โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ประธานคณะอนุกรรมการประจำเขตเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกำแพงเพชรทุกอำเภอ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดกำแพงเพชร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง พนักงาน เจ้าหน้าที่ กกต.ทุกคน โดยมุ่งหวังจะสร้างจิตสำนึกที่ดีของผู้สมัคร ไม่ให้กระทำผิดกฎหมายและสร้างความรัก ความสามัคคี ของผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทุกฝ่าย ให้เป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งกระบวนการสร้างความสมานฉันท์จะสัมฤทธิ์ผลได้ จะต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ (๑) ภาคประชาชน ได้แก่ประชาชนทุกคนในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้สนับสนุนผู้สมัคร หากบุคคลเหล่านี้มีทัศนคติที่ดีต่อการเลือกตั้ง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี ปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ จะระงับลงทันที และ (๒) เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่เป็นผู้สร้างเงื่อนไขในการดำเนินการสมานฉันท์ให้เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ควรจะเป็นกลไก ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้กระบวนการสร้างความสมานฉันท์เป็นไปด้วยความราบรื่น การสร้างความสมานฉันท์ในการเลือกตั้ง จะเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญของการเมืองไทย การเมืองในเชิงสมานฉันท์ จึงเป็นการเมืองของทุกคน โดยทุกคนและเพื่อทุกคน แม้ผู้สมัครจะต้องแข่งขันกันด้วยความดี คุณธรรม ความรู้สึกรับผิดชอบ ที่สำคัญแข่งขันกันด้วยน้ำใจนักกีฬา เคารพในกติกา ความถูกต้อง เคารพในประชาชนผู้มอบอำนาจอธิปไตย ในที่สุดไม่ว่าใครจะได้โอกาสเข้าไปบริหาร ก็จะทำให้ประชาชนได้นักการเมืองที่มีจิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเข้าไปบริหาร หรือทำหน้าที่ตรวจสอบให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนท้องถิ่นต่อไป
นิพนธ์ รอดทรัพย์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น