กกพ.ย้ำ 2 การไฟฟ้า เตรียมแผนรับมือแหล่งก๊าซ JDA
หยุดซ่อมครั้งใหญ่พร้อมเดินหน้าขอความร่วมมือเอกชนลดใช้ไฟช่วงพีค
มั่นใจภาคใต้ไฟไม่ดับซ้ำรอย
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
เดินเครื่องกลไกการกำกับดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน
โดยเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) เข้าชี้แจงแผนการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าของภาคใต้
จากการหยุดจ่ายก๊าซจากแหล่ง JDA-A18 ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน – 10
กรกฎาคม 2557 พร้อมขอความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
ร่วมลดใช้ไฟช่วงพีค โดยมีเป้าสูงสุดถึง 300 เมกกะวัตต์ ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก
ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
กล่าวถึงกรณีที่ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แหล่ง
JDA-A18 จะดำเนินการปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่
โดยมีกำหนดหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม
2557 นี้ รวม 28 วัน ว่า จะทำให้มีปริมาณก๊าซธรรมชาติ หายไปประมาณ 420
ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งผลให้โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา
ที่มีกำลังผลิตรวม 710 เมกกะวัตต์
และใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตดังกล่าวเป็นเชื้อเพลิงหลักจะต้องหยุดเดิน
เครื่อง
ซึ่งกระทบต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาค
ใต้ยังสูงกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่กกพ.จึงได้เชิญ กฟผ. และ กฟภ.
เข้าชี้แจงถึงสถานการณ์ของระบบไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าว โดย กฟผ. รายงานว่า
การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA-A18
จะส่งผลให้กำลังผลิตไฟฟ้ารวมของภาคใต้อยู่ที่ 2,306 เมกกะวัตต์
จากการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว
ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2,400 เมกกะวัตต์
ระบบไฟฟ้าภาคใต้จะมีความเสี่ยงในช่วง Peak Time เวลา 18.30 - 22.30 น.
และกรณีวันที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 2,543 เมกกะวัตต์
ระบบไฟฟ้าภาคใต้จะมีความเสี่ยงเพิ่มเติมในช่วงบ่ายเวลา 13.30 - 15.30
น.กกพ. จึงได้มอบหมายให้ กฟผ. และ กฟภ.
จัดทำแนวทางเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ระหว่างวันที่
13 มิถุนายน – วันที่ 10 กรกฎาคม 2557
เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในพื้นที่ภาคใต้ โดย นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ได้เปิดเผยถึงแผนการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ของ
กฟผ. ว่า จากการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าและกำลังการผลิต
จะเห็นว่าขาดกำลังผลิตประมาณ 100-250 เมกกะวัตต์
โดยมีปัจจัยที่จะสามารถช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ คือ
การใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าคาดการณ์
และการรณรงค์ให้มีการลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการทำงานแหล่งก๊าซฯ JDA-A18
ซึ่งหากการรณรงค์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการ
ส่งพลังไฟฟ้าผ่านสายส่งเชื่อมโยงภาคกลาง-ภาคใต้
เกินมาตรฐานรองรับความมั่นคง
ซึ่งจะส่งผ่านพลังไฟฟ้าเกิน 700 เมกกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 950 เมกกะวัตต์ แต่หากมีแนวโน้มมากกว่านี้ ทาง กฟผ. จะดำเนินการประสานไปยัง กฟภ. เพื่อหมุนเวียนดับไฟฟ้าบางส่วนตามแผนที่จัดเตรียมไว้ นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้เตรียมความพร้อมรองรับในด้านต่างๆ ไว้ดังนี้ 1.ระบบผลิต ปรับแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าภาคใต้ โดยไม่ให้มีการบำรุงรักษาในช่วงที่แหล่ง JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ 2.ระบบส่งและระบบป้องกัน จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ระบบส่งที่สำคัญ และระบบป้องกันต่างๆ ให้มีความพร้อมใช้งาน และ 3.เชื้อเพลิง กฟผ.จะจัดเตรียมปริมาณกักเก็บสำรอง และแผนการจัดส่งให้เพียงพอต่อการใช้งาน ด้าน นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยถึงแผนการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ในส่วนของ กฟภ. โดยจะเน้นย้ำการไฟฟ้าเขตภาคใต้ ให้ตรวจสอบ บำรุงรักษาระบบจำหน่ายสายส่ง สถานีไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมป้องกันต่างๆให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และเตรียมแผนการปลดโหลด กรณีกำลังสำรองผลิตต่ำ ด้วยการตรวจสอบฟีดเดอร์ (วงจรจ่ายไฟ) ปริมาณโหลด (กำลังไฟฟ้าที่จ่าย) ให้เป็นไปตามแผนที่พิจารณาร่วมกับ กฟผ. และแจ้งแผนการปลดโหลดให้สำนักงาน กกพ. ทราบ นอกจากนี้จะเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง น้ำมันเชื้อเพลิง และพนักงานควบคุมเครื่องให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา โดยจะมีการประสานงานกับ กฟผ.อย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามสถานการณ์และปฏิบัติการในกรณีต่างๆอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้จะทำการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการร่วมกันประหยัดไฟฟ้า หรือหลีกเลี่ยงการใช้ไฟในช่วงโหลดสูงสุดควบคู่กันไปด้วย ขณะเดียวกัน กกพ. ได้ดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในการเตรียมแผนรองรับกรณีกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ไม่เพียงพอโดยทางด้าน นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมว่า ส.อ.ท. จะประสานความร่วมมือไปยังสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด รวมถึงจะมีการเผยแพร่ข้อมูลไปยังสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ ทั้งหมด โดยเฉพาะสมาชิกในเขตภาคใต้ เพื่อขอความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการพลังงานสูงสุด 2 ช่วงเวลา คือระหว่างช่วงเวลา 13.30-15.30น. และช่วงเวลา 18.30-22.30 น. ของวันจันทร์ – วันเสาร์ ตลอดช่วงเวลาการหยุดจ่ายก๊าซ โดยทาง ส.อ.ท. ได้ตั้งเป้าที่จะขอความร่วมมือจากกลุ่มอุตสาหกรรม 11กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงแรม การประมงในมหาสมุทรและการประมงชายฝั่งทะเล การผลิตน้ำแข็ง ห้างสรรพสินค้า การทำอาหารกระป๋อง โรงเลื่อยและไม้บาง ผลิตภัณฑ์ยางแผ่นเครปและยางอื่นๆ มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่คล้ายคลึงกัน อาหารสัตว์สำเร็จรูป เหมืองหิน และปูนซีเมนต์ ทั้งนี้ ส.อ.ท. มีความยินดีให้ความร่วมมือ โดยจะดำเนินการจัดเวทีทำความเข้าใจกับกลุ่มอุตสาหกรรมภาคใต้ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าการขอความร่วมมือจากกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะสามารถช่วยลดกำลัง การผลิตไฟฟ้าได้ถึง 200-300 เมกกะวัตต์ "การปิดซ่อมท่อก๊าซแหล่ง JDA-A18 ครั้งนี้ ถือว่าส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้อย่างมาก เนื่องจากปริมาณของก๊าซที่หายไปค่อนข้างเยอะ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ยังสูงกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ขาดแคลนไฟฟ้า อย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้า และการลดใช้ไฟฟ้า ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้ ก็มั่นใจภาคใต้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ และไม่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับซ้ำรอยเหมือนเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 อย่างแน่นอน” ดร.ดิเรก กล่าว
ซึ่งจะส่งผ่านพลังไฟฟ้าเกิน 700 เมกกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 950 เมกกะวัตต์ แต่หากมีแนวโน้มมากกว่านี้ ทาง กฟผ. จะดำเนินการประสานไปยัง กฟภ. เพื่อหมุนเวียนดับไฟฟ้าบางส่วนตามแผนที่จัดเตรียมไว้ นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้เตรียมความพร้อมรองรับในด้านต่างๆ ไว้ดังนี้ 1.ระบบผลิต ปรับแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าภาคใต้ โดยไม่ให้มีการบำรุงรักษาในช่วงที่แหล่ง JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ 2.ระบบส่งและระบบป้องกัน จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ระบบส่งที่สำคัญ และระบบป้องกันต่างๆ ให้มีความพร้อมใช้งาน และ 3.เชื้อเพลิง กฟผ.จะจัดเตรียมปริมาณกักเก็บสำรอง และแผนการจัดส่งให้เพียงพอต่อการใช้งาน ด้าน นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยถึงแผนการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ในส่วนของ กฟภ. โดยจะเน้นย้ำการไฟฟ้าเขตภาคใต้ ให้ตรวจสอบ บำรุงรักษาระบบจำหน่ายสายส่ง สถานีไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมป้องกันต่างๆให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และเตรียมแผนการปลดโหลด กรณีกำลังสำรองผลิตต่ำ ด้วยการตรวจสอบฟีดเดอร์ (วงจรจ่ายไฟ) ปริมาณโหลด (กำลังไฟฟ้าที่จ่าย) ให้เป็นไปตามแผนที่พิจารณาร่วมกับ กฟผ. และแจ้งแผนการปลดโหลดให้สำนักงาน กกพ. ทราบ นอกจากนี้จะเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง น้ำมันเชื้อเพลิง และพนักงานควบคุมเครื่องให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา โดยจะมีการประสานงานกับ กฟผ.อย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามสถานการณ์และปฏิบัติการในกรณีต่างๆอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้จะทำการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการร่วมกันประหยัดไฟฟ้า หรือหลีกเลี่ยงการใช้ไฟในช่วงโหลดสูงสุดควบคู่กันไปด้วย ขณะเดียวกัน กกพ. ได้ดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในการเตรียมแผนรองรับกรณีกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ไม่เพียงพอโดยทางด้าน นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมว่า ส.อ.ท. จะประสานความร่วมมือไปยังสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด รวมถึงจะมีการเผยแพร่ข้อมูลไปยังสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ ทั้งหมด โดยเฉพาะสมาชิกในเขตภาคใต้ เพื่อขอความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการพลังงานสูงสุด 2 ช่วงเวลา คือระหว่างช่วงเวลา 13.30-15.30น. และช่วงเวลา 18.30-22.30 น. ของวันจันทร์ – วันเสาร์ ตลอดช่วงเวลาการหยุดจ่ายก๊าซ โดยทาง ส.อ.ท. ได้ตั้งเป้าที่จะขอความร่วมมือจากกลุ่มอุตสาหกรรม 11กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงแรม การประมงในมหาสมุทรและการประมงชายฝั่งทะเล การผลิตน้ำแข็ง ห้างสรรพสินค้า การทำอาหารกระป๋อง โรงเลื่อยและไม้บาง ผลิตภัณฑ์ยางแผ่นเครปและยางอื่นๆ มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่คล้ายคลึงกัน อาหารสัตว์สำเร็จรูป เหมืองหิน และปูนซีเมนต์ ทั้งนี้ ส.อ.ท. มีความยินดีให้ความร่วมมือ โดยจะดำเนินการจัดเวทีทำความเข้าใจกับกลุ่มอุตสาหกรรมภาคใต้ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าการขอความร่วมมือจากกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะสามารถช่วยลดกำลัง การผลิตไฟฟ้าได้ถึง 200-300 เมกกะวัตต์ "การปิดซ่อมท่อก๊าซแหล่ง JDA-A18 ครั้งนี้ ถือว่าส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้อย่างมาก เนื่องจากปริมาณของก๊าซที่หายไปค่อนข้างเยอะ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ยังสูงกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ขาดแคลนไฟฟ้า อย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้า และการลดใช้ไฟฟ้า ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้ ก็มั่นใจภาคใต้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ และไม่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับซ้ำรอยเหมือนเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 อย่างแน่นอน” ดร.ดิเรก กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น