วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันพืชมงคล


วันพืชมงคล หรือ ข้างขึ้น เดือน 6หรือวันที่กำหนดพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกร ให้เริ่มเพาะปลูกพืชผล โดยเฉพาะเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรชักนำให้มีความมั่นใจทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาแต่ช้านานสืบทอดมาจนปัจจุบัน อีกทั้งมีความสำคัญยิ่งแก่การดำรงชีพความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศไทยทุกยุคทุกสมัย

วันความสำคัญของวันพืชมงคล การเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์อย่างมาก เพราะธัญญาหารที่บรรดาเหล่าเกษตรกรปลูกได้ในแต่ละปี ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ดัดแปลงเป็นอุปโภคต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค วันพืชมงคล เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเกี่ยวกับการเพาะปลูก เนื่องจากเห็นความสำคัญของการเมล็ดพืชพันธุ์อันเป็นปัจัจัยสำคัญต่อวิถีการผลิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติ นอกเหนือจาการมีแผนดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำฝนที่มีปริมาณเพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ แล้ว หากได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่ได้รับการเลือกสรร รวมทั้งเกษตรกรมีขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการลงทุนเพาะปลูก ทางราชการหรือผู้ปกครองตนให้การดูแลเอาใจใส่ การเกษตรของประเทศจะพัฒนามากยิ่งขิ้น

ด้วยเหตุนี้ ทุกปีทางราชการจึงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น โดยกำหนดในเดือนพฤษภาคมของทุกปี เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา อันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณ โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระราชพิธีนี้จะกระทำที่ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

วันพระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

วันพระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ พิธีกรรมวันพืชมงคลในปัจจุบัน

วันพืชมงคล หรือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาขวัญก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุฑูต และประชาชนจำนวนมากมาชมการแรกนาขวัญ เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันพืชมงคล
    วัน๑. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
    วัน ๒. จัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพืชมงคล รวมทั้งพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ "

วันปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่อาจละเลยพิธีกรรมจารีตประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญๆมาแต่สมัยโบราณ ดังนั้นเราประชาชนชาวไทยจึงควรช่วยกันสืบสานและให้กำลังใจเกษตรกรไทยหรือสันหลังของชาติ ที่ปลูกข้าวให้เราได้รับประทานกันอยู่ทุกวัน กำลังใจคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรได้สู้ต่อไป จะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยต้นข้าวนั้นก็ยังสำคัญสำหรับคนไทย หากไม่มีเกษตรกรไทยต้นข้าวก็คงเกิดขึ้นมาเองไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจากประเทศที่ไร้กระดูกสันหลังในการขับเคลื่อนพัฒนาให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไป"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น