วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทความเรื่อง ความเป็นไปได้ของเงินเฟ้อไทย ปี 2557

อาจเป็นเรื่องยากหากจะกล่าวถึงเรื่องของตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เราก็ไม่ควรละเลย เมินเฉยไม่ติดตามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เรื่องที่เข้าใจยากนี้มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ ตัวหักลด GDP (GDP deflator) ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

1. ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
2. ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

เมื่อทราบถึงความหมายของเงินเฟ้อแล้ว ในส่วนของประเทศไทยจะเกิดเงินเฟ้อขึ้นหรือไม่อย่างไร มีข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ได้แถลงถึงความเป็นไปได้ของการเกิดเงินเฟ้อของไทยในปี 2557 คือ หากในปีนี้รัฐบาลยกเลิกการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศปรับตัวสูงขึ้นนั้น จะส่งผลให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นอีก 1% จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่หากรัฐบาลยกเลิกการใช้นโยบายรถไฟฟรี จะส่งผลให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น 0.18% และหากยกเลิกนโยบายรถเมล์ฟรี ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น 0.11% อย่างไรก็ดี หากในภาพรวมแล้วปีนี้รัฐบาลยกเลิกมาตรการลดค่าครองชีพทั้งในส่วนของดีเซล, รถเมล์-รถไฟฟรี รวมทั้งการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มอีกเดือนละ 50 สต./กก. ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อปรับขึ้นราว 1.3-1.4% จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่ทั้งนี้เชื่อว่าในภาพรวมแล้วอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะไม่เกินที่ระดับ 4%

การเกิดสภาวะเงินเฟ้อของไทยในปี 2557 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทย การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด

สำหรับการชุมนุมทางการเมือง ปัญหาทางการเมืองเป็นตัวฉุดรั้งโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมายาวนานเป็น 10 ปี และยังคงดำเนินต่อไป ส่งผลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่คล่องตัวอย่างที่ควรจะเป็น นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดเงินเฟ้อกับประเทศไทยในปี 2557



อ้างอิง -กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น