วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557
เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์เตรียมมาตรการควบคุมโรครากเน่าหรือหัวเน่าของมันสำปะหลัง
นายพรชัย วนิชนพรัตน์ เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำมาตรการควบคุมโรครากเน่าและหัวเน่าของมันสำปะหลังเกิดการระบาดของโรครากเน่าหรือหัวเน่าของมันสำปะหลัง สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์จึงขอประชาสัมพันธ์มาตรการในการควบคุมโรครากเน่าหรือหัวเน่าของมันสำปะหลัง เพื่อแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่เสี่ยง ดำเนินการป้องกันตามมาตรการควบคุมโรค ดังนี้ ก่อนเกิดโรคระบาด 1. ในพื้นที่เคยเกิดการระบาดให้ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค เช่น ข้าวโพด อ้อย 2. ปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรการระบาดของโรค โดยปลูกปุ๋ยพืชสด ได้แก่ถั่วพร้า อัตรา 10 กก./ไร่ เมื่ออายุ 50 วัน (ระยะออกดอก)ให้ไถกลบทิ้งไว้ 15 วัน หรือถัวพุ่มในอัตรา 8 กก./ไร่ เมื่ออายุ 40 วัน(ระยะออกดอก) ให้ไถกลบทิ้งไว้ 15 วัน จึงเตรียมแปลงปลูก 3. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า(เชื้อสด) อัตรา 10 กก.ผสม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ ช่วงเตรียมแปลงปลูก 4. ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรค คือพันธุ์ระยอง 72 5. ใช้ท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค 6. แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา fosetyl aluminium อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที ระหว่างเกิดการระบาด 1. พื้นที่ที่มีการระบาด หรือพบอาคารของโรคในมันสำปะหลังที่มีอายุประมาณ 3 เดือน แสดงอาการใบเหลือโดยเฉพาะในแหล่งมที่เคยเกิดโรค ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี fosetyl aluminium อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 1 เดือน ติดต่อกัน 4 ครั้ง 2. พื้นที่ใกล้เคียงให้สำรวจอาการของโรคถ้าพบให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) อัตร 10 กก.ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ โรยโคนต้น 3. พื้นที่ที่มีการระบาดมากให้เก็บเกี่ยวและไถตากดิน หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า(เชื้อสด) อัตรา 10 กก.ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ คลุกดิน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น