วันงดสูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เห็นอันตรายของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาล ชุมชน ประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
จุดมุ่งหมายของการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศตระหนักถึง อันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า World Spidemic หรือ การสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก และประกาศเตือนเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุยังน้อย และสูบเป็นประจำว่าจะทำให้เสียชีวิตก่อนอายุขัยปกติ (ประมาณ 70-80 ปี) ถึง 22 ปี สำหรับรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่พยายามเลิกสูบบุหรี่ เช่น การประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์ คำเตือน โทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 และโทษของการสูบบุหรี่นั้นมีโทษร้ายแรงตั้งตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง
สำหรับประเทศไทยได้ใช้ "ดอกลีลาวดี” เป็นสัญลักษณ์ในวันงดสูบบุหรี่ เนื่องจาก ความหมายของดอกไม้ชนิดนี้คือการขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา อันเป็นความหมายจากชื่อเดิมของดอกลีลาวดี ซึ่งก็คือ ดอกลั่นทม ที่มีคนบางส่วนเข้าใจว่าเป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะชื่อลั่นทมออกเสียงเหมือนคำว่าระทม หากปลูกแล้วก็จะมีแต่ความทุกข์ระทม และทางด้านภาษา คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม รวมความได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือ มีความสุข สดใส
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ มีกลยุทธ์ที่จะรับมือกับการเลิกสูบบุหรี่ ประกอบด้วย ปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
1. เลิกโดยเด็ดขาดทันทีทันใด จะเห็นผลดีกว่าการลดปริมาณ หากเราสามารถอดทนได้ใน 2-3 วันแรก โอกาสเลิกสูบบุหรี่ก็จะเป็นไปได้สูง
2. ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างการเว้นว่างเพื่อสูบบุหรี่ แต่การออกกำลังกายกลับเป็นการกระตุ้นและ ซ่อมแซมร่างกายที่เสียหายจากบุหรี่อีกด้วย
3. หายใจช้าๆ ลึกๆ และ หลีกเลี่ยงสุรา ชา หรือกาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการอยากสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูบบุหรี่
5. สามารถใช้หมากฝรั่งเคี้ยวระหว่างวัน เพื่อทำให้รู้สึกปากไม่ว่างได้
ผู้ที่สนใจจะเลิกสูบบุหรี่สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 1600
จุดมุ่งหมายของการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศตระหนักถึง อันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า World Spidemic หรือ การสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก และประกาศเตือนเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุยังน้อย และสูบเป็นประจำว่าจะทำให้เสียชีวิตก่อนอายุขัยปกติ (ประมาณ 70-80 ปี) ถึง 22 ปี สำหรับรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่พยายามเลิกสูบบุหรี่ เช่น การประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์ คำเตือน โทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 และโทษของการสูบบุหรี่นั้นมีโทษร้ายแรงตั้งตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง
สำหรับประเทศไทยได้ใช้ "ดอกลีลาวดี” เป็นสัญลักษณ์ในวันงดสูบบุหรี่ เนื่องจาก ความหมายของดอกไม้ชนิดนี้คือการขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา อันเป็นความหมายจากชื่อเดิมของดอกลีลาวดี ซึ่งก็คือ ดอกลั่นทม ที่มีคนบางส่วนเข้าใจว่าเป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะชื่อลั่นทมออกเสียงเหมือนคำว่าระทม หากปลูกแล้วก็จะมีแต่ความทุกข์ระทม และทางด้านภาษา คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม รวมความได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือ มีความสุข สดใส
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ มีกลยุทธ์ที่จะรับมือกับการเลิกสูบบุหรี่ ประกอบด้วย ปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
1. เลิกโดยเด็ดขาดทันทีทันใด จะเห็นผลดีกว่าการลดปริมาณ หากเราสามารถอดทนได้ใน 2-3 วันแรก โอกาสเลิกสูบบุหรี่ก็จะเป็นไปได้สูง
2. ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างการเว้นว่างเพื่อสูบบุหรี่ แต่การออกกำลังกายกลับเป็นการกระตุ้นและ ซ่อมแซมร่างกายที่เสียหายจากบุหรี่อีกด้วย
3. หายใจช้าๆ ลึกๆ และ หลีกเลี่ยงสุรา ชา หรือกาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการอยากสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูบบุหรี่
5. สามารถใช้หมากฝรั่งเคี้ยวระหว่างวัน เพื่อทำให้รู้สึกปากไม่ว่างได้
ผู้ที่สนใจจะเลิกสูบบุหรี่สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 1600
รดา บุญยะกาญจน์ /เรียบเรียง
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน
24 เมษายน 2557
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน
24 เมษายน 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น