นายสมพร เจียรประวัติ เกษตรจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ในปีนี้มีแนวโน้มว่าสถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัดลำปาง อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่ทั้งนี้ ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ ทั้งระดับตำบลและอำเภอ ออกติดตามเฝ้าระวังสถานกาณ์
โดยให้แต่ละพื้นที่เร่งออกประชาสัมพันธ์ชี้แจง ทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง และให้กันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เช่น ถั่วเขียว หรือ ถั่วเหลือง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ให้งดพรวนดินบริเวณโคนต้น และใช้เศษวัสดุทางการเกษตรมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน สำหรับเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ในไม้ กิ่งไม้แห้ง แนะให้ทำปุ๋ยหมักแทนการเผา เพราะการเผาจะทำให้เกิดฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนทั่วไป ตลอดจนทำให้เกิดการระเหยของน้ำผิวดินมากยิ่งขึ้น
เกษตรจังหวัดลำปาง กล่าวอีกว่า หากเกษตรกรมีข้อสงสัยด้านการปฏิบัติในการปลูกพืชฤดูแล้ง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำอำเภอ หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านได้ในวัน และเวลาราชการ
โดยให้แต่ละพื้นที่เร่งออกประชาสัมพันธ์ชี้แจง ทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง และให้กันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เช่น ถั่วเขียว หรือ ถั่วเหลือง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ให้งดพรวนดินบริเวณโคนต้น และใช้เศษวัสดุทางการเกษตรมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน สำหรับเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ในไม้ กิ่งไม้แห้ง แนะให้ทำปุ๋ยหมักแทนการเผา เพราะการเผาจะทำให้เกิดฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนทั่วไป ตลอดจนทำให้เกิดการระเหยของน้ำผิวดินมากยิ่งขึ้น
เกษตรจังหวัดลำปาง กล่าวอีกว่า หากเกษตรกรมีข้อสงสัยด้านการปฏิบัติในการปลูกพืชฤดูแล้ง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำอำเภอ หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านได้ในวัน และเวลาราชการ
ข่าวโดย : ปัณธวัฒน์ ทวีพรจิรภาคย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น