วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทความพิเศษ : แก่นแท้ของความสามัคคี

 แก่นแท้ของความสามัคคี สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้คือ

         1. ความสามัคคีที่ทำเพราะถูกบังคับ เป็นความสามัคคีที่อยู่ในสภาพจำยอม ซึ่งมันจะไม่มีความยั่งยืน จะเป็นความสามัคคีแบบชั่วครั้งชั่วคราว นั่นคือเมื่อใดที่ถูกศัตรูรุกราน ก็เกิดการรวมตัวกันเพื่อเอาชนะกับข้าศึกศัตรูที่รุกราน แต่พอหลังจากนั้นก็หันกลับมาทะเลาะกันอีกเหมือนเดิม
         2. ความสามัคคีที่ถูกบังคับโดยกฏเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของคนในชาติ ถ้ามิเช่นนั้นมันจะเป็นผลร้ายของทุกๆ คน ความสามัคคีประเภทนี้ก็ยังคงอยู่บนเพียงเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ต่างๆ บางครั้งก็จำเป็นต้องแสดงละครเพื่อจะได้ไม่ถูกประเทศชาติลงโทษ
        3. ความสามัคคีที่ในลักษณะของลัทธิความเชื่อ ซึ่งสังคมได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่อยู่ในชั้นประถม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความคลั่งไคล้ต่อลัทธิความเชื่อของตนเอง ความสามัคคีประเภทนี้ค่อนข้างจะมั่นคงกว่าความสามัคคีดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่มันก็ค่อนข้างจะเป็นอันตรายอยู่มากทีเดียว เพราะเมื่อใดที่ประชาชนเกิดความลุ่มหลงคลั่งไคล้ต่อลัทธิความเชื่ออย่างสุดโต่ง ในที่สุดมันก็จำนำซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงของคนในชาติเพราะเหมือนกับเป็นการสร้างศัตรู ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองพวกเขาทำสงครามกันเพราะลัทธิความเชื่อของแต่ละคน จนในที่สุด ความสามัคคีก็หมดความหมาย เพราะโลกต้องพินาศย่อยยับอันเนื่องมาจากความสามัคคีที่ยืนอยู่บนลัทธิความเชื่อดังกล่าว ความสามัคคีที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความสามัคคีแบบผิวเผินภายนอกเท่านั้น ซึ่งยังคงอยู่ในขีดจำกัด ความสามัคคีที่ยังคงใช้เพียงแค่ความคิดสติปัญญาอย่างเดียว โดยที่มิได้ให้ความสำคัญในเรื่องของจิตวิญญานและความรู้สึกแห่งหัวใจมันก็จะยังคงเป็นเพียงความสามัคคีที่หละหลวมขาดความมั่นคงและไม่มีความเป็นสากล ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจาก กิเลสและตัณหาของมนุษย์ เพราะด้วยการที่คนเรามีแต่ ความเย่อหยิ่ง ยะโส โอหัง, เห็นแก่ตัว, ละโมบ, มีความแค้น และอาฆาตพยาบาทต่อกันและกันนั่นเอง จึงทำให้มนุษย์แตกแยกกัน ความสามัคคีดังกล่าวนั้น ไม่สามารถขจัดกิเลสตัณหาของมนุษย์ออกไปจากตัวได้ มันเป็นเพียงความสามัคคที่เกิดขึ้นภายนอกเท่านั้น ยังไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกและผูกพันธ์ทางจิตใจ เป็นเพียงแค่ลักษณะของความจำยอมหรือถูกบังคับ
          4. ความสามัคคีในลักษณะความเกรงกลัวและมีความรักต่อพระเจ้า จะมีความมั่นคงและเป็นความสามัคคีที่แท้จริง เป็นความสามัคคีที่มีความเป็นสากลและมีความเป็นศิลปะ เป็นความสามัคคีที่อยู่ในลักษณะของจิตใจและความรู้สึก ซึ่งสามารถที่จะขจัดกิเลสตัณหา อันเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันถึงแม้จะอยู่ในครอบครัวเดียวกัน มันเป็นความสามัคคีที่สามารถจะผูกมัดมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะต่างเชื้อชาติ สีผิว หรือ ต่างภาษก็ตามเพราะมันเป็นความสามัคคีที่มนุษย์ทุกคนเป็นเจ้าของ ความสามัคคีในประเภทนี้ เป็นความสามัคคีที่ผูกมัดความคิดและจิตใจ การมีความรักและความเกรงกลัวต่อพระเจ้า ก็จะก่อให้เกิดความรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันนำไปสู่การมีมนุษยธรรม และการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันพระเจ้าเป็นของมนุษย์เราทุกคน เมื่อมนุษย์ได้ทำตามพระเจ้าก็จะไม่เกิดการอิจฉาริษยา ไม่เกิดความเย่อหยิ่ง ไม่เกิดความละโมภ และกิเลสตัณหาอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งของมนุษย์การมีความรักและความเกรงกลัวต่อพระเจ้า เป็นสิทธิความชอบธรรมของมนุษย์ทุกคน ซึ่งมันสามารถผูกมัดมนุษย์ไว้ด้วยกันได้โอ้ มนุษยชาติทั้งหลาย

ถ้าหากเรามีความต้องการให้เกิดความสามัคคีขึ้นมาระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เราก็จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวนั้น ความสามัคคีมิใช่เรื่องง่ายที่จะให้เกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่คำพูดหรือได้ตั้งคำขวัญต่างๆขึ้นมาแล้ว สามารถก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นมาได้ ถ้าหากมนุษย์เรายังคงมีกิเลสตัณหาอยู่ในหัวใจ มันก็เป็นการยากที่ให้เกิดความสามัคคี ถึงแม้ว่าจะลัทธิความเชื่อแบบเดียวกัน หรือมีอุดมการณ์เดียวกันก็ตาม กิเลสและตัณหานี่เองก็จะคอยขัดขวางมิให้มนุษย์เกิดความสามัคคี ดังนั้นถ้าหากเรายังคงนิ่งนอนใจ และปล่อยให้กิเลสตัณหาคอยครอบงำอยู่ในตัวของเราแล้ว ความพินาศมันก็จะตามมากิเลสและตัณหาสามารถขจัดออกไปได้ ด้วยการสร้างความรักและความเกรงกลัวต่อพระเจ้าเพียงแค่การมีลัทธิความเชื่ออันเดียวกัน จะยังไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกิเลสตัณหาคือที่มาของความขัดแย้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันและเรื่องกิเลสตัณหานี่อีกเช่นกัน ที่น้อยคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกัน



พวงพยอม คำมุง / เรียบเรียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น