วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ นำคณะประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าโครงการปิดทองหลังพระฯ ในพื้นที่ จังหวัดน่าน เป็นวันที่ 2

ที่ฝายห้วยโป่ง ลุ่นน้ำขว้าง และฝายผาเงิ้ม ลุ่มน้ำขว้าง และฝายต้นไฮ ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน มรว. ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้นำ นายประภัทร์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และคณะ ตรวจติดตามความก้าวหน้าของพื้นที่ต้นแบบ โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริฯ ในพื้นที่ จังหวัดน่าน ที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ดำเนินกิจกรรมขึ้น ในการสร้างผ้าป่าแรงงาน การสร้างฝาย โดยมีมีค่าแรงงาน เพื่อพัฒนาในการบริหารจัดการน้ำ ให้กับ ชุมชนในลุ่มน้ำสาขา ของแล่น้ำขว้าง ลุ่มน้ำน่านในจังหวัดน่าน โดยมีนายอุกริช พึ่งโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ ทาง มรว. ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้นำ นายประภัทร์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และคณะได้ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ได้ร่วมกัน ใช้ผ้าป่าแรงงาน ในการทำแนวทำนบการสร้างฝาย เพื่อส่งน้ำเข้าแปลงเกษตร ของราษฎร ในพื้นที่ใช้ประโยชน์จากฝาย

ทั้งนี้ ในการดำรงชีวิตและหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตามชุมชนเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้า ได้แก่ ป่าไม้ แหล่งน้ำ และดินในการปลูกพืช การเกษตรแตกต่างกัน บางชุมชนอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งน้าสาหรับการเกษตรโดยการปลูกพืชผสมผสาน บางชุมชนตัดไม้แผ้วถางป่าเพื่อทาไร่หมุนเวียนและปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด เพื่อความอยู่รอด แต่ชุมชนส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาความยากจนอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับคุณภาพชีวิตตามแนวพระราชดำริฯ ที่มี 2. แนวทาง ตามการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ต่างก็มีจุดสำคัญร่วมกัน คือ ชุมชนเห็นด้วยและร่วมดำเนินการ ชุมชนอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ แก้ไขปัญหาความยากจนทาด้วยการสนับสนุนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและดิน ให้สามารถปลูกพืช เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งปี ตามศักยภาพของแหล่งน้ำ และดินในพื้นที่ เช่น การสร้างหรือซ่อมแซมฝายเดิม และระบบส่งน้ำ ตลอดจนการปรับปรุงบำรุงดิน และลดการใช้สารเคมี เป็นต้น ตามแนวทางโครงการขยายผลโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดาริ โดยภาคประชาคมจังหวัดน่าน ภายใต้แนวคิด "ผ้า...ป่าสามัคคี ฮักษาป่าต้นน้ำน่าน โดยใช้ผ้าป่าแรงงานในการสร้างฝาย จากเดิมต้องซ่อมแซมเป็นประจำทุกๆปี

โดยใช้ค่าใช้จ่ายการซ่อมฝายปีละ 5,701,900 บาท หลังจากที่โครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้เข้าไปช่วยเหลือ มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 17,688,576 บาท ต่อปี ซึ่งการบริหารจัดการน้ำครั้งนี้ คนในชุมชน ลุ่มน้ำ ของทั้ง 22 หมู่บ้าน ที่ดูแลลุ่มน้ำ สามารถผันน้ำ (ปล่อยน้ำลงในพื้นแปลงนา ของตนเองได้ จำนวน 230,568 ไร่ จากนั้นคณะ ได้ร่วมดูพื้นที่เพาะกล้าไม้ ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โดยมีอาสาสมัครโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริฯ ในพื้นที่บรรยายสรุปของการดำเนินงาน ในพื้นที่นำร่องต้นแบบการพัฒนา ในการแก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำน่านโดยให้ชุมชนใช้ป่าธรรมชาติ แก้ไขความยากจน ในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ทำกิน และในพื้นที่ป่าทั้งหมด ตาม "ดอยตุงโมเดล” โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 60 ป่าใช้สอยร้อยละ 8 ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 20 พื้นที่ทากินร้อยละ 10 และที่อยู่อาศัยร้อยละ 2 ของพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตชุมชนทั้งหมด รวมถึงการส่งเสริมอาชีพต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ภายใต้ โครงการปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียง รักษาต้นน้ำ บรรเทาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ส่วนพืชที่ทำให้ป่าหาย พืชเชิงเดี่ยว คือข้าวโพด ที่เป็นปัญหาสำคัญ ที่ประชาชน มีการบุกรุกพื้นที่ป่า ทำการแผ้วถางเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่ากลายเป็นภูเขาหัวโล้น และก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยน้ำป่าไหลหลาก โดยฝีมือของมนุษย์




สมาน  สุทำแปง / ภาพข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น