มหาวิทยาลัยพะเยา อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นจัดโครงการถวายข้าวทิพย์พระเจ้าตนหลวง ประจำปี 2557 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ณ ท่าเรือวัดติโลกอารามและวัดศรีโคมคำ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้ดำเนินภารกิจต่างๆมาอย่างต่อเนื่องในการผลิตบัณฑิต ผลิตความรู้งานวิจัย บริการวิชาการแก่ชุมชน อีกทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ให้สังคมส่วนรวมและได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงเห็นสมควรจัดโครงการถวายข้าวทิพย์พระเจ้าตนหลวง ประจำปี 2557 ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ ท่าเรือวัดติโลกอาราม - วัดศรีโคมคำ เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้รับความรู้ในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อีกทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป รวมถึงอาจารย์ บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มีโอกาสสัมผัสกับประเพณีถวายข้าวทิพย์ ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ ก็จะได้เห็นความสวยงามของขบวนแห่บาตรหลวงในกว๊านพะเยาจากงานดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ด้านนายนริศ ศรีสว่าง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2550 และทำต่อเนื่องมาเป็นประจำเกือบทุกปี โดยใช้ชื่อตามลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น โครงการตานข้าวใหม่ใส่บาตรหลวง ซึ่งสร้างสรรค์มาจากประเพณีตานข้าวใหม่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และโครงการถวายข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสวันสำคัญทางศาสนา สำหรับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการเชื่อมโยง “กว๊านพะเยา” กับ “พระเจ้าตนหลวง” ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดศรีโคมคำ ริมกว๊านพะเยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยามากว่า 500 ปี โดยอาจารย์ วิถี พานิชพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา(ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นผู้คิดริเริ่มกิจกรรมนี้ที่สร้างสรรค์ผสมผสานระหว่างกว๊านพะเยา พระเจ้าตนหลวง และประเพณีตานข้าวใหม่ หรือถวายข้าวทิพย์
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวนิสิตจะได้นั่งเรือแจวโบราณสัมผัสบรรยากาศยามเช้าที่สวยงามของกว๊านพะเยา ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร นำข้าวใหม่ หรือข้าวทิพย์ที่ใส่ในบาตรหลวง พร้อมเครื่องสักการะไปประกอบพิธีถวายพระเจ้าตนหลวง นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่มหาวิทยาลัยพะเยาจัดขึ้น เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงความสำคัญ และร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีที่สำคัญนี้
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้ดำเนินภารกิจต่างๆมาอย่างต่อเนื่องในการผลิตบัณฑิต ผลิตความรู้งานวิจัย บริการวิชาการแก่ชุมชน อีกทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ให้สังคมส่วนรวมและได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงเห็นสมควรจัดโครงการถวายข้าวทิพย์พระเจ้าตนหลวง ประจำปี 2557 ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ ท่าเรือวัดติโลกอาราม - วัดศรีโคมคำ เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้รับความรู้ในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อีกทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป รวมถึงอาจารย์ บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มีโอกาสสัมผัสกับประเพณีถวายข้าวทิพย์ ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ ก็จะได้เห็นความสวยงามของขบวนแห่บาตรหลวงในกว๊านพะเยาจากงานดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ด้านนายนริศ ศรีสว่าง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2550 และทำต่อเนื่องมาเป็นประจำเกือบทุกปี โดยใช้ชื่อตามลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น โครงการตานข้าวใหม่ใส่บาตรหลวง ซึ่งสร้างสรรค์มาจากประเพณีตานข้าวใหม่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และโครงการถวายข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสวันสำคัญทางศาสนา สำหรับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการเชื่อมโยง “กว๊านพะเยา” กับ “พระเจ้าตนหลวง” ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดศรีโคมคำ ริมกว๊านพะเยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยามากว่า 500 ปี โดยอาจารย์ วิถี พานิชพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา(ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นผู้คิดริเริ่มกิจกรรมนี้ที่สร้างสรรค์ผสมผสานระหว่างกว๊านพะเยา พระเจ้าตนหลวง และประเพณีตานข้าวใหม่ หรือถวายข้าวทิพย์
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวนิสิตจะได้นั่งเรือแจวโบราณสัมผัสบรรยากาศยามเช้าที่สวยงามของกว๊านพะเยา ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร นำข้าวใหม่ หรือข้าวทิพย์ที่ใส่ในบาตรหลวง พร้อมเครื่องสักการะไปประกอบพิธีถวายพระเจ้าตนหลวง นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่มหาวิทยาลัยพะเยาจัดขึ้น เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงความสำคัญ และร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีที่สำคัญนี้
ข่าวโดย : ประมวล อุปกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น