นายกรัฐมนตรีประชุมผู้บริหารระดับสูงและ ผวจ. 17 จังหวัดภาคเหนือเพื่อมอบนโยบายในการป้องกันภัยแล้ง ไฟป่าและหมอกควัน ในวันนี้ (27 ก.พ.57) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการป้องกันปัญหาหมอกควัน ไฟป่า ได้เน้นย้ำให้นำแนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์มาปรับใช้ทดแทนแนวคิดเรื่องการเผา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ และการนำแนวทาง 2P 2R มาปรับใช้ ส่วนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติ และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่โดยชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาลแก่ประชาชน
วันนี้ (27 ก.พ.57) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษาจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงผู้ว่าราชการจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2557 และการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2557 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2557 ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์มาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ประสบภัย โดยมีการประสานการปฏิบัติและสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 โดยให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัดและอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ของอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ และแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2557 นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้มอบหมายให้ส่วนราชการและจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดหมอกควันและไฟป่า โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน และ ตาก ได้นำไปใช้ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง โดยเน้นย้ำการนำแนวคิดในเรื่องเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเผยแพร่และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แทนแนวคิดเรื่องการเผา เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยในแต่ละพื้นที่ให้มีการแบ่งพื้นที่และภารกิจ พร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานในการรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการบูรณาการของหน่วยงาน สามารถนำจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาผสมผสานการทำงานร่วมกัน และให้นำแนวทาง 2P 2R มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหามิให้มีการเผาในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเข้มข้น คุมเข้มมิให้มีการเผาในพื้นที่เสี่ยงช่วงวิกฤตหมอกควัน ภายใต้การทำงานของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ในทุกระดับ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และดับไฟป่ามิให้ขยายวงกว้าง
ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2557 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กบอ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเน้นการบริหารจัดการน้ำ และการกระจายน้ำแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ควบคู่กับการวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระดับพื้นที่ โดยให้ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาล โดย น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ เป่าล้างบ่อบาดาลเดิมและขุดบ่อบาดาลใหม่ เพื่อให้ประชาชน ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมมีน้ำใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง น้ำเพื่อการเกษตร ให้ประสานการจัดทำฝนหลวง และเร่งสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน พร้อมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดเว้นการทำนาปรัง น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ ให้วางแผนเปิด-ปิดประตูน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนให้สัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาที่น้ำทะเลหนุน เพื่อ มิให้น้ำประปาได้ผลกระทบจากค่าความเค็มของน้ำทะเล
ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้ลงพื้นที่บริเวณดอยสุเทพ เพื่อชมการจัดทำปุ๋ยหมักด้วยวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติและใบไม้ รวมทั้งร่วมทำแนวกันไฟกับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว
วันนี้ (27 ก.พ.57) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษาจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงผู้ว่าราชการจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2557 และการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2557 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2557 ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์มาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ประสบภัย โดยมีการประสานการปฏิบัติและสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 โดยให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัดและอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ของอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ และแบ่งหน้าที่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2557 นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้มอบหมายให้ส่วนราชการและจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดหมอกควันและไฟป่า โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน และ ตาก ได้นำไปใช้ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง โดยเน้นย้ำการนำแนวคิดในเรื่องเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเผยแพร่และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แทนแนวคิดเรื่องการเผา เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยในแต่ละพื้นที่ให้มีการแบ่งพื้นที่และภารกิจ พร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานในการรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการบูรณาการของหน่วยงาน สามารถนำจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาผสมผสานการทำงานร่วมกัน และให้นำแนวทาง 2P 2R มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหามิให้มีการเผาในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเข้มข้น คุมเข้มมิให้มีการเผาในพื้นที่เสี่ยงช่วงวิกฤตหมอกควัน ภายใต้การทำงานของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ในทุกระดับ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และดับไฟป่ามิให้ขยายวงกว้าง
ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2557 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กบอ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเน้นการบริหารจัดการน้ำ และการกระจายน้ำแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ควบคู่กับการวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระดับพื้นที่ โดยให้ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาล โดย น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ เป่าล้างบ่อบาดาลเดิมและขุดบ่อบาดาลใหม่ เพื่อให้ประชาชน ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมมีน้ำใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง น้ำเพื่อการเกษตร ให้ประสานการจัดทำฝนหลวง และเร่งสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน พร้อมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดเว้นการทำนาปรัง น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ ให้วางแผนเปิด-ปิดประตูน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนให้สัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาที่น้ำทะเลหนุน เพื่อ มิให้น้ำประปาได้ผลกระทบจากค่าความเค็มของน้ำทะเล
ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้ลงพื้นที่บริเวณดอยสุเทพ เพื่อชมการจัดทำปุ๋ยหมักด้วยวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติและใบไม้ รวมทั้งร่วมทำแนวกันไฟกับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว
ข่าวโดย : ราตรี จักร์แก้ว