ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2553-2555 พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน และได้มีการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามตัวชี้วัดของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ.2555 พบว่ามีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในระดับวิกฤตและเร่งด่วน(Emergency) เพียงร้อยละ 15 หรือจำนวน 346 รายเท่านั้นที่ถูกนำส่งโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และจำนวนดังกล่าวยังถูกนำส่งโดยหน่วยบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะสมกับศักยภาพอีกถึงร้อยละ 21.68 นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องคุณภาพการรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งที่ไม่เหมาะสมอีกร้อยละ 1.87 ที่ผ่านมางานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้จัดทำโครงการอบรมอาสาฉุกเฉินชุมน ในช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย.56 จำนวน 10 รุ่น มีอาสาฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 779 คน และประชาสัมพันธ์งานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงตามคลินิกพิเศษต่างๆ และงานผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลในช่วงเดือน ส.ค.- ต.ค.56 ปี พ.ศ.2556 พบว่า มีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในระดับวิกฤตและเร่งด่วน (Emergency) เพียงร้อยละ 10.41 เท่านั้น แจ้งผ่าน 1669 มีร้อยละ 74.32 ระยะออกให้บริการภายใน 3 นาที มีร้อยละ 68.9 ระยะการได้รับการรักษา ณ จุดเกิดเหตุภายใน 10 นาที มี่ร้อยละ 68.79 และคุณภาพการรักษา ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งเหมาะสมมีร้อยละ 99.79
ข่าวโดย : ทีมข่าว สวท.พะเยา
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
หน่วยงาน : สวท.พะเยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น