วันอาทิตย์ที่ 16 ก.พ.57 เวลา 11.30 น. นายชัยโรจน์ มีแดง ผวจ.นว.ประธานเปิดการจัดงานนิทรรศการย้อนอดีตเมืองปากน้ำโพ และการแสดงผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรม รวมทั้งการแสดงผลงานของดีบ้านฉันและผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรม (OTOP วัฒนธรรม) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้าง ความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ ณ ห้างสรรพสินค้าแฟรี่แลนด์ ชั้น 5 อ.เมืองนครสวรรค์ เปิดทุกวัน เข้าชมฟรี นครสวรรค์ เป็นเมืองที่มีคนจีนมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจาก กรุงเทพฯและภูเก็ต ที่นี่มีเรื่องเล่าและเรื่องราวประกอบรูปภาพถ่ายเก่าๆ ข้าวของเครื่องใช้ นับตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่คนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภาร คุณสันติ คุณาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรี่แลนด์สรรพสินค้า จำกัด มีความคิดในลักษณะการเดียวกัน เคยนำภาพถ่ายเก่าๆ มาจัดนิทรรศการแล้วได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรุ่นใหม่วัย 20-30 ปี
จึงเชื่อว่าพิพิธภัณฑ์มีส่วนสำคัญในการปลูกสำนึกรักบ้านเกิด บันทึกความเป็นวิถีเดิมๆ ของชาวปากน้ำโพให้ลูกหลานได้รับรู้ถึงความเป็นมาของบ้านเกิดเมืองนอน จึงเป็นที่มาของ "พิพิธภัณฑ์ย้อนอดีต เมืองปากน้ำโพ" ที่ชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าแฟรี่แลนด์ รวบรวมร้านค้าในสมัยก่อน ป้ายเก่าๆ ที่มีในสมัยก่อนจริงๆ มาตั้งไว้ เป็น Real Museum บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สินค้าพื้นบ้าน ศิลปหัตถกรรม ตลอดจนวิถีชีวิต การค้าขายในท้องถิ่น วัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายภายในจังหวัด โดยแบ่งเป็น 7 โซน
โซนที่ 1 ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์ พาย้อนกลับไปยังอดีตเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสที่นี่ ผ่านเรือพระที่นั่งจำลอง
โซนที่ 2 จำลองร้านค้าเก่าแก่ ในย่านที่เรียกว่า "ตลาดลาว" ซึ่งสมัยก่อนเป็นศูนย์การค้าแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างคนทางเหนือที่ล่องมาจากกำแพงเพชร จากเชียงใหม่ ซึ่งคำว่า "ลาว" เป็นคำที่ใช้เรียกคนทางเมืองเหนือนั่นเอง ร้านค้าดังๆ ในยุคนั้นก็เช่น "บ้านมะระยงค์" อาคารเก่าแก่ที่สุดในนครสวรรค์ตั้งแต่ยังเป็นเอเยนต์เครื่องดื่มน้ำดำ จำหน่ายน้ำมันตรามงกุฏ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชลล์ "ร้านโกยี" ภัตตาคารไทยแห่งแรกของนครสวรรค์ เพราะเมื่อก่อนคนไทยจะนิยมขายเป็นแผงลอย
ยังมีโรงหนังเฉลิมชาติ โรงน้ำแข็ง ร้านขายน้ำหวาน ร้านตัดผม
โซนที่ 3 ป้ายเก่าเล่าเรื่องเมือง "สมัยก่อนนครสวรรค์มีคนจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ป้ายต่างๆ ในเมืองจะเป็นป้ายภาษาจีน กระทั่งรัฐบาลกำหนดว่าถ้าเป็นป้ายภาษาจีนทั้งหมดจะเสียภาษีเยอะ ต้องมีภาษาไทยด้วย แต่จะสังเกตว่าร้านทุกร้านจะมีภาษาจีน" สันติบอก
โซนที่ 4 นิทรรศการ เมืองปากน้ำโพ เล่าเรื่องเมืองนครสวรรค์ทั้งเมือง ตั้งแต่ตำนาน ประวัติความเป็นมาของต้นแม่น้ำเจ้าพระยา การต่อสู้ของบรรพบุรุษ ชาติมังกร
"นครสวรรค์ที่เจริญอย่างทุกวันนี้ เพราะทำเลดี ในสมัยอยุธยาใช้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันศัตรู เป็นแหล่งรวมกำลัง พอมาถึงรัชกาลที่ 3 สงครามสงบ การค้าก็เริ่มมา คนจีนก็ได้มีการนำเรือมาค้าขาย เป็นแหล่งรวมการค้า พอรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการสร้างรถไฟ จากกรุงเทพฯมายังนครสวรรค์ ตลาดการค้าคึกคักมาก มีบริษัทต่างชาติมาเปิดมากมาย ของแขกก็มี ของจีนก็มี มาซื้อข้าวซื้อไม้สัก พอรัชกาลที่ 6-8 เริ่มมีถนนและสะพาน การขนส่งทางน้ำถูกลดความสำคัญลงไป เราจะเห็นว่าจากทำเลตรงนี้ทำให้เกิดประวัติศาสตร์มากมาย"
คุณสันติ บอกและว่า เชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่าต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น "วังมังกร" ทุกปีจึงต้องมีขบวนแห่เพื่อบูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่มาร่วม 99 ปีแล้ว
"การแห่แต่ละปี คนในเมืองทั้งนั้นที่เป็นคนแห่ เพราะฉะนั้นลูกหลานในเมืองไม่ว่าจะเป็นลูกแขก หรืออะไร ส่วนใหญ่จะเคย ′แห่เจ้า′ กันทั้งนั้น เพราะว่าเราไม่ได้จ้างคน ไม่ว่าผู้บริหารเมืองจะเปลี่ยนกันไปกี่คนต่อกี่คน การแห่เจ้ายังคงต้องมี เพราะเป็นการแห่เพื่อแสดงการสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่ของเรา
การแห่ก็อาจจะพิสดารไปเรื่อยๆ อย่างมังกรเพิ่งมีในปี 2506 ก่อนหน้านี้จะเป็นแห่สิงโต แห่เสือ แล้วมาเป็นสิงโตปักกิ่ง ที่สนุกมากคือ ′เอ็งกอ′ ใช้คนแสดงเป็นร้อยคน หากศึกษาลึกลงไป หน้าแต่ละคนที่ระบายแตกต่างกันไป ก็แสดงความหมายแตกต่างกันไป"
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มาของประเพณีเหล่านี้จะรวมไว้ที่นี่ทั้งหมด เพื่อให้เข้าใจที่มาของวิถีชาวปากน้ำโพเป็นวีดิทัศน์ประกอบการจัดแสดงสิ่ง ของโซนที่ 5 แผนที่ ชุมทางการค้า เมืองปากน้ำโพ โซนนี้ จะจำลองแผนที่การค้าในนครสวรรค์ตลอดจนประวัติเรือ และจำลองเส้นทางคมนาคม ตั้งแต่เรือหางแมงป่อง ซึ่งเป็นเรือสำหรับเจ้านาย ไปถึงเรือจ้าง เรือขนข้าว ไปถึงรถสามล้อ ถึงรถยนต์ยุคต่างๆ
โซนที่ 6 เล่าเรื่องเมืองปากน้ำโพ ผ่านภาพถ่าย โดย มานพ สุวรรณศรี
นอกจากนี้ ทางห้างยังจัดให้มีมุมถ่ายภาพสามมิติ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กและเยาวชน ให้สามารถไปอวดคนที่บ้านหรือเพื่อฝูงได้อีกด้วย ลองแวะเข้าไปชม "พิพิธภัณฑ์ย้อนอดีต เมืองปากน้ำโพ" ก่อนเริ่มทัวร์เมืองนครสวรรค์ แล้วจะรู้สึกว่าเต็มอิ่มกับการเดินทางยิ่งขึ้น
จึงเชื่อว่าพิพิธภัณฑ์มีส่วนสำคัญในการปลูกสำนึกรักบ้านเกิด บันทึกความเป็นวิถีเดิมๆ ของชาวปากน้ำโพให้ลูกหลานได้รับรู้ถึงความเป็นมาของบ้านเกิดเมืองนอน จึงเป็นที่มาของ "พิพิธภัณฑ์ย้อนอดีต เมืองปากน้ำโพ" ที่ชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าแฟรี่แลนด์ รวบรวมร้านค้าในสมัยก่อน ป้ายเก่าๆ ที่มีในสมัยก่อนจริงๆ มาตั้งไว้ เป็น Real Museum บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สินค้าพื้นบ้าน ศิลปหัตถกรรม ตลอดจนวิถีชีวิต การค้าขายในท้องถิ่น วัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายภายในจังหวัด โดยแบ่งเป็น 7 โซน
โซนที่ 1 ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์ พาย้อนกลับไปยังอดีตเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสที่นี่ ผ่านเรือพระที่นั่งจำลอง
โซนที่ 2 จำลองร้านค้าเก่าแก่ ในย่านที่เรียกว่า "ตลาดลาว" ซึ่งสมัยก่อนเป็นศูนย์การค้าแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างคนทางเหนือที่ล่องมาจากกำแพงเพชร จากเชียงใหม่ ซึ่งคำว่า "ลาว" เป็นคำที่ใช้เรียกคนทางเมืองเหนือนั่นเอง ร้านค้าดังๆ ในยุคนั้นก็เช่น "บ้านมะระยงค์" อาคารเก่าแก่ที่สุดในนครสวรรค์ตั้งแต่ยังเป็นเอเยนต์เครื่องดื่มน้ำดำ จำหน่ายน้ำมันตรามงกุฏ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชลล์ "ร้านโกยี" ภัตตาคารไทยแห่งแรกของนครสวรรค์ เพราะเมื่อก่อนคนไทยจะนิยมขายเป็นแผงลอย
ยังมีโรงหนังเฉลิมชาติ โรงน้ำแข็ง ร้านขายน้ำหวาน ร้านตัดผม
โซนที่ 3 ป้ายเก่าเล่าเรื่องเมือง "สมัยก่อนนครสวรรค์มีคนจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ป้ายต่างๆ ในเมืองจะเป็นป้ายภาษาจีน กระทั่งรัฐบาลกำหนดว่าถ้าเป็นป้ายภาษาจีนทั้งหมดจะเสียภาษีเยอะ ต้องมีภาษาไทยด้วย แต่จะสังเกตว่าร้านทุกร้านจะมีภาษาจีน" สันติบอก
โซนที่ 4 นิทรรศการ เมืองปากน้ำโพ เล่าเรื่องเมืองนครสวรรค์ทั้งเมือง ตั้งแต่ตำนาน ประวัติความเป็นมาของต้นแม่น้ำเจ้าพระยา การต่อสู้ของบรรพบุรุษ ชาติมังกร
"นครสวรรค์ที่เจริญอย่างทุกวันนี้ เพราะทำเลดี ในสมัยอยุธยาใช้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันศัตรู เป็นแหล่งรวมกำลัง พอมาถึงรัชกาลที่ 3 สงครามสงบ การค้าก็เริ่มมา คนจีนก็ได้มีการนำเรือมาค้าขาย เป็นแหล่งรวมการค้า พอรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการสร้างรถไฟ จากกรุงเทพฯมายังนครสวรรค์ ตลาดการค้าคึกคักมาก มีบริษัทต่างชาติมาเปิดมากมาย ของแขกก็มี ของจีนก็มี มาซื้อข้าวซื้อไม้สัก พอรัชกาลที่ 6-8 เริ่มมีถนนและสะพาน การขนส่งทางน้ำถูกลดความสำคัญลงไป เราจะเห็นว่าจากทำเลตรงนี้ทำให้เกิดประวัติศาสตร์มากมาย"
คุณสันติ บอกและว่า เชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่าต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น "วังมังกร" ทุกปีจึงต้องมีขบวนแห่เพื่อบูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่มาร่วม 99 ปีแล้ว
"การแห่แต่ละปี คนในเมืองทั้งนั้นที่เป็นคนแห่ เพราะฉะนั้นลูกหลานในเมืองไม่ว่าจะเป็นลูกแขก หรืออะไร ส่วนใหญ่จะเคย ′แห่เจ้า′ กันทั้งนั้น เพราะว่าเราไม่ได้จ้างคน ไม่ว่าผู้บริหารเมืองจะเปลี่ยนกันไปกี่คนต่อกี่คน การแห่เจ้ายังคงต้องมี เพราะเป็นการแห่เพื่อแสดงการสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่ของเรา
การแห่ก็อาจจะพิสดารไปเรื่อยๆ อย่างมังกรเพิ่งมีในปี 2506 ก่อนหน้านี้จะเป็นแห่สิงโต แห่เสือ แล้วมาเป็นสิงโตปักกิ่ง ที่สนุกมากคือ ′เอ็งกอ′ ใช้คนแสดงเป็นร้อยคน หากศึกษาลึกลงไป หน้าแต่ละคนที่ระบายแตกต่างกันไป ก็แสดงความหมายแตกต่างกันไป"
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มาของประเพณีเหล่านี้จะรวมไว้ที่นี่ทั้งหมด เพื่อให้เข้าใจที่มาของวิถีชาวปากน้ำโพเป็นวีดิทัศน์ประกอบการจัดแสดงสิ่ง ของโซนที่ 5 แผนที่ ชุมทางการค้า เมืองปากน้ำโพ โซนนี้ จะจำลองแผนที่การค้าในนครสวรรค์ตลอดจนประวัติเรือ และจำลองเส้นทางคมนาคม ตั้งแต่เรือหางแมงป่อง ซึ่งเป็นเรือสำหรับเจ้านาย ไปถึงเรือจ้าง เรือขนข้าว ไปถึงรถสามล้อ ถึงรถยนต์ยุคต่างๆ
โซนที่ 6 เล่าเรื่องเมืองปากน้ำโพ ผ่านภาพถ่าย โดย มานพ สุวรรณศรี
นอกจากนี้ ทางห้างยังจัดให้มีมุมถ่ายภาพสามมิติ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กและเยาวชน ให้สามารถไปอวดคนที่บ้านหรือเพื่อฝูงได้อีกด้วย ลองแวะเข้าไปชม "พิพิธภัณฑ์ย้อนอดีต เมืองปากน้ำโพ" ก่อนเริ่มทัวร์เมืองนครสวรรค์ แล้วจะรู้สึกว่าเต็มอิ่มกับการเดินทางยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น