ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจร ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ย้ำให้ข้าราชการกระทรวงการคลังพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ด้านการจ่ายเงินโครงการจำนำข้าว ได้พยายามทุกวิถีทางในการจ่ายเงินให้เกษตรกร โดยมอบให้คณะผู้บริหารกระทรวงการคลังจังหวัด หรือ "คบจ." รับผิดชอบตรวจสอบใบประทวน กำหนดเสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้
วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2557) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจร ครั้งที่ 2 เขตภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการคลังในพื้นที่ภาคเหนือได้เข้าใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้บริบทของกระทรวงการคลัง พร้อมสร้างเครือข่ายการบริหารการเปลี่ยนขององค์กรต่อข้าราชการในสังกัด ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยผู้บริหารและข้าราชการในสังกัดกระทรวงการคลังในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวนประมาณ 500 คน โดยการสัมมนาประกอบด้วย การปาฐกภาพิเศษ เรื่อง “บทบาทกระทรวงการคลังในการพัฒนาประเทศ” โดยนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เวทีเสวนา “การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในสังกัดกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง” โดยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานการเสวนาร่วมกับอธิบดีและผู้แทนอธิบดีของทุกกรมในกระทรวงการคลัง และการเสวนาชี้แจงโครงการคลินิกภาษีกระทรวงการคลังแก่ผู้ประกอบการ SMEs และภาคเอกชนในพื้นที่
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถาบันการเงินมีประชาชนในถอนฝากเงิน อยากให้ผู้บริหารของหน่วยงานทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ซึ่งขณะนี้มีข้อกังวลหลายเรื่อง เช่น การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้นโยบายรัฐบาลไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ซึ่งผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการคลังต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องบุคลากร รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่น กรมศุลกากร เดิมมีการวางแผนปรับปรุงด่านศุลกากรโดยใช้งบประมาณจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ต้องปรับเปลี่ยนโดยการใช้เงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 หรือกู้ยืมจากแหล่งอื่นๆ แทน
สำหรับเรื่องการจำนำข้าว กระทรวงการคลังมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ชาวนาตามใบประทวน ซึ่งกระทรวงการคลังได้พยายามทุกวิถีทาง ทั้งการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ การกู้เงินผ่านอินเตอร์แบงค์ หรือการประสานงานในการขายข้าวกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อระบายข้าวให้ได้เงินทุนหมุนเวียน โดยที่ผ่านมา โครงการรับจำนำข้าว ในรอบปี พ.ศ.2554-2555 และ 2555-2556 รัฐบาลมีนโยบายรับจำนำทุกเมล็ด โดยวางกรอบเงินงบประมาณ ประมาณ 5 แสนล้านบาท แต่ช่วงระหว่างปีโครงการจำนำข้าวใช้เงินงบประมาณไปถึง 6.8 แสนล้าน เมื่อปิดรอบปี 2555-2556 รัฐบาลจึงพยายามให้อยู่ภายในกรอบ 5 แสนล้านบาท โดยการพยายามระบายข้าวให้เร็ว ทำให้สามารถปิดบัญชีได้ที่ 4.1 แสนล้านบาท ทำให้งบประมาณส่วนที่เหลือก็สามารถนำมาจ่ายให้เกษตรกรได้ ต่อมาในปี 2556-2557 รัฐบาลเห็นว่านโยบายเดิมทำให้การบริหารงบประมาณมีปัญหา จึงกำหนดกรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท โดยปล่อยเงินเป็นช่วงๆ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลด้านการออกใบประทวน ซึ่งกระทรวงการคลังได้เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ และมีการประเมินความเสี่ยง โดยจังหวัดที่มีการออกใบประทวนเกินหรือใกล้เคียงพื้นที่เพาะปลูกข้าว ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยง มีประมาณ 5-6 จังหวัดที่ต้องมีการตรวจสอบเป็นพิเศษ โดยมอบให้คณะผู้บริหารกระทรวงการคลังจังหวัด หรือ “คบจ.” เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบใบประทวน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปัญหาในการตีความกฎหมายที่ต่างกัน โดยฝ่ายรัฐบาลและข้าราชการประจำได้พยายามแก้ปัญหา โดยพยายามให้อยู่ภายใต้กรอบของกฏหมาย รวมทั้งการช่วยเหลืออื่นๆ เช่น การชดเชยเงินกู้ การออกบัตรเครดิตเกษตรกร โดย ธกส. แก่เกษตรกรกว่า 4 ล้านใบเพื่อจัดซื้อวัสดุทางการเกษตร
นายรณรงค์ เส็งเอี่ยม คลังจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า คลังจังหวัดเชียงใหม่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการตรวจสอบใบประทวน ละหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกร โดยการสุ่มตรวจ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรวจสอบแล้วที่องค์การตลาดเพื่อเกษตร (อตก.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และ อ.ดอยสะเก็ด พบที่เป็นปัญหาไม่ถึงร้อยละ 1 และต่อไปจะไปตรวจสอบที่ อ.ฝาง และ อ.แม่อาย คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งผลการตรวจสอบจะนำมาแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป
วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2557) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจร ครั้งที่ 2 เขตภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการคลังในพื้นที่ภาคเหนือได้เข้าใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้บริบทของกระทรวงการคลัง พร้อมสร้างเครือข่ายการบริหารการเปลี่ยนขององค์กรต่อข้าราชการในสังกัด ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยผู้บริหารและข้าราชการในสังกัดกระทรวงการคลังในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวนประมาณ 500 คน โดยการสัมมนาประกอบด้วย การปาฐกภาพิเศษ เรื่อง “บทบาทกระทรวงการคลังในการพัฒนาประเทศ” โดยนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เวทีเสวนา “การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในสังกัดกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง” โดยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานการเสวนาร่วมกับอธิบดีและผู้แทนอธิบดีของทุกกรมในกระทรวงการคลัง และการเสวนาชี้แจงโครงการคลินิกภาษีกระทรวงการคลังแก่ผู้ประกอบการ SMEs และภาคเอกชนในพื้นที่
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถาบันการเงินมีประชาชนในถอนฝากเงิน อยากให้ผู้บริหารของหน่วยงานทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ซึ่งขณะนี้มีข้อกังวลหลายเรื่อง เช่น การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้นโยบายรัฐบาลไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ซึ่งผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการคลังต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องบุคลากร รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่น กรมศุลกากร เดิมมีการวางแผนปรับปรุงด่านศุลกากรโดยใช้งบประมาณจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ต้องปรับเปลี่ยนโดยการใช้เงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 หรือกู้ยืมจากแหล่งอื่นๆ แทน
สำหรับเรื่องการจำนำข้าว กระทรวงการคลังมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ชาวนาตามใบประทวน ซึ่งกระทรวงการคลังได้พยายามทุกวิถีทาง ทั้งการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ การกู้เงินผ่านอินเตอร์แบงค์ หรือการประสานงานในการขายข้าวกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อระบายข้าวให้ได้เงินทุนหมุนเวียน โดยที่ผ่านมา โครงการรับจำนำข้าว ในรอบปี พ.ศ.2554-2555 และ 2555-2556 รัฐบาลมีนโยบายรับจำนำทุกเมล็ด โดยวางกรอบเงินงบประมาณ ประมาณ 5 แสนล้านบาท แต่ช่วงระหว่างปีโครงการจำนำข้าวใช้เงินงบประมาณไปถึง 6.8 แสนล้าน เมื่อปิดรอบปี 2555-2556 รัฐบาลจึงพยายามให้อยู่ภายในกรอบ 5 แสนล้านบาท โดยการพยายามระบายข้าวให้เร็ว ทำให้สามารถปิดบัญชีได้ที่ 4.1 แสนล้านบาท ทำให้งบประมาณส่วนที่เหลือก็สามารถนำมาจ่ายให้เกษตรกรได้ ต่อมาในปี 2556-2557 รัฐบาลเห็นว่านโยบายเดิมทำให้การบริหารงบประมาณมีปัญหา จึงกำหนดกรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท โดยปล่อยเงินเป็นช่วงๆ และมอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลด้านการออกใบประทวน ซึ่งกระทรวงการคลังได้เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ และมีการประเมินความเสี่ยง โดยจังหวัดที่มีการออกใบประทวนเกินหรือใกล้เคียงพื้นที่เพาะปลูกข้าว ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยง มีประมาณ 5-6 จังหวัดที่ต้องมีการตรวจสอบเป็นพิเศษ โดยมอบให้คณะผู้บริหารกระทรวงการคลังจังหวัด หรือ “คบจ.” เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบใบประทวน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปัญหาในการตีความกฎหมายที่ต่างกัน โดยฝ่ายรัฐบาลและข้าราชการประจำได้พยายามแก้ปัญหา โดยพยายามให้อยู่ภายใต้กรอบของกฏหมาย รวมทั้งการช่วยเหลืออื่นๆ เช่น การชดเชยเงินกู้ การออกบัตรเครดิตเกษตรกร โดย ธกส. แก่เกษตรกรกว่า 4 ล้านใบเพื่อจัดซื้อวัสดุทางการเกษตร
นายรณรงค์ เส็งเอี่ยม คลังจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า คลังจังหวัดเชียงใหม่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการตรวจสอบใบประทวน ละหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกร โดยการสุ่มตรวจ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรวจสอบแล้วที่องค์การตลาดเพื่อเกษตร (อตก.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และ อ.ดอยสะเก็ด พบที่เป็นปัญหาไม่ถึงร้อยละ 1 และต่อไปจะไปตรวจสอบที่ อ.ฝาง และ อ.แม่อาย คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งผลการตรวจสอบจะนำมาแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป
ข่าวโดย : อนุชา นาคฤทธิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น