วันนี้ (21 เม.ย. 57) เวลา 10.30 น. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้กว่า100 คน ได้พากันเดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อขอให้นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ช่วยเหลือ หลังจากผู้ประกอบการแห่งหนึ่งใน อ.ดอกคำใต้ ที่เข้าร่วมโครงตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาลรับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพ และบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ 1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาลไปแล้วแต่ไม่ยอมจ่ายให้กับเกษตรกร
นายพิสิทธิ์ ละเอียดธำรง แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด กล่าวว่า วันนี้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ เดินทางมาเพื่อร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ 1.ขอให้ช่วยเหลือกรณีที่ผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด “แดนชัยพืชไร่” ใน อ.ดอกคำใต้ ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล จากพาณิชย์จังหวัดที่โอนไปให้ทั้งสิ้น 2 งวดของเกษตรกรจำนวน 130 ราย เป็นเงินงวดแรกประมาณ 1.7 ล้านบาท และงวดที่2 ประมาณ 3.09 ล้านบาท รวมเกือบ 5 ล้านบาทไปแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการกลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายให้เงินกับเกษตรกร และกรณีที่สองคือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดใน ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยาจำนวน 84 ราย ยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล รวมประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเคยร้องต่อทางจังหวัดไปแล้ว และทางจังหวัดโดยพาณิชย์จังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งไปยังส่วนกลางแล้ว ซึ่งวันนี้จะขอมารับฟังความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไร ตนและเกษตรกรจึงได้เดินทางมาในวันนี้
ต่อมานายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้นางสาวเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุลพาณิชย์จังหวัดพะเยา เข้าพบกับแกนนำเกษตรกรเพื่อชี้แจงความคืบหน้า โดยกล่าวกับเกษตรกรว่า กรณีที่1.ตามที่ผู้ประกอบการรับเงินไปแล้วและยังไม่จ่ายถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เกษตรกรต้องไปแจ้งความเอาผิดกับทางตำรวจ ซึ่งเรื่องนี้เคยได้ชี้แจงกับทางเกษตรกรไปแล้ว ส่วนกรณีที่เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชยใน ต.จำป่าหวาย จำนวน 84 รายนั้น เป็นลักษณะรายชื่อตกหล่นโดยทางจังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งขอรับการจัดสรรโควต้าเพิ่มไปยังอธิบดีกรมการค้าภายในแล้วรวม 4 ครั้ง เนื่องจากโควตาที่ได้จัดสรรกว่า 95,000 ตันในวงเงินกว่า 142 ล้านบาทนั้นไม่เพียงพอกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบกับได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการฯ ทำให้จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งจากส่วนกลางว่าคืบหน้าเป็นอย่างไร
หลังจากกลุ่มเกษตรกรได้รับฟังการชี้แจงแล้วได้พากันเดินทางไปที่ สภ.ดอกคำใต้ พร้อมกับพาณิชย์จังหวัดเพื่อเข้าแจ้งความและให้ปากคำกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดรายดังกล่าว ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับในเวลาต่อมา
นายพิสิทธิ์ ละเอียดธำรง แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด กล่าวว่า วันนี้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อ.เมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ เดินทางมาเพื่อร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาช่วยเหลือซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ 1.ขอให้ช่วยเหลือกรณีที่ผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพด “แดนชัยพืชไร่” ใน อ.ดอกคำใต้ ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล จากพาณิชย์จังหวัดที่โอนไปให้ทั้งสิ้น 2 งวดของเกษตรกรจำนวน 130 ราย เป็นเงินงวดแรกประมาณ 1.7 ล้านบาท และงวดที่2 ประมาณ 3.09 ล้านบาท รวมเกือบ 5 ล้านบาทไปแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการกลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายให้เงินกับเกษตรกร และกรณีที่สองคือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดใน ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยาจำนวน 84 ราย ยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพและบริหารจัดการรับซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ1.5 บาท ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล รวมประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเคยร้องต่อทางจังหวัดไปแล้ว และทางจังหวัดโดยพาณิชย์จังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งไปยังส่วนกลางแล้ว ซึ่งวันนี้จะขอมารับฟังความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไร ตนและเกษตรกรจึงได้เดินทางมาในวันนี้
ต่อมานายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้นางสาวเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุลพาณิชย์จังหวัดพะเยา เข้าพบกับแกนนำเกษตรกรเพื่อชี้แจงความคืบหน้า โดยกล่าวกับเกษตรกรว่า กรณีที่1.ตามที่ผู้ประกอบการรับเงินไปแล้วและยังไม่จ่ายถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เกษตรกรต้องไปแจ้งความเอาผิดกับทางตำรวจ ซึ่งเรื่องนี้เคยได้ชี้แจงกับทางเกษตรกรไปแล้ว ส่วนกรณีที่เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชยใน ต.จำป่าหวาย จำนวน 84 รายนั้น เป็นลักษณะรายชื่อตกหล่นโดยทางจังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งขอรับการจัดสรรโควต้าเพิ่มไปยังอธิบดีกรมการค้าภายในแล้วรวม 4 ครั้ง เนื่องจากโควตาที่ได้จัดสรรกว่า 95,000 ตันในวงเงินกว่า 142 ล้านบาทนั้นไม่เพียงพอกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบกับได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการฯ ทำให้จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งจากส่วนกลางว่าคืบหน้าเป็นอย่างไร
หลังจากกลุ่มเกษตรกรได้รับฟังการชี้แจงแล้วได้พากันเดินทางไปที่ สภ.ดอกคำใต้ พร้อมกับพาณิชย์จังหวัดเพื่อเข้าแจ้งความและให้ปากคำกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดรายดังกล่าว ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับในเวลาต่อมา
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น