ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 15 ติดตามงานตามแผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาร พ.ศ.2557 รอบที่ 1 ในแผนงานตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และการดำเนินการก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน 5 จุดเน้น ก่อนเดินทางไปติดตามโครงการเมืองเกษตรสีเขียว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2557) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 15 ประชุมร่วมกับนายชนะ แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ใน 5 โครงการ และการดำเนินการก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน 5 จุดเน้น
นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 15 กล่าวว่า ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ติดตามตรวจงานตามนโยบายของรัฐบาลในภารกิจของทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จึงได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชนซึ่งเสนอชื่อโดยผู้ว่าราชการจังหวัดให้สำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ นายนที ธีระโรจนพงษ์ เป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม นายเชษฐา หิมอนุกุล ที่ปรึกษาด้านสังคม
สำหรับโครงการที่มาตรวจติดตามในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน (ด้านพืช) โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการพัฒนามาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายเข้าสู่มาตรฐาน Primary GMP และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก ซึ่งจากการรายงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พบปัญหาการปรับจากมาตรฐานสินค้าเกษตรจากมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับมาตรฐานที่กำหนดใหม่ สำหรับแผนงานที่ 2 ได้แก่การดำเนินการก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 5 จุดเน้น ได้แก่ จุดเน้นด้านการท่องเที่ยวและบริการ จุดเน้นด้านการประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ จุดเน้นด้านโลจิสติกส์ จุดเน้นด้านแรงงาน และจุดเน้นด้านสาธารณสุข พบปัญหาในการดำเนินการที่ขาดความต่อเนื่องในการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เวลา 14.00 น. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ โครงการเกษตรสีเขียว วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพน สมุนไพรอินทรีย์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
นางมุทิตา สุวรรณคำซาว เปิดเผยว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพน สมุนไพรอินทรีย์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นโรงงานขนาดย่อม ดำเนินการแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน หลายภาคส่วน ทั้งด้านการเพาะปลูก การผลิต และการวิจัยและพัฒนาสินค้าจากผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการลดน้ำตาลในเลือดได้ดี เพราะมีสารที่ชื้อ Gymnamic Acid ในปริมาณที่มากกว่าผักหรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จึงได้พัฒนาสินค้าออกมาให้รูปแบบของ ชา และแคปซูล ภายในชื่อ เครื่องดื่มผักเชียงดา ตรากาทอง ซึ่งจัดเป็นสินค้า OTOP 4 ดาวของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้เรายังได้รับผลิตสินค้าชนิดเดียวกันให้กับลูกค้าที่มี Brand เป็นของตนเอง (OEM) เช่น กูมาบูติ, OrkanicaGurma , Chiang Da teaและอีกหลายยี่ห้อ โรงงานของเราได้รับมาตราฐานคุณภาพจากองค์การอาหารและยา (อย.) มาตราฐานสินค้าฮาลาล และ กรมการค้ากระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งได้รับการรับรองมาตราฐาน GAP พืชอินทรีย์ และในอนาคต
เวลา 16.00 น. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สนองตอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อรองรับการนำประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โครงการนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เชียงใหม่ และเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่เห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อสนองนโยบายดังกล่าวของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาและครูเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้รับรู้ ตระหนัก และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการจับเคลื่อนงานด้านการจัดการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค เพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มั่นคง เอื้ออาทร และร่วมแบ่งปันกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2558
วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2557) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 15 ประชุมร่วมกับนายชนะ แพ่งพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ใน 5 โครงการ และการดำเนินการก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน 5 จุดเน้น
นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 15 กล่าวว่า ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ติดตามตรวจงานตามนโยบายของรัฐบาลในภารกิจของทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จึงได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีภาคประชาชนซึ่งเสนอชื่อโดยผู้ว่าราชการจังหวัดให้สำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ นายนที ธีระโรจนพงษ์ เป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม นายเชษฐา หิมอนุกุล ที่ปรึกษาด้านสังคม
สำหรับโครงการที่มาตรวจติดตามในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน (ด้านพืช) โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการพัฒนามาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายเข้าสู่มาตรฐาน Primary GMP และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก ซึ่งจากการรายงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พบปัญหาการปรับจากมาตรฐานสินค้าเกษตรจากมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับมาตรฐานที่กำหนดใหม่ สำหรับแผนงานที่ 2 ได้แก่การดำเนินการก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 5 จุดเน้น ได้แก่ จุดเน้นด้านการท่องเที่ยวและบริการ จุดเน้นด้านการประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ จุดเน้นด้านโลจิสติกส์ จุดเน้นด้านแรงงาน และจุดเน้นด้านสาธารณสุข พบปัญหาในการดำเนินการที่ขาดความต่อเนื่องในการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เวลา 14.00 น. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ โครงการเกษตรสีเขียว วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพน สมุนไพรอินทรีย์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
นางมุทิตา สุวรรณคำซาว เปิดเผยว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพน สมุนไพรอินทรีย์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นโรงงานขนาดย่อม ดำเนินการแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน หลายภาคส่วน ทั้งด้านการเพาะปลูก การผลิต และการวิจัยและพัฒนาสินค้าจากผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการลดน้ำตาลในเลือดได้ดี เพราะมีสารที่ชื้อ Gymnamic Acid ในปริมาณที่มากกว่าผักหรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จึงได้พัฒนาสินค้าออกมาให้รูปแบบของ ชา และแคปซูล ภายในชื่อ เครื่องดื่มผักเชียงดา ตรากาทอง ซึ่งจัดเป็นสินค้า OTOP 4 ดาวของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้เรายังได้รับผลิตสินค้าชนิดเดียวกันให้กับลูกค้าที่มี Brand เป็นของตนเอง (OEM) เช่น กูมาบูติ, OrkanicaGurma , Chiang Da teaและอีกหลายยี่ห้อ โรงงานของเราได้รับมาตราฐานคุณภาพจากองค์การอาหารและยา (อย.) มาตราฐานสินค้าฮาลาล และ กรมการค้ากระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งได้รับการรับรองมาตราฐาน GAP พืชอินทรีย์ และในอนาคต
เวลา 16.00 น. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สนองตอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อรองรับการนำประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โครงการนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เชียงใหม่ และเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่เห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อสนองนโยบายดังกล่าวของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาและครูเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้รับรู้ ตระหนัก และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการจับเคลื่อนงานด้านการจัดการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค เพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มั่นคง เอื้ออาทร และร่วมแบ่งปันกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2558
ข่าวโดย : อนุชา นาคฤทธิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น