วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทความ เรื่อง รู้จักความรุนแรงของแผ่นดินไหว

บทความ เรื่อง รู้จักความรุนแรงของแผ่นดินไหว นิสารัชต์ นิลสว่าง /เรียบเรียง

แผ่นดินไหวถือเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า และผลของแผ่นดินไหวยังส่งผลกระทบไปในบริเวณกว้าง ไม่เฉพาะพื้นที่ที่เป็นจุดศูนย์กลางของการสั่นไหวเท่านั้น การวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวซึ่งมีหน่วยวัดที่เราคุ้นชินคือหน่วยวัดเป็นมาตราริคเตอร์ซึ่งเป็นการวัดของระบบเครือข่ายมาตรฐานโลก Worldwide Standardized Seismograph Network: WWSSN) ความรุนแรงของการสั่นไหวหรือแรงสั่นสะเทือนนี้มีผลต่อมนุษย์รวมถึงสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน สร้างความเสียหายมากน้อยตามขนาดของการสั่นไหว ก่อนที่จะรู้ถึงขนาดความรุนแรงมาทำความรู้จัก 2 คำนี้ จะช่วยให้เข้าใจระดับความรุนแรงและแรงสั่นสะเทือน คือ

ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"

ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก มาตราริคเตอร์ ขนาดความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
              1.0-2.9เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียนศีรษะ
              3.0-3.9เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
              4.0-4.9เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
              5.0-5.9เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
              6.0-6.9เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
              7.0 ขึ้นไปเกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

    มาตราเมอร์แคลลี่ อันดับที่ ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
             Iเป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
             IIพอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
             IIIพอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
             IVผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
             Vรู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
             VIรู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
             VIIทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
             VIIIเสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
             IXสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
             Xอาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
             XIอาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
             XIIทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

สิ่งสำคัญ คือ ประชาชนต้องพร้อมเรียนรู้เรื่องของการสั้นสะเทือนของแผ่นดินไหว และหาทางปฏิบัติตนเพื่อลดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการเกิดแผ่นดินไหว




   
อ้างอิงจาก กรมทรัพยากรธรณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น