กรมอุตุนิยมวิทยาได้ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2557 ซึ่งจะเกิดขึ้น ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2557 ดังนี้ ลักษณะอากาศทั่วไป
ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 - 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ (ปกติจะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์) ประเทศไทยตอนบน ในช่วงต้นฤดู บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมา ปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนในตอนกลางวันประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป จนถึงประมาณกลางเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นช่วงๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน อย่างไรก็ตามในช่วงดังกล่าวจะมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในบางช่วงอาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงไปได้ ส่วนในช่วงปลายฤดู (ประมาณครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม) ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไปและร้อนจัดบางพื้นที่ กับจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นระยะๆ สำหรับภาคใต้ จะมีลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ โดยจะมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยและอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร จนถึงช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะเริ่มพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนต่อไป
สำหรับฤดูร้อนปีนี้ คาดว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติ แต่จะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว(พ.ศ.2556) ส่วน ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงถึงต่ำกว่าค่าปกติ และใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งทางด้านอุปโภค บริโภคและการเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง อาจจะต้องประสบกับการขาดแคลนน้ำ ประชาชนจึงควรใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด ข้อควรระวัง
พายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมาก ซึ่งมักจะเกิดบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยจะมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกลงในบางครั้ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนทำความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรได้
อัคคีภัยและไฟป่า ในช่วงนี้ลักษณะอากาศจะเอื้ออำนวยต่อการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ง่าย ประชาชน
จึงควรระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วย
พายุไซโคลน ในช่วงปลายเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม มักจะมีพายุ "ไซโคลน” ก่อตัวขึ้นในทะเลอันดามัน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ชายฝั่งหรือเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่า ซึ่งจะส่งผลให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 - 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ (ปกติจะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์) ประเทศไทยตอนบน ในช่วงต้นฤดู บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมา ปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนในตอนกลางวันประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป จนถึงประมาณกลางเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นช่วงๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน อย่างไรก็ตามในช่วงดังกล่าวจะมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในบางช่วงอาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงไปได้ ส่วนในช่วงปลายฤดู (ประมาณครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม) ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไปและร้อนจัดบางพื้นที่ กับจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นระยะๆ สำหรับภาคใต้ จะมีลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ โดยจะมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยและอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร จนถึงช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะเริ่มพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนต่อไป
สำหรับฤดูร้อนปีนี้ คาดว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติ แต่จะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว(พ.ศ.2556) ส่วน ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงถึงต่ำกว่าค่าปกติ และใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งทางด้านอุปโภค บริโภคและการเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง อาจจะต้องประสบกับการขาดแคลนน้ำ ประชาชนจึงควรใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด ข้อควรระวัง
พายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมาก ซึ่งมักจะเกิดบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยจะมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกลงในบางครั้ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนทำความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรได้
อัคคีภัยและไฟป่า ในช่วงนี้ลักษณะอากาศจะเอื้ออำนวยต่อการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ง่าย ประชาชน
จึงควรระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วย
พายุไซโคลน ในช่วงปลายเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม มักจะมีพายุ "ไซโคลน” ก่อตัวขึ้นในทะเลอันดามัน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ชายฝั่งหรือเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่า ซึ่งจะส่งผลให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น