประเภทของโรงแรม ข้อ 1
3. นักท่องเที่ยวต้องเข้าพักค้างแรมในชายคาเดียวกับที่เจ้าของบ้านอาศัยอยู่ โดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตระหว่างกัน
4. สมาชิกในครอบครัวต้องมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาพักค้างแรมในชายคาเดียวกันกับเจ้าของบ้าน พร้อมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยว
5. เจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการโฮมสเตย์เป็นอย่างดี
6. บ้านนั้นต้องเป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม หรือ สหกรณ์ ที่ร่วมกันจัดการโฮมสเตย์ของชุมชนนั้น
7. จำนวนหลังคาเรือนที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ชมรม สหกรณ์โฮมสเตย์อย่างน้อย 3 หลังคาเรือนขึ้นไป
8. บ้านที่ขอรับการประเมินทุกหลังต้องมีเลขที่บ้านที่ออกโดยส่วนราชการ
9. ที่ตั้งของชุมชนหรือกลุ่มโฮมสเตย์หรือบ้านพักต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
10. ดำเนินการจัดทำโฮมสเตย์ตามข้อกำหนดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยของกรมการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.homestaythai.net หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการมนุษย์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5394-2571 มือถือ 08-9265-2855 โทรสาร 0-5389-2649
ข่าวโดย : ราตรี จักร์แก้ว
หน่วยงาน : ส.ปชส.เชียงใหม่
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ที่ห้องประชุมจอมกิตติ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายนพปฏล เมฆเมฆา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 16 พร้อมคณะ ได้เดินทางมาตรวจราชการแบบบูรณาการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่จากหน่วยงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง โดยมีนายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและรายงานสถานการณ์ปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้งและผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหา
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 16 กล่าวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และจเรตำรวจ ได้ตรวจราชการติดตามการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ข้อร้องเรียนของประชาชนเนื่องมาจากภัยพิบัติ และสถานการณ์ไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งบางจังหวัดมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนแล้ว การตรวจราชการในครั้งนี้ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ
สำหรับการตรวจติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง ในครั้งนี้มีประเด็นการตรวจราชการประกอบด้วย แผนเฉพาะกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้ออกประกาศงดการเผาในที่โล่งในช่วง 100 วันอันตราย รวมถึงให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านกำชับและวางมาตรการในการควบคุมการเผา มีการแบ่งพื้นที่การดำเนินการ ให้หน่วยงานต่างดูแลพื้นที่รับผิดชอบของตนเองไม่ให้มีการเผาโดยเด็ดขาด ได้มีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือดับไฟสำหรับดับไฟบริเวณสองข้างทางหลวง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศน์มาใช้ในการบริหาร เฝ้าระวังและควบคุมจุด Hotspot ด้านการดูแลรักษาสุขภาพประชาชนทางหน่วยงานสาธารณได้มีการวางแผนและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังการบังคับใช้กฎหมาย และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างจิตรสำนึกแก่นักเรียนในระดับต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควัน
ด้านภัยแล้ง คาดว่าปีนี้จะมีความรุนแรง ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งแล้ว 5 อำเภอ คือ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ป่าแดด แม่จัน แม่สาย และอำเภอแม่สรวย มีการจัดเตรียมถังเก็บน้ำขนาด 2,000 ลิตร สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง รวมถึงการขุดเจาะน้ำบาดาลซึ่งได้ดำเนิการไปแล้ว 11 บ่อ ทางด้านปศุสัตว์ได้มีการเตรียมหญ้าแห้งสำหรับโค กระบือ โอกาสเดียวกันนี้ คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นทีตำบลบ้านดู่เพื่อติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วย
ที่ห้องประชุมจอมกิตติ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายนพปฏล เมฆเมฆา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 16 พร้อมคณะ ได้เดินทางมาตรวจราชการแบบบูรณาการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่จากหน่วยงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง โดยมีนายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและรายงานสถานการณ์ปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้งและผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหา
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 16 กล่าวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และจเรตำรวจ ได้ตรวจราชการติดตามการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ข้อร้องเรียนของประชาชนเนื่องมาจากภัยพิบัติ และสถานการณ์ไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งบางจังหวัดมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนแล้ว การตรวจราชการในครั้งนี้ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ
สำหรับการตรวจติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควันและภัยแล้ง ในครั้งนี้มีประเด็นการตรวจราชการประกอบด้วย แผนเฉพาะกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้ออกประกาศงดการเผาในที่โล่งในช่วง 100 วันอันตราย รวมถึงให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านกำชับและวางมาตรการในการควบคุมการเผา มีการแบ่งพื้นที่การดำเนินการ ให้หน่วยงานต่างดูแลพื้นที่รับผิดชอบของตนเองไม่ให้มีการเผาโดยเด็ดขาด ได้มีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือดับไฟสำหรับดับไฟบริเวณสองข้างทางหลวง มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศน์มาใช้ในการบริหาร เฝ้าระวังและควบคุมจุด Hotspot ด้านการดูแลรักษาสุขภาพประชาชนทางหน่วยงานสาธารณได้มีการวางแผนและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังการบังคับใช้กฎหมาย และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างจิตรสำนึกแก่นักเรียนในระดับต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาไฟป่า/หมอกควัน
ด้านภัยแล้ง คาดว่าปีนี้จะมีความรุนแรง ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งแล้ว 5 อำเภอ คือ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ป่าแดด แม่จัน แม่สาย และอำเภอแม่สรวย มีการจัดเตรียมถังเก็บน้ำขนาด 2,000 ลิตร สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง รวมถึงการขุดเจาะน้ำบาดาลซึ่งได้ดำเนิการไปแล้ว 11 บ่อ ทางด้านปศุสัตว์ได้มีการเตรียมหญ้าแห้งสำหรับโค กระบือ โอกาสเดียวกันนี้ คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นทีตำบลบ้านดู่เพื่อติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)